21 ส.ค. เวลา 09:18 • ครอบครัว & เด็ก

จากแม่บ้าน Full time ในวันนั้น มาเป็นที่ปรึกษาด้านความสัมพันธ์แม่และลูก ในวันนี้

สวัสดีค่ะทุกคน พบกันวันนี้กับบทความสัมภาษณ์นักเขียนกันอีกแล้วนะคะ และเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับหลากหลายผลงานดี ๆ ของนักเขียนออนไลน์ได้อย่างทั่วถึงกัน วันนี้จะมีความพิเศษหน่อยตรงที่นักเขียนของเราไม่ใช่นักเขียนนิยายเหมือนบทความที่ผ่านมาก่อนหน้านี้นะคะ
แอดมินขออนุญาตออกตัวไว้ก่อนค่ะว่าแขกรับเชิญของเพจในวันนี้เรารู้จักกันมาบ้างแล้วพอประมาณ การพูดคุยกันอาจมีความสนิทสนมกันนิดหนึ่ง และจะเป็นใคร เขียนหนังสือเกี่ยวกับอะไรนั้น เราไปทำความรู้จักกันเลยดีกว่าค่ะ
ผู้สังเกตการณ์ :  สวัสดีค่ะพี่เจี๊ยบ เป็นยังไงบ้างคะช่วงนี้
อรนภา : สวัสดีค่ะน้องแข  พี่สบายดีมีความสุขตามวัยที่เพิ่มขึ้น😊ขอบคุณนะคะ
ผู้สังเกตการณ์ : พี่เจี๊ยบช่วยแนะนำตัวเองเพิ่มอีกสักหน่อยได้ไหมคะว่าช่วงนี้ทำอะไร ยังไงอยู่บ้างคะ
อรนภา : สวัสดีค่ะ ชื่อ อรนภา  ฉัตรฐิติ ใคร ๆ เรียกพี่เจี๊ยบหรือแม่เจี๊ยบ ตอนนี้ออกจากงานประจำมาเป็นแม่บ้าน  Full Time ดูแลลูกชายสองคนแบบเต็มร้อยเลยค่ะ
ผู้สังเกตการณ์ : งานแม่บ้านเต็มเวลาถือเป็นอีกหนึ่งงานที่มีอะไรเยอะแยะให้ทำได้ทั้งวันเลยใช่ไหมคะ
อรนภา : ใช่ค่ะ อย่างพี่เจี๊ยบก็มีหน้าที่ดูแลรับส่งลูกเป็นหลัก และก็แบ่งเวลามาทำงานออนไลน์ รับรีวิวสินค้า ว่าง ๆ ก็เขียน E-Book  วางลิงก์ขายสินค้า (Afffiliatte) เรียกว่าทำงานทุกอย่างเท่าที่จะมีเวลา และทำได้ ทำให้มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น
ภาพกิจกรรม จากกลุ่มคุณแม่อาสา
ผู้สังเกตการณ์ : พี่เจี๊ยบถือได้ว่าเป็นแม่บ้านเต็มเวลาที่ใช้เวลาได้คุ้มค่ามากค่ะ แต่เห็นว่าพี่เจี๊ยบก็ยังแบ่งเวลาไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมอีกด้วย เล่าให้พวกเราฟังได้ไหมคะว่าเป็นงานอะไร ยังไง
อรนภา : ใช่ค่ะ พี่เจี๊ยบมีอีกงานหนึ่งที่พี่เจี๊ยบภาคภูมิใจมาก คือการได้ร่วมทำงานกับทาง Toolmorrow ในโครงการ “คุณเปลี่ยนลูกเปลี่ยน” ซึ่งเป็นการทำกลุ่มพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ ในการฟังและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการเลี้ยงลูก การสื่อสารแบบไหนที่จะได้ใจลูก เข้าใจ เข้าถึงลูก เป็นการสื่อสารทางบวกที่จะทำให้ความสัมพันธ์แม่กับลูกดีขึ้นค่ะ
ผู้สังเกตการณ์ : เป็นโครงการที่ดี และน่าสนใจมากค่ะ
อรนภา : พี่เจี๊ยบขอฝากเพื่อน เข้าไปติดตามเรื่องราวดี ๆ นี่ได้ทางเพจนี้ค่ะ
เพจToolmorrow แนะนำไปติดตามกันนะคะ
toolmorrow
เพจคุณเปลี่ยนลูกเปลี่ยน
คุณเปลี่ยน ลูกเปลี่ยน
ผู้สังเกตการณ์ :  อยากให้พี่เจี๊ยบช่วยเล่าเกี่ยวกับเส้นทางการเป็นคุณแม่อาสาในครั้งนี้ เผื่อจะได้เป็นแนวทางให้กับอีกหลายครอบครัวที่กำลังเจอกับปัญหา หรือผู้ปกครองที่สนใจเข้ามาช่วยงานนี้
อรนภา : เริ่มต้นก็คือตอนนั้นพี่มีปัญหากับลูก ความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เนื่องจากการสื่อสารที่ทำให้ความสัมพันธ์ไม่ดี พี่เจี๊ยบถึงขั้นเคยซื้อไม้มาเตรียมไว้ตีลูกเลยด้วยนะคะ  คือก็ต้องยอมรับนะคะว่าความเป็นแม่มือใหม่ เราไม่ได้ถือตำราการเลี้ยงลูกมาด้วย ก็เลี้ยงกันไปตามวิถีดั้งเดิม เหมือนคำกล่าวที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี”
ผู้สังเกตการณ์ : แต่ลืมไปว่า ลูกเราไม่ใช่วัว และการตีกันไม่ใช่ความรัก”
อรนภา : ใช่ค่ะ คนเป็นแม่อย่างเราก็ไม่เข้าใจในหลักการทางจิตวิทยาการเลี้ยงลูกเชิงบวก ก็จะใช้วิธีเดิม ๆ ที่เราได้เติบโตกันมาก็คือตีลูก
ผู้สังเกตการณ์ : จุดเปลี่ยนครั้งนี้คือ ?
อรนภา : แล้วก็ถึงวันหนึ่งที่แม่รู้สึกเจ็บในใจ   รู้สึกว่าเราไม่อยากเป็นแบบนี้แล้ว เรากับลูกกำลังมีความสำพันธ์ที่แย่  แล้วเราก็เป็นแม่ที่ไม่ดีมาก ๆ  เลยทำให้หันกลับมาดูตัวเองและคิดหาทางวิธีที่จะทำอย่างไรที่จะกลับมามีความสัมพันธ์กับลูกที่ดีขึ้นได้
ผู้สังเกตการณ์ : เป็นพ่อเป็นแม่ก็ทำผิดคิดพลาดได้ พี่เจี๊ยบกับน้อง ๆ โชคดีที่ยังแก้ไขได้ทัน และเพียงแค่พี่เจี๊ยบเปลี่ยนแค่คนเดียว ทุกคนรอบตัวดีขึ้นหมดเลย รวมถึงยังแบ่งปันมาถึงครอบครัวอื่นอีกด้วย
อรนภา : ที่จริงมันมีความรู้สึกที่เราโทษตัวเองด้วยนะคะ แต่พอคิดได้ก็ต้องขอบคุณประสบการณ์ในครั้งนั้นจริง ๆ ค่ะ พอพี่คิดได้ก็ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงตัวเอง แล้ววันหนึ่งเห็นโครงการคุณเปลี่ยนลูกเปลี่ยนใน Facebook เด้งขึ้นมาเลยคลิกเข้าไปดูและสมัครไปเรียนรู้เรื่องการสื่อสารเชิงบวกกับลูกซึ่งตรงกับใจของพี่เจี๊ยบ ที่กำลังต้องการหาวิธีแก้ปัญหาเรื่องที่เรามีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับลูกอยู่พอดี
คุณแม่อาสา
อรนภา : แล้วพี่เจี๊ยบก็ได้เข้าไปปรึกษาพูดคุยกับในกลุ่มที่มีกระบวนการพูดการสื่อสาร มีวิทยากรที่เป็นนักจิตวิทยาซึ่งมีคุณพ่อคุณแม่อีกหลายท่านที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มันทำให้พี่เจี๊ยบได้รู้ว่าการที่เราเจอปัญหานี้ไม่ใช่บ้านเราบ้านเดียว หลาย ๆ บ้านก็เป็น แล้วเราก็ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วก็รับฟังคำแนะนำจากนักจิตวิทยาด้านการสื่อสารเชิงบวกกับให้คำแนะนำกับเราในการที่จะไปปฏิบัติกับลูกเช่น การควบคุมอารมณ์ตัวเอง สอนการศึกษาเรื่องการสื่อสารยังไงที่จะทำให้ลูกรู้สึกว่าไม่โดนบ่น
สอนเรื่องการรับฟังลูก ว่าพ่อแม่ต้องฟังแบบไหนถึงจะเรียกว่าฟังแบบตั้งใจ
สอนเรื่องการสะท้อนความรู้สึกของลูกเวลาที่เรารับฟังลูก หรือแม้กระทั่งคำชม ซึ่งพวกเราไม่ค่อยได้ใช้กันในปัจจุบันนี้
คือชมลูกยังไงให้ถูกต้อง ควรชมลูกตอนไหน เรียกว่าได้ความรู้มาปรับใช้กับตัวพี่เจี๊ยบเยอะมาก ๆ เลยค่ะ
ในสมัยก่อนเรามักจะติลูกมากกว่าชม เราลืมชมในสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เขาทำสำเร็จ ซึ่งการที่เข้ามาเรียนรู้ในครั้งนี้ทำให้เรารู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้น มีสติมากขึ้น ปัญหาก็อาจจะเป็นแบบเดิมแต่เราสามารถควบคุมมันได้ดีขึ้น แล้วก็ใช้การสื่อสารที่ดีกว่าเดิมเป็นการคัดคำพูดด้วยสติทั้งยังช่วยให้เรามีอารมณ์ที่เย็นลง
พอนำทุกอย่างที่ได้เรียนรู้ในกลุ่มนี้ไปใช้แล้วก็ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกกับพี่เจี๊ยบดีขึ้น ก็เลยทำให้เราอยากจะอยู่ในกลุ่มนี้ต่อไป  แต่ทางทีมงานก็แจ้งมาว่าการที่เราจะอยู่ได้อยู่ต่อในกลุ่มนี้เราก็ต้องร่วมเป็นคุณแม่อาสาเพื่อจะทำกระบวนการกลุ่มให้กับแม่ ๆ ในกลุ่มต่อไป และนั่นก็เป็นที่มาที่พี่เจี๊ยบได้สมัครเป็นคุณแม่อาสา และตอนนี้ก็ยังคงทำงานร่วมกับโครงการนี้มาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว
ทำให้รู้ว่าการที่เราจะเปลี่ยนลูกเราซึ่งเป็นพ่อแม่ต้องมาเปลี่ยนที่ตัวเราเองก่อน
ภาพกิจกรรมกลุ่ม คุณแม่อาสา
ผู้สังเกตการณ์ : เยี่ยมไปเลยค่ะ แขดีใจกับพี่เจี๊ยบและน้อง ๆ ด้วยนะคะ แลัวอะไรหรือสิ่งใดที่ทำให้พี่เจี๊ยบ เข้ามารับบทบาทและหน้าของการเป็น คุณแม่อาสาในครั้งนี้
อรนภา : ความประทับใจในทีมงานที่สอนกระบวนการและทำให้พี่เจี๊ยบได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการทำกระบวนการกลุ่มกับคุณพ่อคุณแม่ที่เข้ามาปรึกษาในโครงการ ทำให้เราเห็นว่าการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเป็นเพื่อนพ่อแม่มันทำให้เราใจฟูมาก ทำให้เรารู้สึกดีและก็คิดว่าการที่เราทำสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่เราทำแล้วเรามีความภูมิใจแล้วก็อยากทำสิ่งนี้ต่อไป เพราะอยากให้เด็ก ๆ ทุกคนมีความสุข มีพ่อแม่และผู้ปกครองที่เข้าใจเขา เขาจะได้มีพื้นที่ปลอดภัย เวลาเขามีอะไรก็จะได้มาปรึกษา ซึ่งก็ควรจะเป็นที่บ้านหรือครอบครัว
ลูกของเราต้องมีเพื่อน มีสังคม พี่เจี๊ยบคิดว่าถ้าเด็ก ๆ ทุกบ้านมีความสุข ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันก็จะดีต่อบ้านเราด้วย
ผู้สังเกตการณ์ : พี่เจี๊ยบได้พบกับอุปสรรคหรือความท้าทายใดบ้างไหมคะในเส้นทางของการเป็นคุณแม่อาสา
อรนภา : อุปสรรคก็คือ “ความกลัว” ความไม่มั่นใจในตัวเองนี่แหละซึ่งเราคิดว่าเราจะไปช่วยใครเขาได้
ความจริงแล้วเราช่วยเขาได้ แต่เราไม่มั่นใจ เราไม่กล้าที่จะก้าวออกจากพื้นที่ปลอดภัยของตัวเอง ทำให้ช่วงแรกพี่เจี๊ยบก็ยังไม่คิดที่จะเป็นคุณแม่อาสา ที่จะต้องเติบโตก้าวไปเป็นผู้นำกลุ่มตามที่โครงการอยากให้เป็น
และก็เป็นโชคดีของพี่เจี๊ยบที่ทางโครงการได้จัดอบรมกระบวนการเพื่อการเตรียมตัวเป็นผู้นำกลุ่มให้กับแม่ ๆ ในโครงการได้เรียนรู้เพิ่มเติมเสริมความมั่นใจและทำให้ตอนนี้ขึ้นมาเป็นผู้นำกลุ่มในการทำกลุ่มกับคุณพ่อคุณแม่แล้วค่ะ
ผู้สังเกตการณ์ : พอก้าวข้ามความคิดกลัวในใจไปได้ ทุกอย่างก็ฉลุย
อรนภา : ใช่ค่ะ “กับดักความกลัว เราติดกับดัก ความสบายใจ ไม่กล้าที่จะทำสิ่งใหม่นี่เองค่ะ”
ผู้สังเกตการณ์ : แก้ได้ด้วยการทำความเข้าใจ และศึกษาเพิ่มเติม
อรนภา : พอเรารู้แล้ว เข้าใจแล้วก็เกิดความมั่นใจและกล้าที่จะส่งต่อเรื่องราวดี ๆ ต่อไป เป็นแบบนั้นเลยค่ะ
ผู้สังเกตการณ์ : แรงบันดาลใจในการทำงานของพี่เจี๊ยบหรือไอดอลคือใครคะ
อรนภา : แรงบันดาลใจของพี่เจี๊ยบก็คือครูเงาะค่ะ พี่เจี๊ยบเคยดูคลิปของครูเงาะหลายคลิปซึ่งทำให้เราคิดว่าเราก็อยากเป็นผู้พูดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจอะไรสักอย่างให้กับผู้ฟัง ซึ่งสิ่งที่เราทำก็จะเป็นแนวทางเดียวกับครูเงาะก็คือเรารับฟังแล้วก็ให้พ่อแม่ทุกคนทำแชร์ประสบการณ์ให้คำแนะนำในสิ่งที่เราเคยผ่านมาจากประสบการณ์จริงของเราเป็นการแชร์ประสบการณ์เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้ผู้ร่วมสัมนาในกลุ่มได้นำไปใช้กับลูก ๆ ของแต่ละบ้านให้เกิดผลตามบริบทของแต่ละบ้านเลยค่ะ
ผู้สังเกตการณ์ : ผลตอบแทนจากงานเขียนและจากการเป็น คุณแม่อาสาเป็นยังไงบ้างคะ
อรนภา : ผลตอบแทนจากงานเขียนยังไม่มากเท่าไรคะ พอได้ค่าขนมให้ลูกบ้าง อาจจะเป็นเพราะพี่เจี๊ยบไม่ได้เขียนงานออกมาเยอะ ที่ทำตอนนี้ E book เพียง 2 เล่มนี้ค่ะ
1.หนังสือเขียนคิ้วสวยเป๊ะปังดั่งดารา
เพราะพี่เป็นคนชอบแต่งหน้า ชอบเรื่องความงามโดยเฉพาะคิ้วไม่เขียนคิ้วนี่ก้าวขาออกจากบ้านไม่ได้เลย ..555 แล้วก็มักจะมีเพื่อน ๆ คนรู้จักทักว่า “เขียนคิ้วสวยจัง” พอมีคนถามบ่อย ๆ  เลยเอามาเขียนหนังสือเลยดีกว่า จึงเป็นที่มาของหนังสือ เขียนคิ้ว สวย เป๊ะ ปัง ดั่งดารา เล่มนี้
เขียนคิ้วสวย เป๊ะ ปัง ดังดารา : เจี๊ยบศรี
2.หนังสือ “เปลี่ยนเพื่อลูก”
เขียนจากประสบการณ์การจริงที่ได้มาจากการทำงานกับ “โครงการคุณเปลี่ยน ลูกเปลี่ยน”
เปลี่ยนเพื่อลูก : เจี๊ยบศรี
ส่วนการเป็นคุณแม่อาสา
ผลตอบแทนพี่ไม่ได้ไปโฟกัสเรื่องนั้นตั้งแต่แรกแล้ว แต่พี่เจี๊ยบคิดว่าสิ่งที่เราทำไปเป็นการส่งมอบสิ่งที่เราได้เรียนรู้มา ได้บอกและแชร์ให้กับคนอื่นและคิดว่ามันเป็นประโยชน์มากกว่าผลตอบแทน มันคือ “ความสุขทางใจ”
ตอนแรกที่ทำงานกับโครงการพี่เจี๊ยบก็ไม่ได้คิดหรือคาดหวังว่าจะได้ผลตอบแทน คิดอย่างเดียวว่าเราจะทำอย่างไรที่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ เพราะเรามีความสุข รู้สึกได้มีเพื่อนร่วมทางในการเลี้ยงลูก อยากตอบแทนสังคม ตอบแทนองกรค์ด้วยการส่งมอบเรื่องราวดี ๆ ต่อไป
ผู้สังเกตการณ์ : จิตของความเป็นแม่ จิตการเป็นผู้ให้ มีแต่ความปรารถนาดีจริง ๆ ขอบคุณน้ำใจพี่เจี๊ยบและคุณแม่อาสาทุกท่านนะคะ แล้วเสียงตอบรับจากผู้คนรอบข้างหรือสังคมเป็นยังไงบ้างคะ
อรนภา : ดีมากเลยค่ะ มีผู้เรียนซึ่งก็คือคุณพ่อ คุณแม่ ที่พี่เจี๊ยบร่วมทำกระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มด้วยกัน ทักไลน์มาบอกถึงผลลัพธ์ของพวกเขาที่ดีขึ้น มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับลูกและเครียดน้อยลง ครอบครัวมีความสุขมากขึ้น ได้ฟังแล้วก็ชื่นใจไปด้วยค่ะ
ผู้สังเกตการณ์ : สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในโครงการที่พี่เจี๊ยบทำอยู่มีคำแนะนำไหมคะ
อรนภา : ยินดีต้อนรับทุกท่านค่ะ
สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเข้ามาเรียนรู้กับโครงการที่พี่เจี๊ยบได้ทำอยู่นี้ สามารถติดตามได้ที่ช่องทางด้านล่างนี้เลยค่ะ
ที่ 👇
พี่เจี๊ยบอยากเชิญชวนให้เข้ามาเรียนรู้กันเยอะ ๆ เลยนะคะ
ผู้สังเกตการณ์ : ช่วงนี้พี่เจี๊ยบมีงานอื่น ๆ เพิ่มอีกไหมคะ
อรนภา : ช่วงนี้เป็นแม่ค้าออนไลน์ค่ะ ทำงานออนไลน์ สไตล์บ้าน ๆ แบบพี่เจี๊ยบค่ะ  เช่น ทำนายหน้าขายของออนไลน์ ขายเสื้อผ้า ของใช้ กระเป๋า ของเราเองผ่านทาง FB   และ marketplace
ผู้สังเกตการณ์ : พี่เจี๊ยบช่วยฝากผลงานการเขียนไว้หน่อยสิคะ เผื่อเพื่อน ๆที่สนใจจะได้ตามไปอุดหนุน
อรนภา : พี่เจี๊ยบฝากผลงานการหนังสือ E book  สองเล่มนี้ด้วยนะคะ ขอบคุณทุกคนค่ะ
หน้งสือเปลี่ยนเพื่อลูก
ผลงานของ เจี๊ยบศรี
หนังสือสอนเขียนคิ้ว เขียนคิ้วสวย เป๊ะ ปัง ดั่งดารา
ช่องทางติดต่อ เจี๊ยบศรี
พี่เจี๊ยบยังมีเขียนบทความในช่องทางต่าง ๆ อีกด้วยนะคะ
📌blockdit
🌺Bloggerhttps://jeabsri.blogspot.com/
ผู้สังเกตการณ์ : วันนี้แอดมินและทางเพจขอขอบคุณ คุณอรนภา ฉัตรฐิติ หรือพี่เจี๊ยบ ที่มาแชร์ผลงานและเรื่องราวดี ๆ กับทางเพจ และเพื่อน ๆ ขอบคุณอีกครั้งนะคะ ขอให้สิ่งที่พี่เจี๊ยบตั้งใจทำ จงสำเร็จค่ะ
อรนภา : ยินดีค่ะ ขอบคุณน้องแขมาก ๆ เช่นกัน  หวังว่าเรื่องราวของพี่เจี๊ยบจะมีประโยชน์และช่วยได้อีกหลาย ๆ ครอบครัวนะคะ ขอบคุณค่ะ
ภาพกิจกรรมกลุ่ม คุณแม่อาสา
เป็นยังไงกันบ้างคะทุกคน กับเรื่องราวบทสัมภาษณ์ในวันนี้ ผู้เขียนก็หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่าเรื่องราวเหล่านี้จะเป็นประโยชน์
วันนี้แค่คุณช่วยชีวิตคนหนึ่งได้
แค่ช่วยให้เขาเห็นทางสว่าง
มีความหวัง มีกำลังใจ
ในวันข้างหน้า เขาอาจมีกำลังช่วยได้อีกเป็นล้านชีวิต ก็เป็นไปได้
ผู้สังเกตการณ์
ส่งกำลังใจให้กันนะคะ 
ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่าน ขอบคุณทุกกำลังใจ แรงเชียร์และแรงสนับสนุนที่มีให้กันเสมอมา
แล้วพบกันใหม่ในบทต่อไป
ผู้สังเกตการณ์
โฆษณา