Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
journey of the Footprint
•
ติดตาม
21 ส.ค. เวลา 16:23 • ประวัติศาสตร์
อำเภอพนมสารคาม
ศิลปะล้านช้าง ณ ฉะเชิงเทรา ตอนที่ 2 : สิมญวนแห่งพนมสารคาม
เมื่อวานพาไปดูฮูปแต้มหรืองานจิตรกรรมกันไปแล้ว คราวนี้เรามาดูงานสถาปัตยกรรมบ้างครับ ซึ่งงานสถาปัตยกรรมศิลปะลาวล้านช้างในฉะเชิงทราจะมี 2 แบบ คือ สิมหรืออุโบสถ และ ธาตุหรือเจดีย์ และจะขอเริ่มด้วย "สิม" ก่อนครับ
สิม หรือ อุโบสถนั้นถือเป็นอาคารสำคัญที่ทุกวัดจะต้องมี ยิ่งในศิลปะล้านช้าง สิมถือเป็นงานสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจและมีความหลากหลายสูงมากตามแต่กลุ่มช่างและกลุ่มชาติพันธุ์ที่สร้างงานขึ้นมา ซึ่งสิมที่จะชวนไปดูวันนี้ก็คือ "สิมญวน" ครับ
สิมญวน เป็นคำเรียกสิมที่ถูกสร้างโดยชาวญวน หรือ ชาวแกว ถ้าจะพูดให้นึกออกได้ง่ายที่สุดก็คือชาวเวียดนามนั่นเอง ซึ่งกลุ่มคนญวนนี้เข้ามาในไทยในฐานะช่างมากกว่าจะมาตั้งชุมชนอยู่อาศัย ซึ่งผลงานของช่างญวนนั้นพบมากในจังหวัดหรือพื้นที่ที่อยู่ใกล้แม่น้ำโขง เช่น วัดกำแมด จ.ยโสธร หรือ วัดสนวนวารี จ.ขอนแก่น เป็นต้น จุดเด่นสำคัญของสิมญวนคือการเป็นอาคารที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตก นิยมซุ้มโค้ง และมีงานประดับที่ได้อิทธิพลจากศิลปะจีน
สิมญวน วัดกำแมด จ.ยโสธร
สิมญวน วัดสนวนวารี จ.ขอนแก่น
และที่อำเภอพนมสารคามนี้มีสิมญวนอยู่ทั้งสิ้น 2 หลัง ได้แก่ สิมเก่า วัดโคกหัวข้าว และ สิมเก่า วัดนาเหล่าบก
วัดโคกหัวข้าวสร้างโดยชาวเวียงจันที่อพยพเข้ามาตั้งแต่ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อเดิมว่า "วัดหลุมข้าว" แต่แม้จะสร้างมาตั้งแต่ 200 กว่าปีก่อน แต่สิมเก่าของวัดนั้นถูกสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2468 เท่านั้น
สิมหลังนี้เป็นสิมขนาด 5 ห้องที่แม้ลวดลายต่างๆจะหลุดออกไปเกือบหมด คงเหลือเพียงปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษาที่ซุ้มหน้าต่างซุ้มหนึ่งเท่านั้น แต่สิมหลังนี้มีซุ้มโค้งเป็นหลักฐานสำคัญ รวมถึงช่อฟ้าที่เป็นรูปหัวมังกรด้วย
สิมเก่า วัดโคกหัวข้าว
ซุ้มหน้าต่างลายพันธุ์พฤกษา
ในขณะที่วัดนาเหล่าบกนั้นถูกสร้างโดยกลุ่มชาวลาวพวนจากบ้านนาเหล่าบก เมืองจำปาศักดิ์ที่อพยพเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งสิมหลังนี้ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อใดแต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในช่วงไล่เลี่ยกับสิมของวัดโคกหัวข้าว
สิมญวน วัดนาเหล่าบก
สิมของวัดนาเหล่าบกยังเหลือหลักฐานงานตกแต่งมากกว่าวัดโคกหัวข้าว เช่น หน้าบันเขียนสีเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณล้อมรอบด้วยลายก้านขด ซึ่งการใช้หน้าบันเขียนสีพบในสิมบางหลังในศิลปะลาว หรืองานตกแต่งซุ้มหน้าต่างรูปครุฑแบบญวน รวมถึงขอบซุ้มประตูหน้าต่างที่ออกเป็นรูปมังกรก็แสดงอิทธิพลญวนอย่างชัดเจน
หน้าบันเขียนสีรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
หน้าบันเขียนสี วัดสว่างบัวมาศ จ.มหาสารคาม
ซุ้มเขียนสีรูปครุฑ
ครุฑหน้าบัน วัดผักกะย่า จ.ยโสธร
เป็นยังไงบ้างครับ กับ 2 ตอนทีผ่านไปของศิลปะลาวในอ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา น่าสนใจใช่ไหมครับ และเหมือนที่ผมเกริ่นไว้ตั้งแต่ตอนแรกว่างานสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างในฉะเชิงเทรามี 2 แบบ คือ สิม และ ธาตุ ดังนั้น พรุ่งนี้จะเป็นเรื่องของธาตุลาวครับ
blockdit
เรื่องเล่า
ประวัติศาสตร์
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย