Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTV Wealth
•
ติดตาม
22 ส.ค. เวลา 10:45 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Krungthai COMPASS เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังเปราะบาง
Krungthai COMPASS เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังเปราะบาง มีความท้าทายซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการบริโภค การลงทุน และการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2/2567 เติบโต 2.3% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2566 หรือขยายตัวเมื่อเทียบจากไตรมาสก่อน 0.8% สูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งประเมินไว้ที่ 2.1% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2566 โดยในช่วงครึ่งปีแรกจีดีพีขยายตัวได้ 1.9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2566
จากข้อมูลดังกล่าว Krungthai COMPASS มองเศรษฐกิจไทยระยะข้างหน้ายังเปราะบาง โดยประเมินว่าตัวเลขการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐในช่วงที่ผ่านมานั้น
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2567
เป็นผลสะท้อนของงบประมาณปี 2567 ที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามปกติ แต่หลังจากต้นไตรมาส 3/2567 เป็นต้นมา มีสัญญาณการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐซึ่งเร่งตัวขึ้น และคาดว่าจะกลับมาเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยยังมีความท้าทายซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการบริโภค การลงทุน และการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีว่าจะอยู่ในทิศทางเช่นใด จากความเสี่ยงด้านต่ำที่จะกดดันในระยะข้างหน้า คือ
การบริโภคภาคเอกชนอาจอ่อนแอลง เนื่องจากกำลังซื้อถูกกดดันด้วยปัญหาหนี้ครัวเรือนในระดับสูง ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงโดยดัชนีของกระทรวงพาณิชย์ล่าสุดในเดือน ก.ค. ต่ำกว่า 50.0 ถือเป็นการเข้าสู่ระดับไม่เชื่อมั่นเป็นครั้งแรกในรอบ 20 เดือน
การลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มแผ่วลง เนื่องจากผู้ประกอบการกำลังประสบกับอุปสรรคหลายด้าน ทั้งต้นทุนค่าแรงและโลจิสติกส์ในระดับสูง รวมถึงปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน ส่งผลให้ตัวเลขการลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 2/2567 กลับมาติดลบเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี (10 ไตรมาส)
และมีสัญญาณว่าการลงทุนภาคเอกชนระยะข้างหน้าจะอ่อนแอลงจากการติดลบของตัวเลขการนำเข้าสินค้าทุน ขณะที่ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังหดตัว
การส่งออกยังมีความเสี่ยงด้านต่ำที่กดดันเพิ่มเติม ทั้งปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น
การตีตลาดของสินค้าจีน ซึ่งหากวิเคราะห์ถึงผลกระทบจากการรุกตลาดของสินค้าจีนเข้ามาในไทยและกลุ่มอาเซียน เพื่อระบายสินค้าซึ่งผลิตล้นเกินออกมาท่ามกลางปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยกระดับ จะพบว่า ส่วนแบ่งตลาดของสินค้าอุตสาหกรรมไทยในอาเซียนลดลง โดยเฉพาะในสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าและรถยนต์ที่สัดส่วนสินค้าจากไทยลดลง
●
เครื่องใช้ไฟฟ้าลดจาก 12.7% (1Q/66) เหลือ 11.5% (1Q/67)
●
รถยนต์ลดลงจาก 20.9% (1Q/66) เหลือ 18.7% (1Q/67) เป็นผลจากที่จีนได้ส่งออกสินค้ามาแข่งขันในตลาดอาเซียนมากขึ้น
ปัจจัยข้างต้นจะส่งผลลบต่อการผลิต การส่งออก และการลงทุนภาคเอกชน ทั้งอาจกดดันโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยต่อไปข้างหน้า
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ :
https://www.pptvhd36.com/wealth/economic/230943
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTV Wealth :
https://www.facebook.com/PPTVWealth/
YouTube Wealth :
www.youtube.com/@PPTVWealth
กรุงไทย
เศรษฐกิจไทย
ลงทุน
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย