Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย
•
ติดตาม
22 ส.ค. 2024 เวลา 09:44 • ข่าว
15 ประเด็นความรู้ที่สำคัญเรื่องฝีดาษลิง (Mpox) เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
1) พ.ศ. 2501 พบการติดเชื้อครั้งแรกในลิงของประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก
1
2) ช่วงนั้น เริ่มพบการติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ด้วย ประเทศที่พบได้แก่ คองโก แคเมอรูน กาบอง ไนจีเรีย ไลบีเรีย เป็นต้น
3) พ.ศ. 2546 พบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก โดยติดมาจากสัตว์ตระกูลฟันแทะ คือ แพร์รี่ด็อก (Prairie dog)
1
4) พ.ศ. 2565 มีการระบาดของฝีดาษลิงไปทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน ทางด้านสาธารณสุขอยู่ประมาณเกือบหนึ่งปี แต่เป็นสายพันธุ์ที่ 2 ซึ่งมีความรุนแรงน้อย และประเทศไทยก็พบผู้ติดเชื้อในช่วงนั้นด้วยเช่นกัน
5) การระบาดปี 2565-66 ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อหลายร้อยคน และพบประปรายหลังจากนั้น ในปี 2567 พบผู้ติดเชื้อไปแล้วร้อยคนเศษ ทั้งหมดเป็นสายพันธุ์ที่ 2 ซึ่งไม่รุนแรง โดย97% เป็นผู้ชายและติดต่อทางเพศสัมพันธ์
6) ไวรัสก่อโรคอยู่ในตระกูล Orthopoxvirus ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใกล้เคียงกับไวรัสก่อโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ (Smallpox)
7) แหล่งกำเนิดโรค ได้แก่ สัตว์ตระกูลลิงแอฟริกา สัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระต่าย กระรอก เป็นต้น
Cr. กรมควบคุมโรค
การติดต่อสามารถติดต่อได้จากสัตว์สู่สัตว์ สัตว์สู่คน และคนสู่คน โดยติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรงกับผื่น ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง ที่ผิวหนังของผู้ติดเชื้อ การใช้ของส่วนตัวร่วมกัน การมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า (ซึ่งคาดว่าเกิดจากการสัมผัสผื่นหรือตุ่มบริเวณอวัยวะเพศ) นอกจากนั้นยังสามารถติดต่อผ่านฝอยละอองทางเดินหายใจได้ด้วย แต่ไม่ได้ติดต่อง่ายเหมือนไข้หวัดใหญ่หรือโควิด 19
9) อาการของโรคจะเริ่มหลังจากสัมผัสแล้ว 7-21 วันโดยมีไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บคอ
Cr. กรมควบคุมโรค
หลังจากนั้นจะตามมาด้วยมีผื่นแดงเรียบ และเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใส หรือตุ่มหนองขึ้นกระจายที่ใบหน้า แขนขา ลำตัว โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ สามารถหายเองได้ใน 2-4 สัปดาห์
10) ความรุนแรง :
•สายพันธุ์ที่ 1 อัตราการเสียชีวิต 5-10%
•สายพันธุ์ที่ 2 อัตราการเสียชีวิต 1-5%
11) การรักษา : มียาต้านไวรัสแล้วคือ Tecovirimat แต่สามารถหายเองได้ในคนภูมิคุ้มกันปกติ โดยการรักษาแบบประคับประคอง
12) ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ติดเชื้อเอชไอวี เป็นมะเร็ง มีการปลูกถ่ายอวัยวะ รับเคมีบำบัดหรือฉายแสงรักษามะเร็ง เด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี ผู้ป่วยแพ้ภูมิตนเอง
1
Cr. กรมควบคุมโรค
13) การป้องกัน :
•หลีกเลี่ยงการสัมผัสไวรัสจากผื่น ตุ่มน้ำใส หรือตุ่มหนองโดยตรง
•หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน
•หมั่นล้างมือบ่อยบ่อย ไม่นำมือมาสัมผัสใบหน้า
•ใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยง ที่มีความแออัด
Cr. กรมควบคุมโรค
14) การฉีดวัคซีน : มีวัคซีนป้องกันโรคแล้ว ฉีดหนึ่งเข็มมีประสิทธิภาพ 76% สองเข็ม 82% แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องฉีดในขณะนี้ และองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดเฉพาะในพื้นที่ระบาดของประเทศที่มีความเสี่ยงในแอฟริกาเท่านั้น
15) ผู้ที่เคยปลูกฝีป้องกันฝีดาษหรือไข้ทรพิษ มีรายงานการศึกษาว่ายังมีระดับภูมิคุ้มกันที่ป้องกันได้
1
แต่อย่างไรก็ตาม โลกเราไม่มีไข้ทรพิษหรือฝีดาษมาตั้งแต่ปี 2523 จึงไม่มีการปลูกฝีป้องกันฝีดาษหลังจากนั้น
ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปีลงมา จึงไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ ส่วนคนที่มีแผลปลูกฝีที่ต้นแขนในคนที่อายุน้อยกว่า 44 ปี คือการปลูกฝีป้องกันวัณโรค
กล่าวโดยสรุป
1) ขณะนี้ ฝีดาษลิงหรือฝีดาษวานรในประเทศไทยยังไม่ถือเป็นการระบาด
2) ที่ผ่านมา เป็นเชื้อสายพันธุ์ที่ 2 ซึ่งไม่รุนแรง
3) นอกจากการสัมผัสโดยตรงหรือการมีเพศสัมพันธ์แล้ว การติดต่อโดยทางเดินหายใจนั้นติดยากกว่าไข้ใหญ่หรือโควิด-19
4) ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า ไม่ใช้ของร่วมกัน ล้างมือบ่อยบ่อย ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อมีความเสี่ยง
ทั้งนี้ควรติดตามข่าวสารสถานการณ์โรคฝีดาษลิงหรือฝีดาษวานรอย่างใกล้ชิดต่อไป
Reference
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ข่าว
สุขภาพ
เศรษฐกิจ
34 บันทึก
55
1
61
34
55
1
61
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย