Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Cashury
•
ติดตาม
24 ส.ค. เวลา 07:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เรื่องที่ต้องรู้! ก่อนเปิด “บัญชีคู่”
บางเป้าหมายทางการเงินอาจไม่ได้เป็นเป้าหมายของเราเพียงคนเดียว แต่มีคนอื่นร่วมเก็บเงินเพื่อเป้าหมายนั้นด้วยกัน เช่น เก็บเงินให้ลูก เก็บเงินสร้างบ้าน เก็บเงินซื้อรถ เก็บเงินแต่งงาน เก็บเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว เป็นต้น
“บัญชีคู่” เลยเป็นทางเลือกที่คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ เพราะจัดการได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และสะดวกในการเปิดบัญชีคู่
วันนี้เราเลยจะพามาทำความเข้าใจกับการเปิดบัญชีคู่กัน จะมีเงื่อนไขและรายละเอียดอะไรบ้างที่ต้องรู้ก่อนบ้าง ตามมาอ่านต่อกัน
การเปิดบัญชีคู่ คือ การเปิดบัญชีบัญชีเงินฝากเพื่อเก็บเงินร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของบัญชีออมทรัพย์ หรือบัญชีแบบฝากประจำ เป็นเหมือนเงินกองกลางให้คนสองคนได้เป็นเจ้าของบัญชีร่วมกันและมีสิทธิ์ในการทำธุรกรรมในบัญชีนั้นอย่างเท่าเทียมกัน
บัญชีคู่ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
1. บัญชีคู่ กรณี “และ”
คือ บัญชีที่เจ้าของบัญชีคู่ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการรับรู้และมีการเซ็นรับรองในทุกกิจกรรมทางการเงินพร้อมกัน ทั้งการเปิดบัญชี การปิดบัญชี และการถอนเงิน ยกเว้นการฝากเงินเพิ่มเข้าไปในบัญชี สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียว
2. บัญชีคู่กรณี “หรือ”
คือ บัญชีที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถทำธุรกรรมทางการเงินกับบัญชีเพียงคนเดียวเองได้ เช่น การถอนเงิน การฝากเงิน ยกเว้นตอนเปิดบัญชีและปิดบัญชีเท่านั้นที่จะต้องยินยอมและเซ็นร่วมกันทั้งสองฝ่าย
เปิดบัญชีคู่ กับใครได้บ้าง?
- สามี ภรรยา
- คู่รัก
- พ่อ แม่ พี่น้อง และญาติ
- เพื่อน รูมเมต
- คนที่ทำธุรกิจร่วมกัน
ซึ่งตามหลักแล้วเราสามารถเปิดบัญชีคู่กับใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องทางสายเลือดหรือมีพันธะผูกพันกันตามกฎหมาย
เปิดบัญชีคู่ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
- กรณีที่เจ้าของบัญชีทั้งคู่ถือสัญชาติไทย ใช้เพียงบัตรประชาชนของทั้ง 2 ฝ่าย
- กรณีเป็นชาวต่างชาติ จะต้องใช้เอกสารเพิ่มเติม คือ 1.หนังสือเดินทาง (Passport) หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว 2.กรณีเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ใช้เอกสาร Work Permit หรือ VISA ที่มีอายุ 3 เดือนขึ้นไป 3.กรณีเป็นนักศึกษาใช้หนังสือรับรองจากสถานศึกษา
ทั้งนี้ ข้อควรระวังในการเปิดบัญชีคู่ ก็คือ เงื่อนไขของบัญชีคู่ “และ” กับ “หรือ” ซึ่งมีผลต่อการทำธุรกรรมเป็นอย่างมาก เราจึงควรตัดสินใจตกลงร่วมกันให้ดีว่าทั้งคู่สะดวกแบบไหนมากกว่ากัน เพื่อให้เหมาะสมกับคู่ของตนเอง
วางแผนการเงิน
การลงทุน
การเงิน
13 บันทึก
15
1
14
13
15
1
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย