23 ส.ค. เวลา 15:23 • ดนตรี เพลง

[รีวิวอัลบั้ม] Quantum Baby - Tinashe >>> พลังหมกมุ่น

ฉันไม่ได้ตั้งความคาดหวังใดๆให้กับตัวฉันเลย ฉันพยายามที่จะรังสรรค์เพลงที่ดีที่สุดและรู้สึกดีที่สุดสำหรับตัวฉัน ในเซนส์ของฉันก็คงรู้สึกไปเองแหละว่า เพลงเหล่านั้นมัน hit สำหรับฉันแล้ว แต่ฉันก็ไม่รู้จริงๆหรอกว่า(เพลง Nasty) จะปังมากขนาดนั้น
The Tinashe Renaissance Is in Full Effect—And She Did It All by Believing in Herself (ELLE Magazine)
-นี่คือคำตอบที่นักร้องสาววัย 31 ปี Tinashe ได้ให้สัมภาษณ์ในนิตยสารเกี่ยวกับมุมมองที่มีต่อความสำเร็จของเพลง Nasty ที่เพิ่งจะมา viral ตลอดช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมา ทั้งๆที่เธอเองก็เดบิวท์มาแล้วครบ 10 ปีตั้งแต่อัลบั้ม Aquarius เมื่อปี 2014 ที่มีเพลง 2 On เป็นซิงเกิ้ลแจ้งเกิด ซึ่งหลังจากนั้นเธอก็ยังไม่มีซิงเกิ้ลใดๆที่กลับมาฮิตได้ในระดับนั้นอีกเลย
-เรียกได้ว่าเป็นนักร้องสาวที่ฝ่าฟันอุปสรรคติดบั๊คแห่งความ “แป้ก” ในการแข่งขันมาโดยตลอด จนเธอเองก็แทบไม่คาดหวังอะไรใดๆทั้งสิ้นแล้ว ซึ่งนั่นก็ทำให้เธอได้สัมผัสโมเมนต์แห่งความ “ปัง” อีกรอบในปีนี้ โดยหารู้ไม่ว่า เธอไม่ใช่หน้าใหม่เลยด้วยซ้ำ เธอผ่านช่วงเวลาเกือบทศวรรษในการรังสรรค์ผลงานอัลบั้มเป็นเรื่องเป็นราวมาแล้ว 6 อัลบั้ม ซึ่งถือว่ามากเกินพอที่จะทำให้เกิดความท้อแท้หรือหมดไฟที่จะเปลี่ยนเลนไปทำสิ่งอื่นได้ทุกเมื่อ
-อย่างไรก็ดีความปังของ Nasty นำพาซึ่งการตกแฟนเพลงหน้าใหม่เพื่อเข้าหาผลงานเต็มของเธออีกที และดันมา viral ได้ถูกจังหวะมากๆ ในช่วงที่เธอ hard sale ตัวเองสุดๆเลยฮะ เพราะ Quantum Baby ชุดนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนอัลบั้มไตรภาค Baby (อันนี้ผมตั้งเอง) สามอัลบั้มที่มาด้วยจำนวนราวๆ 7-8 แทร็ค ซึ่งตรงตามเทรนด์ยุคปัจจุบันที่เริ่มเบนเข็มเน้นที่ฟังก์ชั่นมากกว่าปริมาณ
-ภายใต้ยุคสมัยแห่งสตรีมมิ่งการทำเพลงๆนึงให้ viral 3 นาทีกว่าก็ถือว่ายาวไปแล้วสำหรับวัยรุ่นยุคดิจิตอล ด้วยทางเลือกหลากหลายนี้เอง การที่อัลบั้มเพลงมีปริมาณไม่เกิน 10 ย่อมมีแนวโน้มที่จะถูกจิ้มเลือกฟังก่อน Gen Y อย่างเราในมุมนึงก็แอบเศร้าเหมือนกันที่วัฒนธรรมการฟังเพลงค่อยๆถูกหดลง จนเหลือคนที่จดจ่อต่อการบริโภคเพลงเป็นอัลบั้มน้อยลงอย่างน่าใจหาย แต่ในอีกมุมนึงก็ปฏิเสธไม่ได้จริงเชียวว่า ถ้ายาวไปแล้วไม่ฟังก์ชั่น มันโคตรอ่อมและน่าเบื่อเอาการเลยครับ
-การทยอยปล่อยทีละอัลบั้ม 3 ปีต่อเนื่องของ Tinashe ถือเป็น move ที่ฉลาดคิดพอที่จะปล่อยให้แฟนเพลงหน้าใหม่เปิดใจที่จะเข้าหาผลงานเต็มในแบบโอมิกาเสะพอดีคำ โดยที่ไม่รีบเสิร์ฟบุฟเฟ่ต์ทีเดียว
-เข้าเรื่องความสำเร็จของ Nasty นั่นเป็นสิ่งที่น่ายินดีจริงๆกับการเพิ่งจะมาดังของเธอคนนี้ แต่ผมก็คงต้องโน้ตหมายเหตุบอกกล่าวแฟนเพลงหน้าใหม่ที่เพิ่งจะเปิดใจกับเธอคนนี้ซักนิดนะครับ เพราะซิงเกิ้ล Nasty ที่น้องๆพี่ๆเต้นกันอย่าง enjoy การเข้ามาสู่โซนที่สอง Quantum Baby ก็ต้องทำใจซักนิดว่า พลังงานที่จะได้ซึมซับต่อไปนี้ค่อนข้างเป็นส่วนตัวอย่างเนิบๆและไม่ประนีประนอมต้องทำเพลงเน้นฮิตแบบ repeat Nasty
-การเริ่มต้นที่อัลบั้มนี้อาจจะเป็นทางเลือกที่ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะฉะนั้นการกลับไปเริ่มต้นที่อัลบั้ม BB/ANG3L (Baby Angel) จึงเป็นการเริ่มต้นที่ไม่ถอยกลับไปไกลจนเกินไปในการทำความเข้าใจสิ่งเธอปูแนวทางมาก่อน จากใจผมที่เคยรีวิว BB/ANG3L มาแล้ว ยังรู้สึกเลยว่าองก์แรกฟังง่ายกว่าองก์สองเยอะพอสมควร และไม่เนิบนาบเท่านี้เลยด้วยซ้ำ เป็นการเพิ่มความท้าทายให้คนฟังอีกครับ ซึ่งก็ดีแล้วที่มาด้วยปริมาณแบบนี้จริงๆ ไม่งั้นหลับยาวแน่
-ไม่แปลกใจเลยครับว่าหลังจากปล่อย Nasty ออกมาแล้ว ทำไมเธอปล่อยแค่เพลง Getting No Sleep ออกมาแค่เพลงเดียวเท่านั้น ทั้งๆที่เธอมีโอกาสปล่อยอีกเพลงก็ย่อมได้ เพราะ Getting No Sleep เป็นเพลงที่ represent ภาพรวมอัลบั้มนี้ได้ดีที่สุด และนั่นก็ผลักให้ Nasty กลายเป็นเพลง bonus track ไปโดยปริยายเลยครับ
ฝากรีวิว BB/ANG3L ที่เคยเขียนถึงไว้เมื่อปีก่อน
-ถ้าใครได้ฟังหรืออ่านรีวิว BB/ANG3L ก็พอจะจับทางข้างต้นได้ว่า intention ในการทำอัลบั้มไตรภาคนี้ เป็นการที่เธอพยายามใกล้ชิดคนฟังให้มากที่สุด โดย Baby Angel ผมได้ระบุไว้ว่า เธอเป็นฝ่ายเข้าหาเมื่อใครก็ตามเพรียกหาหรือเคาะประตูบ้าน (กดเข้ามาฟัง)
แต่พอเข้าสู่องก์ Quantum Baby เริ่มขยับสู่ระดับรู้ไส้รู้พุงเลย ขอย้ำอีกรอบว่า การฟัง Baby Angel มาก่อนย่อมจำเป็นต่อการได้สนิทกับตัวเธอก่อน ถึงแม้ว่าจะไม่มีสตอรี่ Easter eggs เพื่อบอกเล่าเรื่องแต่งใดๆเลยก็ตาม แต่เธอขับเคลื่อนด้วยตีมความเป็นส่วนตัวที่ต้องสร้างความคุ้นชินก่อน ซึ่งเธอวางแผนให้อัลบั้มไตรภาคต้องต่อจิ๊กซอว์ได้ภาพใหญ่ภาพนึง
-เมื่อเปรียบเทียบแทร็คแรกเปิดองก์ No Simulation กับ Treason ในอัลบั้มที่แล้ว ความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด vibe เพลง Treason มีความพลุ่งพล่านและเข้มข้นมากกว่า จงใจให้ผู้ฟังเข้าสู่โลกของเธอโดยเร็ว
-ในขณะที่ No Simulation ให้ vibe ที่พริ้วไหว แช่มช้ากว่า บ่งบอกได้ในระดับนึงว่า เราจะได้เจอ vibe แบบไหนในองก์สองบ้าง มีทั้งสไตล์การร้องหลบเสียง falsetto เกือบทุกเพลงอย่างฉ่ำๆ Slowjam R&B ตีมกลางคืนแบบหรี่ไฟลงที่เนิบๆ ผิดภาพจำ mid-tempo dance anthem ในเพลง Nasty ที่น้องๆพี่ๆรู้จัก อีกทั้งมันเป็นการเปิดเผยตัวตนที่พาเข้าสู่ภวังค์แห่งความสองแง่สามง่ามด้วย
-ทั้ง Getting No Sleep และ Thirsty เป็นสองเพลงที่คงตีม night vibe มู้ดเย็นๆได้อย่างต่อเนื่อง นั่นทำให้ผมชอบสองเพลงนี้มากเป็นพิเศษ ตอนแรกก็เฉยๆกับ Getting No Sleep ในช่วงที่ปล่อยซิงเกิ้ลในตอนแรกๆ พอถูกเอามารวมในอัลบั้มนี้ กลับทำงานได้ดีกว่ามากๆ ยิ่งต่อด้วย Thirsty ลงล็อคเลยครับ
ซึ่งสองเพลงนี้มีจุดร่วมแห่งความค่อยเป็นค่อยไป และไม่อยากให้อะไรมาขัด vibe แห่งความสุขสมเป็นอันสะดุดลง เพลงแรกมาในตีมท่องราตรีและปาร์ตี้แบบไม่หลับไม่นอน ส่วนเพลงหลังเริ่มไปทางอุ่นเตียง ซึ่งใจนึงก็แอบหวั่นว่า คู่ของเธอจะรีบหนีไปเสียก่อน
-ต่อให้ Thirsty จะมาเวย์เนิบต่อเนื่อง แต่ก็ติดหูยิ่งกว่า Getting No Sleep และมีลูกเล่นบางอย่างที่แอบอยู่ปลายจมูกจนอยากจะพูดถึงมากๆ ไม่ว่าจะเป็น ท่อนอินโทรและ background noise ใน verse แรก ไม่ได้ใช้แค่บีทเพลง โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาครีเอท effect แต่อย่างใด แค่นำเอาประโยคนึงในเพลงมาเล่นแบบ reverse ก็เกิดเสียงใหม่ขึ้นมาได้แล้ว ลูกเล่นนี้ชวนระลึกถึงอินโทรเปิด euphoria ของ Kendrick Lamar เลยฮะ เพียงแต่ของ Tinashe ไม่ได้ซ่อน message ใดๆในการ reverse แบบที่เคนดริกทำ ซึ่งถือว่า nice try
-ตัดสลับโหมดค่ำคืนอันแสนเร่าร้อน สู่สภาวะแห่งการร้อนตัวเมื่อถึงจุดที่ toxic จริงๆอย่าง Red Flags เป็นแทร็คที่ผมรู้สึกเฉยๆมากที่สุด ด้วยลูกเล่นที่ไม่มีอะไรมากนอกจากขับเคลื่อนบริบทแห่งความสับสนและย้อนแย้งในตัวกับการเลือกที่จะมองข้ามลางสังหรณ์บางอย่างไป เพื่อให้ความสัมพันธ์มันคืบหน้า จนนำมาสู่การเพ้อฝันถึงการมีครอบครัวในแบบที่บ้าไปแล้วที่กล้าจะล้ำเส้นในเพลง Cross That Line ซึ่งก็ถือว่า ช่างแม่งแล้ว ณ จุดนี้ ผูกมัดไปเลยดีกว่า
-เริ่มเข้าสู่โหมดฮิปฮอปนิดๆสองเพลงต่อเนื่อง เริ่มจาก When I Get You Alone ที่ออกแนวอีโรติกสุดๆ ในเมื่อเราอยู่กันสองต่อสองแบบไม่มีใครกวนแล้ว เรามาค่อยๆทำกันเถอะ เอาให้บินไปสู่สวรรค์ด้วยความเร้าใจแบบ Top Gun ไปเลย แล้วเธอจะคิดถึง Nasty Nashe คนนี้อย่างแน่นอน พอเข้าสู่พาร์ทสองก็โดนหักมุมด้วยการโดนเท หยอดบีทชวนคึกคักนิดๆเพื่อเชื่อมสู่เพลงต่อไปที่มีความคึกคักใกล้เคียง Nasty ที่สุดอย่าง No Broke Boys ที่เล่าเรื่องต่อเนื่องจากเพลงก่อน
-อยู่ดีๆคนที่เทเธอไป หรืออาจจะเป็น ex ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ When I Get You Alone เลยก็ได้ อยู่ดีๆโทรหาเธอราวกับว่าคงคิดถึงความหลังตอนอุ่นเตียงนั่นแหละ แต่นั่นก็สายไปแล้ว เธอช่างแม่งไปนานแล้ว เธอโอเคที่จะโสดจนกว่าจะเจอใครที่เรียลกับเธอจริงๆ ท่อน Pre-Chorus ที่เจือด้วย Trap Beat โคตรแข็งแรง ประหนึ่ง boost confidence สุดมั่น ก่อนที่ท่อนฮุกเปลี่ยน vibe มาเป็นความดี๊ด๊าเชิงเพื่อนสาวเลยฮะ
-นั่นก็ทำให้ Nasty ปิดท้ายอัลบั้มด้วยการตอกย้ำถึงความมั่นใจในแบบของเธอ ที่ผมบอกว่าเพลงนี้ให้ฟีลเพลงแถมที่โดดออกจากตีมหลักของอัลบั้ม ผมยังคงรู้สึกแบบนั้นจริงๆ ไม่ใช่ว่าเพลงนี้ไม่ดีหรือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดของเธอนะครับ แต่ผมมองว่า เพลงนี้ถูกออกแบบมาให้เป็นเพลงพร้อมฮิตติดลมบนโดยเฉพาะเลยครับ มีคุณสมบัติแห่งการเป็น earworm ซึ่งเพลงที่ผ่านมาแทบจะเล่นกับการไหลไปตามความรู้สึกมากกว่าการเน้น catchy จริงจัง
-Nasty มีทั้งการ repeat ท่อนฮุกฝังหัวกันตั้งแต่เนิ่นๆ การมีวลีทองอย่าง match my freak ที่สามารถติด hashtag ได้ ซึ่งเธอก็ทำ merch โดยใช้วลีนี้ทำขายจริงๆ และ match my freak แปลเป็นไทยประมาณว่า “ศีลเสมอกัน” ดันเชื่อมกันท่อน pre-chorus ในเพลง Broke Boys ที่บอกว่า เธอต้องการคนที่เรียลกับเธอจริงๆ นั่นคงเป็นเหตุผลที่เธอเลือกใส่เพลงนี้เข้ามาเป็นลำดับสุดท้าย
และที่สำคัญการเดินบีท mid-tempo ที่เป็นป๊อปสมัยนิยมกระตุ้นต่อมลุกขึ้นมาทำ challenge ได้เลย อย่าลืมเธอไม่ใช่แค่นักร้อง เธอคือนักเต้นที่มีบีทเพลง Pop Dance ในหัวอยู่แล้ว เพลงนี้แทบไม่เป็นเพลงโหมดอัลบั้มเลยครับ
-สรุปแบบไม่ต้องโยงทฤษฎีควอนตัมให้ยุ่งยากอะไรมาก เพราะผมก็ไม่ถนัดฟิสิกส์เหมือนกัน ซึ่งทฤษฎีควอนตัมก็ซับซ้อนและยังคงเป็นที่ถกเถียงถึงทุกวันนี้ ซับซ้อนพอๆกับความพยายามของเธอที่จงใจให้เราอยู่ในความกึ่งกลางระหว่าง ความรู้สึกมั่นใจตัวเองกับความเปราะบาง ที่อาจต้องรอค้นหาคำตอบต่อไปในองก์สามว่า เธอจะหาจุดสมดุลความรู้สึกขั้วบวกขั้วลบนี้ได้หรือไม่?
-ผมยอมรับเลยว่า ชอบ Baby Angel มากกว่าก็จริง แต่การได้มาทำความรู้จักเธอถึงครึ่งทางที่รู้สึกได้เลยว่า ผลงานเพลงของเธอเริ่มแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ พอๆกับการได้รู้ใจตัวเองอย่างหนักแน่นขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผมก็มั่นใจเหลือเกินว่า อัลบั้มไตรภาค Baby แห่งการแนบชิดคงสัมฤทธิ์ผลด้วยเจตจำนงความเป็นศิลปินให้ถูกฉายแสงแหล่มชัดขึ้นเรื่อยๆ Nasty เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการเกิดใหม่ที่ทำให้ให้เห็นว่า เธอเป็นได้มากกว่า one hit wonder แต่เป็นศิลปินที่คิดมาแล้วค่อนข้างดีในการรังสรรค์ผลงานโดยที่ไม่จำเป็นต้องลองผิดลองถูกอีกต่อไป
หวังว่าภาพรวมไตรภาคจะฉายภาพที่ถูกต้อง
Give 7/10
Thx 4 Readin’
See Y’all
โฆษณา