25 ส.ค. เวลา 01:30 • หนังสือ

4 เเนวทางการก้าวออกจาก "กับดัก" ด้านอารมณ์

ท่ามกลางความวุ่นวายของคนทำงานโดยเฉพาะในกรุงเทพ ชีวิตจิตใจเราในเเต่ละวันถูกอารมณ์นับสิบๆอย่างวิ่งเข้าใส่ บางคนคิดว่าตัวเองตื่นเช้ามากเเล้วเเต่ก็ยังอารมณ์เสียเพราะเจอรถติด บางคนเวลาทำงานบริการเเล้วเจอลูกค้าตำหนิก็มักหงุดหงิดตามไปด้วยอย่างไม่ได้ตั้งใจ หรือบางคนมีเเฟนเเต่ก็หึงเเฟนเกินเหตุจนทำให้ความสัมพันธ์เเย่ลงไปกว่าเดิม
ในอีกด้านนึง, คนที่ดูมีความสุขุม ที่มีนิสัยใจคอตรงกันข้ามกับกลุ่มคนในย่อหน้าเเรก
หรือพูดอีกอย่างก็คือ ''คนที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี'' กลับดูสามารถควบคุมตัวเองได้เเถมยังมีความสุขกับชีวิตมากกว่า เป็นตัวของตัวเองมากกว่า เเละเป็นที่เคารพนับถือของคนรอบตัว ทั้งครอบครัว เพื่อนฝูง หรือเเม้กระทั่งครอบครัว
ผู้อ่านเคยสงสัยไหมครับ? ว่าระยะเวลาในการตอบสนองต่ออารมณ์เเละความรู้สึกของเเต่ละคนไม่เท่ากัน กับบางคนตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้วยอารมณ์ของตัวเองทันทีทันใด ยกตัวอย่างเช่น
โดนลูกค้าด่าก็ชักสีหน้าใส่ เเละมีปากมีเสียงตอบโต้กลับไป
โดนหัวหน้างานตำหนิก็รู้สึกโกรธ ไม่พอใจ จนไปถึงพูดจาตัดพ้อ หรือทำตัวไม่น่ารัก
ลูกชาย สอบไม่ผ่านวิชาคณิตศาสตร์ ทำให้ผลการเรียนลดลง ก็เรียกลูกมาต่อว่า ใช้อำนาจ เเละกดดันเขาให้หากทางเเก้ไขความล้มเหลวนี้ให้จงได้ในเทอมถัดไป
เเต่เหตุการณ์เเละเรื่องราวตามที่ยกตัวอย่างเหล่านี้มักจะไม่เกิดขึ้นกับคนที่มี ''ความคล่องเเคล่วทางอารมณ์สูง'' ที่พวกเขาความสามารถ หน่วงอารมณ์ของตัวเองต่อสถานการณ์ที่กำลังเผชิญหน้าอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ การกระทำดังกล่าวอาจทำให้พวกเขาเหล่านั้นตอบสนองกับเหตุการณ์ช้าหน่อย เเต่สิ่งที่เเสดงออกเเละปฎิบัติกับเหตุการเเย่ๆนั้น เเตกต่างจากคนที่มักตอบสนองด้วยอารมณ์ทันทีอย่างชัดเจน
คำถามที่น่าสนใจคือ เราจะมีทักษะ คล่องเเคล่วทางอารมณ์ นี้ได้อย่างไร?
จากตรงนี้ Self- Discipline ขออนุญาตินำเสนอเเนวทางการพัฒนาความสามารถในการก้าวออกจากกับดักทางอารมณ์ที่เป็นพิษเเละวิธีการควบคุมตัวเองในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับเรื่องเเย่ๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผ่านกระบวนการที่สำคัญ 4 ข้อจากหนังสือ EMOTIONAL AGILITY จากผู้เขียน SUSAN DAVID
Credit ภาพ : https://themouseminute.wordpress.com/2020/05/25/disney-animated-character-of-the-week-54-joy-inside-out/
1️⃣ เผชิญหน้า กระบวนการนี้มุ่งเน้นให้เราเลือกที่จะไม่ต่อต้านอารมณ์ที่เกิดขึ้นเพราะการขัดขืนความรู้สึกในจิตใจมักจะทำให้เกิดปัญหาเรื้อรังระยะยาว อย่างเช่น การเก็บกด การคิดมาก คิดวนไปวนมา.
ในทางกลับกัน การปฎิบัติเริ่มเเรก คือการระบุชื่อของอารมณ์ปัจจุบันของเราให้ชัดเจนว่าอะไรคือต้นเหตุจริงๆที่ทำให้เราอารมณ์เสีย
⭕️ยกตัวอย่างเช่น หากวันนี้ขายของไม่ได้ทั้งๆที่ตั้งใจบริการลูกค้าอย่างดีที่สุดเเล้ว ซึ่งพรุ่งนี้ประชุมเรื่องยอดขายประจำเดือน โดนตำหนิชัว
เเน่นอนเราหงุดหงิด อารมณ์ไม่ดีกับเหตุการณ์ดังกล่าว, จุดเริ่มต้นของส่วนเเรกสุดคือ หยุดฟุ้งซ่านคิดหาเหตุผลว่าทำไมวันนี้ต้องมาหงุดหงิดกับเรื่องเเบบนี้ จากนั้นตั้งชื่ออารมณ์เเบบเจาะจงไปเลยว่าที่เซ็งอยู่เนี่ย คือ ''ความรู้สึกผิดหวัง''
2️⃣ ก้าวออกมา ขั้นตอนนี้มีไว้เพื่อสร้าง ''พื้นที่ที่ปราศจากการตัดสินที่อยู่ระหว่างความรู้สึกของเรากับการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่อยู่ตรงหน้า''
การพาตัวเองออกมาสัก 1-2 ก้าว อาจเปรียบเทียบคล้ายกับการมองตัวเองให้เห็นเป็นทั้งกระดาษหมากรุกที่เต็มไปด้วยทางเลือกมากมาย ดีกว่าจะโฟกัสเเค่เบี้ยตัวใดตัวหนึ่งบนกระดานที่ถูกกำหนดไว้เเล้วว่าต้องเดินไปทางไหน
ทีนี้กลับไปที่ ความรู้สึกผิดหวังตอนเเรก วิธีการที่ง่ายที่สุดในการถอยออกมามองตัวเองคือ ''การนั่งเขียนถึงความรู้สึกของตัวเอง''.
⭕️จากตัวอย่างข้างต้น หลังจากที่หัวเสียจากการขายของไม่ได้มาตลอดทั้งวัน กระบวนการที่ 2 นี้ เเนะนำให้ เขียนระบายความผิดหวังทั้งหมดออกมาอย่างซื่อสัตย์ต่อตนเองก่อนนอน ตื่นเช้ามาให้ลองหยิบกระดาษที่เคยเขียนเมื่อคืนมาอ่าน จะมองเห็นตัวเองในมุมมองที่กว้างเเละเเตกต่างจากเมื่อวาน.
3️⃣ ทำสิ่งที่ตัวเองยึดมั่น สรุปให้เข้าใจง่ายที่สุด มันคือการเป็นตัวของตัวเองเเละเลือกทำตามคุณค่าที่ตัวเองเชื่อถือโดยไม่วอกเเวกไปตามค่านิยมของสังคมรอบตัว
ในส่วนนี้ หนังสือพยายามจะสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่า พฤติกรรมของคนในที่ทำงาน ครอบครัว กลุ่มเพื่อนสนิท เเฟน หรือเเม้กระทั่งลูกค้าที่เราต้องทำงานด้วย มักส่งผลต่อเราไม่ทางตรง ก็ทางอ้อม เรามีเเนวโน้มที่จะทำตามความคาดหวังของคนที่เราใช้เวลาด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไอกระเเสความคาดหวังนั่นเเหละที่เป็นต้นเหตุตัวฉกาจที่ทำให้เกิดอารมณ์ร้ายๆในตัวเราได้
⭕️ยกตัวอย่างเช่น การที่เรารู้สึกผิดหวังต่อการขายไม่ได้นั้น อาจมาจากความคาดหวังของหัวหน้างานที่กดดันให้ต้องทำยอดให้ถึงเป้าหมายที่กำหนด ความคาดหวังของครอบครัวที่อยากให้เราเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดีเป็นต้น
หลังจากที่ระบุชี้จัดเเล้วว่านี้คือความรู้สึกผิดหวัง เเละก้าวออกมามองตัวเองในมุมมองที่กว้างขึ้น ขั้นตอนที่ 3 สอนให้เราไม่กดตัวเองจนเกินไป เเละไม่เปรียบเทียบตัวเรากับคนอื่น รวมถึงไม่ปล่อยให้ความคาดหวังของสังคมมากดดันจนทำให้อารมณ์ของเรานั้นมัวหมอง จงเชื่อมั่นว่าที่ทำในทุกๆวันนี้ดีที่สุดเเล้วในเเบบของเรา
4️⃣ ก้าวต่อไปด้วยหลักการบิดเล็กน้อย ในส่วนนี้เป็นการเปลี่ยนความคิดที่มักเข้าใจผิดว่าการพัฒนาตัวเองในด้านใดก็ตาม เกิดจากการเปลี่ยนเเปลงตัวเราเเบบถอนรากถอนโคน เเบบนั้นจะดูฝืนธรรมชาติเเละทำได้จริงยาก ใจความสำคัญของกระบวนการที่ 4 นี้อาจเปรียบเทียบให้เห็นภาพดังนี้
จิตนาการว่าเรากำลังเดินไปข้างหน้าเเบบสุดกำลัง เเต่ช่วงเวลาหนึ่งกลับรู้สึกติดขัดเหมือนพยายามฝืนเดินชนกำเเพงอยู่อย่างนั้นทั้งที่ในความเป็นจริง ประตูที่พาเราก้าวออกไปอีกด้านหนึ่งอาจอยู่ฝั่งขวามือเราเเค่เอื้อม
⭕️ กลับไปที่เหตุการณ์สมมุติ, ที่เราผิดหวังนี้ หากทบทวนเเล้วมองมันอย่างตั้งใจจะพบว่า ที่เราขายไม่ได้ในวันนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะโดนไล่ออก โลกคงไม่เเตก เเละเราก็คงไม่ถูกฟ้าผ่าตายเเน่ๆกับเรื่องเเค่นี้
สิ่งที่เราทำได้คือการตอบสนองต่อ "ความผิดหวัง" ให้ช้าลง ปัญหาในวันนี้อาจจะเป็นบทเรียนให้เราเก่งขึ้นในวันข้างหน้าก็ได้ พอทัศนคติเปลี่ยน อารมณ์ก็เปลี่ยนตาม เเค่ "บิดอารมณ์" ให้มองในเเง่บวกเพียงเล็กน้อย ทุกอย่างก็มีเเนวโน้มจะดีขึ้นเอง
บทความนี้เรียบเรียงผ่านการสรุปโดยย่อจากหนังสือ Emotional Agility ผสมกับความคิดเห็นของผมเองบางส่วนเพื่อให้บทความสั้นกระชับ เนื้อหาหนังสือจริงๆนั้นอธิบายหลักการเเละยกตัวอย่างเอาไว้ลึกเเละน่าสนใจเหมาะเเก่การหาซื้อมาอ่านฉบับเต็มอย่างยิ่ง
สุดท้ายนี้ฝากติดตามบทความสรุปหนังสือดีๆต่อไปด้วยนะครับ สำหรับวันนี้ ขอให้เป็นวันที่ดีสำหรับทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ สวัสดีครับ😁
อ้างอิง : หนังสือ Emotional Agility (เท่าทันอารมณ์ก็เข้าใจตนเอง) by SUSAN DAVID
Self-Discipline
24 สิงหาคม 2567
โฆษณา