25 ส.ค. เวลา 02:48 • การเมือง

อนาคตของกรีนแลนด์: อาณานิคมของอเมริกาหรือรัฐที่มีอำนาจอธิปไตย?

ในเดือนสิงหาคม 2019 ประธานาธิบดี “โดนัลด์ ทรัมป์” แห่งสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้ประกาศอย่างไม่คาดคิดว่ารัฐบาลสหรัฐฯ กำลังวางแผนที่จะซื้อเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งยังคงเป็น “ดินแดนของเดนมาร์ก”
2
“กรีนแลนด์” เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประชากรเบาบาง (น้อยกว่า 58,000 คน) ซึ่ง 80-88% เป็นชนพื้นเมืองกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลอลูต-เอสกิโม มีแร่ธาตุที่มีค่ามากมายอยู่ใต้แผ่นน้ำแข็งของเกาะ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกซึ่งมาพร้อมกับการละลายของน้ำแข็งบนเกาะอย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับการพัฒนาทรัพยากรแร่ธาตุ ความสำคัญเชิงภูมิรัฐศาสตร์ของเกาะกรีนแลนด์จึงมีความชัดเจนขึ้น
1
เครดิตภาพ: Pngtree
อัลบั้มภาพชนพื้นเมืองบนเกาะกรีนแลนด์ เครดิตภาพ: ADAM FEDERMAN
ในทางภูมิศาสตร์เกาะนี้ถือว่าอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ แต่เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเดนมาร์ก แม้ในยุคกลางตอนต้น เกาะนี้เป็นจุดแวะพักบนเส้นทางของพวกไวกิ้งที่จะเดินเรือไปยังชายขอบตะวันตกของ “ทะเลแห่งความมืด” ซึ่งเป็นชื่อเรียกของมหาสมุทรแอตแลนติกในสมัยโบราณ
ในปี 1979 กรีนแลนด์ได้รับอำนาจปกครองตนเอง ซึ่งได้รับการสนับสนุนหลังจากที่ประชากรของเกาะลงคะแนนเสียงในปี 2009 เพื่อขยายการปกครองตนเองและโอนอำนาจในการบริหารให้กับรัฐบาลกรีนแลนด์ของตนเอง (เหตุผลหนึ่งเกาะกรีนแลนด์ถือว่าเป็นดินแดนโพ้นทะเลของเดนมาร์ก อยู่ห่างจากแผ่นดินหลักในยุโรป) ซึ่งทำให้กรีนแลนด์สามารถจัดตั้งสถาบันที่รับรองการดำเนินงานของพื้นที่ปกครองตนเองต่างๆ ได้อย่างอิสระ เช่น ตำรวจ ระบบตุลาการ การควบคุมชายแดน การควบคุมการขุดแร่ การจัดหาเงินทุน ฯลฯ
2
ในขณะเดียวกันนโยบายการต่างประเทศและการป้องกันประเทศยังคงอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลของเดนมาร์ก ตามอำนาจปกครองตนเองเหล่านี้ กรีนแลนด์มีสิทธิที่จะสำรวจและพัฒนาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึง “แรร์เอิร์ธ” (ใช้ในเทคโนโลยีพลังงานสะอาดและอุตสาหกรรมรถอีวี) และ “ยูเรเนียม” (นิวเคลียร์) เรื่องนี้ทำให้เดนมาร์กต้องโดดเข้ามาเกี่ยวข้องจัดการ เนื่องจากการสกัดแร่แรร์เอิร์ธและยูเรเนียมจัดอยู่ในหมวดหมู่ที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์สำหรับประเทศ
1
เครดิตภาพ: DERIK HOBBS
ข้อเสนอของ “ทรัมป์” ในการให้โคเปนเฮเกน “ขายเกาะให้กับวอชิงตัน” นั้นไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจเลย เพราะเรื่องนี้เคยถูกพูดถึงในรัฐบาลเมื่อปี 2018 สื่ออเมริกันรายงานในเวลานั้นว่า แม้ว่าที่ปรึกษาของประธานาธิบดีสหรัฐฯ บางคนจะมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องตลก แต่หลายคนก็ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงจัง
1
อันที่จริงแล้วแนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ย้อนกลับไปในปี 1946 รัฐบาลสหรัฐได้ยื่นข้อเสนอลับต่อรัฐบาลเดนมาร์ก (ซึ่งทราบเรื่องนี้ในเวลาต่อมาจากเอกสารเก็บในกุที่ถูกปล่อยออกมา) เพื่อขายกรีนแลนด์ในราคา 100 ล้านดอลลาร์ในรูปของทองคำ แต่รัฐบาลเดนมาร์กปฏิเสธ แต่ว่าที่มาของปัญหาเกิดขึ้นก่อนหน้านั้นเสียอีก
1
เมื่อวันที่ 9 เมษายน 1941 ก่อนที่สหรัฐอเมริกาจะเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 อเมริกาได้ลงนามในข้อตกลงในกรุงวอชิงตันกับทูตเดนมาร์กซึ่งได้ลี้ภัยออกจากโคเปนเฮเกนตอนที่เยอรมนีบุกยึดครอง เกี่ยวกับสิทธิในการให้ตั้งฐานทัพอเมริกันบนเกาะ การที่อเมริกาอยู่ที่นั่นและการใช้ฐานทัพเพื่อวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเดนมาร์กสูญเสียการควบคุมเกาะนี้ไปโดยสิ้นเชิง กลายมาเป็นพื้นฐานสำหรับแนวคิดของรัฐบาลสมัยทรูแมนที่จะซื้อเกาะกรีนแลนด์แห่งนี้ไว้
ใน “ช่วงสงครามเย็น” ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของกรีนแลนด์ชัดเจนยิ่งขึ้น และในปี 1951 ข้อตกลงครั้งใหม่ระหว่างเดนมาร์กและอเมริกาเกี่ยวกับเสถียรภาพของเกาะนี้ก็ได้ข้อสรุป ตามข้อตกลงใหม่สหรัฐอเมริกาได้รับสิทธิ์ในการปรับปรุงและใช้ฐานทัพอากาศใกล้หมู่บ้าน Thule ได้อย่างถาวร ซึ่งถือเป็นฐานทัพอากาศที่อยู่เหนือสุดของอเมริกาและเริ่มใช้ปฏิบัติการในปี 1943
ฐานทัพอากาศ Thule ของอเมริกาบนเกาะกรีนแลนด์ เครดิตภาพ: The Cold War - Youtube
ข้อเสนอขอซื้อเกาะกรีนแลนด์ของทรัมป์ไม่ได้รับการตอบรับอย่างกระตือรือร้น ในความเป็นจริงเดนมาร์กและกรีนแลนด์มองว่าเป็นการดูหมิ่นพวกเขา ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งได้รวมพลังทางการเมืองทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อต่อต้านอเมริกาเรื่องนี้
1
ในกรณีนี้ “ทรัมป์” ได้ใช้ตรรกะทางธุรกิจแบบดั้งเดิมในการขอซื้อเกาะนี้คือ การหักเงินทุกปีจากงบประมาณของเดนมาร์กมาให้สำหรับดีลกรีนแลนด์ซึ่งคิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของงบประมาณที่ได้รับของเกาะแห่งนี้ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 600 ล้านโครนเดนมาร์ก
2
การปฏิเสธข้อเสนอขอซื้อเกาะเหมือนเป็น “การตบหน้าทรัมป์” ตามมาด้วยปฏิกิริยาโกรธเคืองของทรัมป์ ไม่กี่วันต่อมาเขาก็เขียนบนโซเชียลมีเดียว่าเดนมาร์กมีสัดส่วนเงินสนับสนุนให้กับนาโตเพียง 1.35% ของจีดีพีประเทศ ในขณะที่ตามเงื่อนไขของนาโตต้องสนับสนุน 2% เป็นอย่างน้อย
1
Mette Frederiksen (ซ้าย) นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เครดิตภาพ: Channel 4 News
ความสนใจของวอชิงตันในกรีนแลนด์อธิบายได้จากหลายสาเหตุ โดยหลักแล้วมาจากตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์ ซึ่งความสำคัญจะเพิ่มขึ้นทุกปีเพื่อ “การแข่งขันสำหรับอิทธิพลเหนืออาร์กติก (กับรัสเซียและจีน)” ที่เข้มข้นขึ้น
เกาะแห่งนี้อาจกลายเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ในภาพรวมที่ใน “การติดตามการยิงขีปนาวุธในซีกโลกเหนือ” และ “การป้องกันการโจมตีด้วยขีปนาวุธ” เข้าด้วยกัน ใน “กรีนแลนด์” เพนตากอนและนาโตสามารถใช้งานอาวุธยุทธศาสตร์ของตนเองได้ ทำให้สามารถลดเวลาในการปล่อยขีปนาวุธเข้าไปยังรัสเซียและใช้วิถีการยิงได้หลากหลายแนวและรูปแบบขึ้น
ใน “ช่วงสงครามเย็น” เรือดำน้ำนิวเคลียร์และโครงสร้างพื้นฐานทางการทหารได้รับความสนใจอย่างมากที่จะนำมาใช้ในภูมิภาคอาร์กติก และสหรัฐฯ วางแผนที่จะพัฒนาระบบป้องกันขีปนาวุธที่เป็นความลับสุดยอดที่เรียกว่า “โครงการไอซ์เวิร์ม (Project Ice Worm)” แต่ไม่ได้นำมาใช้งานเนื่องจากแผ่นน้ำแข็งมีความไม่มั่นคงแข็งแรงมากนัก
พันเอกวอลเตอร์ เอช. พาร์สันส์ (กลาง) กำลังปีนลงไปที่ค่ายเซนจูรี ฐานทัพสหรัฐฯ ในอาร์กติกที่กรีนแลนด์ เมื่อเดือนมิถุนายน 1959 ค่ายนี้ใช้เป็นที่กำบังของโครงการไอซ์เวิร์มในการติดตั้งฐานยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ใต้แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ เครดิตภาพ: US ARMY/PICTORIAL PARADE/GETTY IMAGES
การละลายของน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ยังทำให้สามารถขุดแร่ได้สะดวกขึ้น สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือการเป็นแหล่งสำรองเชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนและก๊าซธรรมชาติจำนวนมากซึ่งยังไม่สามารถระบุปริมาณได้อย่างชัดเจน รวมถึงการขุดแร่แรร์เอิร์ธซึ่งจำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น พลังงานนิวเคลียร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ทิศทางด้านนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ซึ่งได้เข้าสู่ “การแข่งขันด้านเทคโนโลยีกับจีน” ซึ่งจีนสามารถขุดหาแรร์เอิร์ธได้มากกว่า 90% ของปริมาณสำรองในโลกที่สามาถพิสูจน์ออกมาเป็นตัวเลขได้ ในขณะที่ 80% ของการนำเข้าของสหรัฐฯ ด้านเทคโนโลยียังประกอบด้วยซัพพลายแร่แรร์เอิร์ธจากจีน
นอกจากนี้จีนยังแสดงเจตจำนงหลายครั้งแล้วว่ายินดีที่จะลงทุนในกรีนแลนด์ ทั้งโดยตรงหรือโดยการซื้อหุ้นในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในกรีนแลนด์อยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้สถานะของจีนแข็งแกร่งยิ่งขึ้นซึ่งขัดแย้งกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ อย่างสิ้นเชิง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของบริษัท Greenland Minerals ของออสเตรเลีย ซึ่งอ้างความเป็นผู้นำในการสกัดแร่แรร์เอิร์ธในเกาะแห่งนี้ คือบริษัท Shenghe Resources Holdings ของจีน
1
เครดิตภาพ: X – Diana Coromines
สหรัฐฯ ได้ดำเนินการอย่างหนักในการขจัดโอกาสในการร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างสหภาพยุโรปและจีน ในปี 2021 รัฐสภายุโรปได้ตัดสินใจระงับข้อตกลงการลงทุนที่ชื่อว่า Comprehensive Agreement on Investment (CAI) กับจีน เนื่องจากปักกิ่งได้ตอบโต้การคว่ำบาตรสมาชิกสภานิติบัญญัติของยุโรป
“การเข้ามาในกรีนแลนด์ของจีน” อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับเดนมาร์ก ดังนั้นสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาจึงได้หาทางร่วมมือต่อต้าน โดยที่สหรัฐอเมริกาเองไม่สามารถเข้ามายุ่งในกรีนแลนด์ภายใต้กรอบของสถานการณ์ดังกล่าวได้ เพราะมันกระทบต่อผลประโยชน์ของเดนมาร์กด้วย สหรัฐฯ จึงต้องดำเนินการกดดันผ่านสหภาพยุโรป ทว่าสหภาพยุโรปก็ไม่สามารถละเลยความสำคัญที่ชัดเจนของกรีนแลนด์ได้เช่นกัน
เครดิตภาพ: Sam Ward / The Wire China
การพิจารณาว่ารัฐใดอยู่ในเขต “อาร์กติก” มีการตีความที่คลุมเครือ ในขั้นต้นแนวทางที่ใช้คือถูกแบ่งออกระหว่างรัฐที่อยู่รอบขั้วโลกซึ่งอยู่ติดกัน และขั้วโลกเหนือเป็นพรมแดนของรัฐที่ใช้พิจารณาทั้งหมด ในปี 1982 อนุสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล (The 1982 Law of the Sea Convention) ได้รับการรับรอง
ซึ่งระบุว่าเขตอำนาจศาลของรัฐครอบคลุมไปถึงเพียงชั้นหิน (แผ่นดิน) เท่านั้น ในขณะที่เขตที่อยู่นอกชั้นหินได้รับการประกาศให้เป็นสากล (น่านน้ำสากล) เป็นผลให้รัฐอาร์กติกทั้งหมดเรียกร้องสิทธิ์ในส่วนที่เป็นไปได้มากที่สุดของพื้นทะเลที่มีความเชื่อมโยงกับแผ่นดิน
แผ่นดิน แหล่งน้ำภายใน อาณาเขตทะเล และเขตเศรษฐกิจทั้งหมดในอาร์กติกอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลของรัฐรอบอาร์กติกทั้งหมด 8 รัฐ คือ แคนาดา ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ รัสเซีย สวีเดน สหรัฐอเมริกา และเดนมาร์ก (ผ่านกรีนแลนด์) เมื่อ 15 ธันวาคม 2014 เดนมาร์กได้ส่งข้อมูลไปยังคณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยขอบเขตของไหล่ทวีป โดยระบุว่าพื้นที่ก้นทะเลในมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งเท่ากับ 895,000 ตารางกิโลเมตรเป็นส่วนขยายของไหล่ทวีปของกรีนแลนด์ ดังนั้น เดนมาร์กเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในดินแดนนี้
ข้อเสนอของเดนมาร์กนี้ถูกโต้แย้งโดย “แคนาดา” และ “รัสเซีย” การสูญเสียเขตน่านน้ำกรีนแลนด์หมายถึงการสูญเสียพื้นที่ส่วนใหญ่ที่สหภาพยุโรปเข้าถึงได้ และทำให้เดนมาร์กสูญเสียโอกาสใดๆ ด้วยเช่นกัน
หากทรัมป์กลับมามีอำนาจอีกครั้งในสหรัฐฯ ปัญหากรีนแลนด์จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างแน่นอน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการพิจารณาทางเลือกในการไม่ซื้อเกาะนี้โดยอเมริกา แต่ “การเช่าระยะยาว” เป็นทางเลือกหนึ่งที่อเมริกาพิจารณาไว้อยู่ ซึ่งหากทรัมป์เข้ามาสมัยที่สองได้จริงเรื่องนี้ก็น่าจะกลับมาทบทวนและพูดคุยกันต่อ
ส่วนทางฝั่ง “รัสเซีย” เองนั้นมองว่า ชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในกรีนแลนด์ไม่ต้องการให้เกาะนี้กลายเป็นอาณานิคมของอเมริกา ดังนั้นรัสเซียจึงใช้โอกาสสนับสนุนพวกชนพื้นเมืองผ่านความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับจีนที่มีเข้ามาลงทุนในแร่แรร์เอิร์ธอยู่ก่อนแล้วนั่นเอง
1
บทความเพิ่มเติมที่ทางเพจได้เคยลงไว้เกี่ยวกับ “ภูมิภาคอาร์กติก – การแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ สหรัฐฯ กับ รัสเซีย+จีน” ตามลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right Style
25th Aug 2024
2
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: ILLUSTRATED BY NADIA RADIC, SOURCE: NF/AFP VIA GETTY IMAGES>
โฆษณา