26 ส.ค. เวลา 11:55 • ไลฟ์สไตล์

ประกันชีวิต กับสิทธิลดหย่อนภาษี

เราได้กล่าวถึงประโยชน์ของประกันชีวิตเพื่อช่วยในการถ่ายโอนความเสี่ยงไว้แล้วในบทความก่อน
ซึ่งนอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ประกันชีวิตยังสามารถนำมาใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย โดยแบ่งเป็น2ส่วน คือ
  • ​ส่วนแรกสำหรับกรมธรรม์ประกันชิวิตที่มีกำหนดสัญญา 10 ปีขึ้นไป สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจริงไม่เกิน 100,000บาท (รวมสัญญาประกันสุขภาพ) ซึ่งอาจเป็นประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนคงที่ตามระบุในสัญญา หรือ ประกันชีวิตแบบ Universal life ที่เพิ่มการลงทุนตามแบบที่บริษัทเลือกให้ ทำให้มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น แต่ก็มีโอกาสขาดทุนได้เช่นกัน ส่วนประกันชีวิตแบบ Unit-linked ที่สามารถปรับพอร์ตการลงทุนเองได้นั้น สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้เฉพาะส่วนเบี้ยประกันชีวิตเท่านั้น
  • ​ส่วนที่2 เป็นประกันชีวิตแบบบำนาญที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนจากเบี้ยประกันได้อีก ซึ่งสิทธินี้จะนำไปหักรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอื่นๆ (กบข., กอช.,PVD, SSF, RMF)รวมแล้วไม่เกิน 500,000 บาทดังนั้นการเลือกประกันบำนาญควรศึกษาให้ดี เปรียบเทียบโดยยึดตามความเสี่ยงที่เรารับได้ หากต้องการผลตอบแทนที่แน่นอนสม่ำเสมออาจเลือกเป็นประกันบำนาญ (ผลตอบแทน 2-3%) แต่หากรับความเสี่ยงการลงทุนได้ และมีความรู้เพียงพอที่จะบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าก็อาจไม่จำเป็นต้องทำประกันในส่วนนี้
อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องคำนึงเสมอเวลาทำประกัน คือ เงื่อนไขของประกันชีวิต โดยเฉพาะประกันบำนาญที่มักระบุเงื่อนไขความคุ้มครองชีวิตที่จะลดลงเรื่อยๆเมื่อถึงอายุที่เริ่มรับบำนาญ และความคุ้มครองมักจะหมดลงหลังจากปีที่ 10 จึงเกิดช่วงเวลา 3-5ปี ที่ผลตอบแทนจากเงินบำนาญอาจไม่คุ้มกับเบี้ยประกันที่จ่ายไป ดังนั้นเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเราเอง จึงควรเทียบสัญญาของบริษัทประกันหลายๆเจ้า เพื่อหาเงื่อนไขที่ดีและเหมาะสมกับเรามากที่สุดก่อนทำสัญญา
โฆษณา