Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
T
Ton Jiratouch
•
ติดตาม
27 ส.ค. 2024 เวลา 08:24 • การศึกษา
กฎหมายอาญาน่ารู้ : คนไร้ความสามารถดำเนินคดีอาญาได้อย่างไร
บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกันตามกฎหมาย ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีสถานะ เพศสภาพ บุคลิกภาพหรือรูปร่างอย่าไร อันนี้เป็นเรื่องพื้นฐานในเรื่องของความเสมอภาคและเท่าเทียม
เพียงแต่อาจมีบุคคลบางกลุ่มที่กฎหมายจะเข้ามาให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษ เพื่อมิใด้สิทธิของบุคคลนั้นต้องถูกกระทบกระเทือน
หนึ่งในนั้นคือ คนไร้ความสามารถ
คนไร้ความสามารถ คือ คนวิกลจริตที่ไม่ดูแลหรือช่วยเหลือตนเองได้ อาจเป็นคนที่สติสัมปชัญญะไม่สมประกอบ หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งตามกฎหมายกำหนดไว้ว่า บุคคลลักษณะนี้จะไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆได้เลย โดยจะมีผลตกเป็นโมฆียะ ซึ่งจะต้องให้ผู้อนุบาลเข้ามาทำนิติกรรมแทน
เช่น คนไร้ความสามารถจะไปซื้อรถยนต์เองไม่ได้ ซึ่งส่งผลให้สัญญาซื้อขายรถยนต์นั้นมีผลตกเป็นโมฆียะ กล่าวคือ สัญญาซื้อขายรถยนต์จะมีผลสมบูรณ์อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งจนกว่าผู้อนุบาลจะทำการบอกล้างหรือให้สัตยาบัน หากมีการบอกล้างสัญญานั้นก็จะมีผลเป็นโมฆะ เสมือนหนึ่งสัญญานั้นไม่เคยเกิดขึ้นมาเลย ขณะที่หากผู้อนุบาลให้สัตยาบัน สัญญานั้นก็จะมีผลสมบูรณ์ บังคับได้ตามกฎหมาย
ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจาก คนไร้ความสามารถจำต้องให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษ หากปล่อยให้เค้าใช้สิทธิโดยลำพังอาจทำให้เค้าต้องเสียหายไม่เฉพาะแต่ตัวของคนไร้ความสามารถเอง แต่อาจรวมไปถึงทายามของคนไร้ความสามารถด้วย
ทั้งนี้ แล้วถ้าหากว่า คนไร้สามารถตกเป็นผู้เสียหาย เราจะทำอย่างไร
เช่น คนไร้ความสามารถถูกทำร้ายร่างกาย คนไร้ความสามารถจะดำเนินคดีอาญาไ้ด้ด้วยตนเองหรือไม่
ประเด็นนี้ หากตอบโดยสรุปทันที ก็จะเห็นว่า "ไม่ได้"
แต่่คำว่า .ไม่ได้" ในที่นี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า คนไร้สามารถจะถูกทำร้ายร่างกาย ตกเป็นผู้เสียหายฟรีๆ โดยกฎหมายไม่สามารถเอาตัวคนร้ายมาลงโทษ...แบบนี้ก็คงจะไม่ใช่
เบื้องต้นนั้น บุคคลใดที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำผิดทางอาญา บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้เสียหายอย่างแน่นอน ซึ่งก็รวมถึงคนไร้ความสามารถด้วย
ดังนั้น คนไร้ความสามารถสามารถเป็นผู้เสียหายได้
แต่ด้วยสภาพทางร่างกายและ/หรือจิตใจของคนไร้สามารถ หากปล่อยได้ดำเนินคดีอาญาเช่นไป แจ้งความร้องทุกข์ หรือฟ้องคดีด้วยตนเอง ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาได้เช่นเดียวกัน
ทางออกของเรื่องนี้ กฎหมายได้กำหนดให้ "ผู้อนุบาล" เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ดำเนินคดีอาญาแทนคนไร้ความสามารถนั่นเอง
กล่าวคือ "คนไร้ความสามารถ" คือ ผู้เสียหาย
ส่วน "ผู้อนุบาล" คือ ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย นั่นเอง
แล้วผู้อนุบาลคือใคร
โดยปกติกฎหมายกำหนดให้ทายาทของคนไร้ความสามารถ อาทิ บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา รวมทั้งพนักงานอัยการ สามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลแต่งตั้นตนเป็นผู้อนุบาลได้
ไว้ตอนหน้า เราไปดูบุคคลที่ถูกจำกัดความสามารถอีกกลุ่มหนึ่งคือ "คนเสมือนไร้ความสามารถ" กัน
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา :
www.bsru.ac.th
เฟสบุ๊คสาขาวิชานิติศาสตร์ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา : LAWBSRU
เว็บไซต์สาขาวิชานิติศาสตร์ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา : LAWBSRU
https://bsru.net/profile/jiratouch-ue/
กฎหมาย
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย