Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
29 ส.ค. เวลา 03:00 • สิ่งแวดล้อม
อุทยานแห่งชาติคลองพนม
รู้หรือเปล่า.... แมงมุมใยทอง ตัวผู้ตัวเล็กกว่าตัวเมียมาก
แมงมุมใยทองท้องขนาน (Golden Orb-weaver Spider) Nephila pilipes (Fabricius,1793) ชื่อพ้อง Nephila maculata Epeira walckenaeri
ขนาด เพศผู้มีขนาดเล็กมากประมาาณ ๖-๙ มิลลิเมตร แต่เพศเมียจะมีขนาดใหญ่ถึง ๔๐-๕๐ มิลลิเมตร มีลักษณะเด่น คือ หัวและอกสีเทาอมน้ำตาลเข้มขนสีขาว ท้องรูปทรงกระบอกยาว สีดำมีลายขีดสีเหลืองขนาดใหญ่ 2 ขีดอยู่ตรงกลางขนานไปตามความยาวของท้อง
มักถักใยขนาดใหญ่ตามแนวดิ่งระหว่างไม้ยืนต้น หรือไม้พุ่ม แมงมุมมักเกาะตรงกลางของใย เมื่อถูกรบกวนแมงมุมจะไต่ไปตามเส้นใยและหลบภัยในใบไม้หรือในพุ่มไม้
อาศัยอยู่ในสวนผลไม้ สวนยางพารา ป่าละเมาะ พบในป่าแทบทุกประเภท โดยการแพร่กระจายในประเทศไทยพบทุกภาคของประเทศ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ศรีลังกา ปาปัวนิวกินี พม่า ออสเตรเลียเหนือ
ข้อมูลจาก :
http://www.thai-nec.org/nephila_thailand.html
#อุทยานแห่งชาติคลองพนม #เส้นทางศึกษาธรรมชาติ #กรมอุทยานแห่งชาติ #แมงมุมใยทอง #แมงมุม
สัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติ
สื่อทางเลือก
บันทึก
4
2
4
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย