29 ส.ค. เวลา 01:00 • ธุรกิจ

❌ อย่าเป็น "ร้านข้าวมันไก่" 🐔 ที่ลูกค้าบอกว่า "ข้าวหมูแดง" อร่อยกว่า!!

แฟนแบรนด์อาจสงสัยกับชื่อคอนเทนต์วันนี้ว่า.. "ร้านข้าวมันไก่, จะมีเมนูข้าวหมูแดงที่รสชาติอร่อยกว่าได้ยังไงกัน?" แต่ถ้าทุกคนลองนั่งคิดทบทวนดูดีๆ อพ. (ออ-พอ) เชื่อว่า.. หลายคนน่าจะเคยมีประสบการณ์ที่เราเข้าใช้บริการร้านอาหาร เพราะอยากกินเมนูอาหารที่ถูกตั้งเป็นชื่อร้านดูสักครั้ง แต่พอลองเข้าไปสั่งเมนูอาหารตามชื่อร้านแล้วพบว่า "รสชาติอาหารไม่อร่อยอย่างที่เราคาดหวังไว้"
เมื่อเรารู้สึกผิดหวังก็เลยเปิดใจลองสั่งเมนูอื่นๆ ดูบ้าง กลับพบว่า.. เมนูอาหารที่ไม่ใช่ชื่อร้านนั้นมีรสชาติอาหารที่อร่อยถูกปากเรามากกว่า เมื่อเราไปรีวิวบอกต่อเพื่อนฝูงคนสนิทก็แนะนำให้เขาสั่งเมนูอื่นที่อร่อยกว่าชื่อร้าน >> ถ้าพูดในมุมของลูกค้านั้นไม่ผิด เพราะลูกค้ามีสิทธิ์ที่จะเลือกสั่งหรือบอกต่อเมนูอาหารใดก็ได้ที่ตนพึงพอใจที่สุด ตรงตามประสบการณ์จริงที่ลูกค้าได้รับจากแบรนด์นั้นๆ
ในสถานการณ์นี้แบรนด์กำลังประสบปัญหาด้านการรับรู้แบรนด์ที่ดี (Brand Awareness) และเป็นปัญหาเส้นผมบังภูเขาที่พบเห็นอยู่บ่อยครั้งในกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร >> หากเจ้าของแบรนด์ปล่อยปัญหานี้ไว้ไม่รีบดำเนินการแก้ไข ผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้คงไม่ใช่แค่การถูกลดทอนความเชื่อมั่นในแบรนด์ (Brand Trust) แต่จะส่งผลกระทบต่อยอดขายและสต็อกวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับเมนูอาหารนั้นๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้!!
การขาย "ข้าวหมูแดง" ในร้านข้าวมันไก่นั้นไม่ใช่เรื่องผิด (หากเมนูนี้เป็นความต้องการของลูกค้าที่เรียกร้องจากแบรนด์เป็นจำนวนมาก) แต่การมียอดขาย "ข้าวหมูแดง" ที่สูงกว่า "ข้าวมันไก่" จนขึ้นแท่นเป็น Best Seller ปัญหานี้เจ้าของแบรนด์ควรรีบจัดการแก้ไขโดยด่วน แต่คำถามคือ? ถ้าแบรนด์ของเรากำลังตกอยู่ในสถานการณ์นี้ >> เราควรเริ่ม #ซ่อมแบรนด์ อย่างไร?
ก่อนอื่น, อพ. ขอแนะนำว่า.. เจ้าของแบรนด์ควรดึงข้อมูลในระบบหลังบ้านจากทุกช่องทางที่มีการเก็บบันทึกข้อมูลการขายเอาไว้ รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ได้นำมาพิจารณาร่วมกับการสอบถามข้อมูลลูกค้าจากพนักงานฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ที่มีการบันทึกข้อมูลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของลูกค้า รวมถึงข้อมูลจากพนักงานหน้าร้านในทุกสาขาที่มีโอกาสได้พูดคุยโดยตรงกับลูกค้า เพื่อหาข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับตัวเลขยอดขายในระบบ
ในช่วงเวลาที่เจ้าของแบรนด์ประชุมทีมกับพนักงาน ควรสอบถามในเชิงลึกให้ครอบคลุมในประเด็นต่างๆ อันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาสินค้าและบริการต่างๆ ดังนี้..
.
• ลูกค้าพูดถึงเมนูอาหารที่ขายไม่ดีว่าอย่างไรบ้าง? เช่น รสชาติอาหาร / ความสดใหม่ของวัตถุดิบ / ความสะอาด / ราคาอาหาร / ปริมาณอาหารที่ได้รับ ฯลฯ
.
• ลูกค้าพูดถึงเมนูอาหารที่ขายดีว่าอย่างไรบ้าง? เช่น รสชาติอาหาร / ความสดใหม่ของวัตถุดิบ / ความสะอาด / ราคาอาหาร / ปริมาณอาหารที่ได้รับ ฯลฯ
• ลูกค้าอยากให้แบรนด์พัฒนาสินค้าและบริการต่างๆ อย่างไรบ้าง? เช่น การพัฒนาเมนูอาหารและเครื่องดื่มใหม่ๆ / การพัฒนาการให้บริการ / การจัด Sales Promotion / การพัฒนาระบบลูกค้าสมาชิก ฯลฯ
.
• พนักงานมีความคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะอย่างไรต่อปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น? คิดว่าแบรนด์ของเรายังขาดตกบกพร่อง หรือ มีจุดอ่อนในเรื่องอะไรบ้าง? สิ่งใดที่เห็นว่าแบรนด์ของเราทำได้ดี ควรพัฒนาเป็นจุดแข็งของแบรนด์ให้อยู่เหนือแบรนด์คู่แข่งในตลาด.. เป็นต้น
สิ่งที่ยากที่สุดในขั้นตอนนี้ คือ เจ้าของแบรนด์อาจไม่กล้ายอมรับความจริงที่กองอยู่ตรงหน้าว่าแบรนด์ของตนกำลังมีปัญหา และยังดื้อรั้นที่จะขายเมนูอาหารนั้น ด้วยวิธีการเดิมๆ ไม่ปรับ ไม่เปลี่ยนอะไรให้ดีขึ้น ยังคงยึดมั่นถือมั่นว่าเมนูนี้มันดีอยู่แล้ว!! ยังไงก็จะทำแบบนี้ต่อไป!! ทั้งๆ ที่ตัวเลขยอดขายในระบบมันดิ่งลงอย่างชัดเจน
อพ. ขอแนะนำด้วยความปรารถนาดี แค่เพียงเราเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าส่วนใหญ่ที่พูดไปในทิศทางเดียวกันกับตัวเลขยอดขายที่ลดลง แล้วลองปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ๆ ที่จะทำให้ลูกค้าเปิดใจกลับมาซื้อซ้ำมากขึ้น >> จากที่เคยขายไม่ได้ หรือ ขายได้น้อย >> เกมอาจจะพลิกช่วยส่งให้ยอดขาย "ข้าวมันไก่" พุ่งแรงแซง "ข้าวหมูแดง" ได้ในที่สุด!!
#โปรดท่องจำให้ขึ้นใจ
.
ถ้าเปิดร้านข้าวมันไก่ >> ข้าวมันไก่ก็ควรอร่อยเป็นอันดับหนึ่ง >> เมื่อยอดขายข้าวมันไก่อยู่ตัวแล้ว ค่อยๆ เพิ่มเมนูใหม่ >> เมนูใหม่ที่เพิ่มเข้ามา ควรเชื่อมโยงกับเมนูเก่าให้เป็นภาพเดียวกัน กินแล้วเข้ากัน ลูกค้าเข้าใจว่าแบรนด์นี้ขายอะไร >> ไม่ใช่ว่าเปิดร้านข้าวมันไก่ แต่ดันไปเพิ่มเมนูกะเพราไก่ ก๋วยเตี๋ยวเรือ เย็นตาโฟรสเด็ด แบบนี้มันไม่ใช่แล้ว!!
อะไรที่ลูกค้ามองแล้วมันไม่ใช่ภาพเดียวกัน >> เจ้าของแบรนด์อย่าหลอกตัวเอง >> อย่าได้เพิ่มเมนูที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาทำให้แบรนด์เสียหาย >> เราทำธุรกิจร้านอาหาร ไม่ใช่ ซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ต้องมีทุกอย่างให้ซื้อ >> เพราะโลกของการสร้างแบรนด์ ไม่ใช่โลกที่ลูกค้าพูดอะไรแล้ว เราต้องยอมขายทุกอย่างตามใจ >> อย่าขายอาหารทุกอย่างที่โลกใบนี้มี >> จงขายในสิ่งที่แบรนด์ทำได้ดีที่สุดและทำดีได้นาน >> เพื่อประสบการณ์ที่ดีที่สุดของลูกค้าที่รักแบรนด์เราด้วยใจจริง
#Brandไม่ใช่Logo
⏰ ติดตามได้ทุกวัน / เวลา 8.00 น.
.
นำเสนอข้อเท็จจริงเรื่อง #การสร้างแบรนด์
เปลี่ยนความเข้าใจผิด ฝึกให้คิดใหม่ ทำใหม่
ด้วยบทวิเคราะห์ที่คุณ #เข้าใจง่ายใช้ได้จริง
สำหรับธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม และ เกษตรกรรม
.
✩✩✩✩✩✩✩✩✩✩✩✩✩✩✩✩✩✩✩✩✩✩
.
BRANDFIXER🔧นักซ่อมแบรนด์ธุรกิจอาหาร
Future Food Branding For Sustainability
ซ่อมเพื่อสร้างและพัฒนาแบรนด์ไทยให้ยั่งยืน
.
#Brandfixer #นักซ่อมแบรนด์
#ซ่อมเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
#Food #Beverage #Agriculture
Creative • Branding • Marketing • People
โฆษณา