28 ส.ค. เวลา 04:32 • สิ่งแวดล้อม

วิกฤตกรุงเทพฯ จมน้ำ: แก้ได้ ต้องเริ่มตอนนี้

“การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมจะนำไปสู่ความขัดแย้งแน่ แต่ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ไม่อาจบิดเบือนได้”
3
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประธานกรรมการบริหารและที่ปรึกษาด้านการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศและความเสี่ยงภัยพิบัติ FutureTales LAB by MQDC กล่าวในการสัมภาษณ์หัวข้อ “วิกฤตกรุงเทพฯ จมน้ำ: แก้ได้ ต้องเริ่มตอนนี้”
6
ในปัจจุบัน กรุงเทพมหานครมีความเปราะบางต่อภัยพิบัติน้ำสูงเป็นอันดับที่ 9 ของโลก โดยเฉพาะจากปัญหาระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้พื้นที่เมืองหลายส่วนตกอยู่ในความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่โดยรอบที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง ปัจจุบันพื้นที่บางส่วนตามโฉนดที่ดิน เช่น บางขุนเทียน สมุทรปราการ และสมุทรสงคราม เป็นต้น กลายเป็นพื้นที่จมน้ำไปแล้ว
2
ในปี ค.ศ. 2030 มีการคาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยจะเพิ่มสูงขึ้นอีก 10 เซนติเมตร ในอีก 30 ปีข้างหน้า ระดับน้ำอาจเพิ่มขึ้นอีก 30 - 50 เซนติเมตร ส่งผลให้เขตบางขุนเทียนจมน้ำ ในอีก 80 ปีข้างหน้า ระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้นถึง 1.8 เมตร ซึ่งหมายความว่าภายในปี ค.ศ. 2100 หลายพื้นที่ในกรุงเทพ เช่น พระราม 2 อาจหายไป
4
อย่างไรก็ตาม การย้ายเมืองหลวงไม่ใช่คำตอบของประเทศไทย ถึงแม้ว่ากรุงเทพมหานครและ จาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย จะต้องเผชิญกับระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นในอัตราใกล้เคียงกัน แต่จาร์กาตามีอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินสูงกว่ากรุงเทพถึง 10 เท่า ทำให้จาร์กาตาจำเป็นต้องตัดสินใจย้ายเมืองหลวง อย่างไรก็ตาม สำหรับกรุงเทพ การย้ายเมืองหลวงเป็นเรื่องยาก เนื่องจากมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานไปมาก และมีสถานที่สำคัญจำนวนมาก
ณ เวลานี้ มีมาตรการ 4 ทาง ที่จำเป็นต้องตัดสินใจ ว่าจะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพอย่างไร:
1. ไม่ดำเนินการใด ๆ ปล่อยให้น้ำท่วมเมือง และให้ประชาชนย้ายไปใช้ชีวิตบนชั้นสองของอาคาร
2. ยกคันดินริมถนนภายในเมืองให้สูงขึ้นอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อกั้นน้ำ แต่เสี่ยงต่อการทำให้เมืองกลายเป็นพื้นที่แอ่งกระทะหรือพื้นที่ความเสี่ยงน้ำท่วมสูงในอนาคต โดยในปัจจุบัน เขตพื้นที่ เช่น บางกะปิ รามคำแหง พระรามเก้า เป็นต้น ยังไม่ถูกน้ำท่วมเพราะมีคันถนนกั้นไว้
1
3. สร้างกันชนหรือคันดินสีเขียวในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เช่น ป่าชายเลนขนาดใหญ่ เป็นต้น โดยการเวนคืนที่ดินที่จมน้ำแล้ว
4. สร้างคันดินถาวรปิดปากอ่าวจากพัทยามาชะอำ
โดยปกติ การดำเนินการเพื่อรับมือวิกฤตน้ำท่วมเมืองใช้เวลาเฉลี่ย 30 ปี อ้างอิงจากกรณีศึกษาในต่างประเทศ หมายความว่า หากผู้มีอำนาจไม่ตัดสินใจในวันนี้ การแก้ปัญหาไม่ว่าวิธีใดก็ตาม จะสายเกินไป
2
ติดตามความเสี่ยงภัยพิบัติน้ำรายพื้นที่นับจากวันนี้ไปจนถึงปี ค.ศ. 2100 ด้วยแพลตฟอร์มข้อมูลสาธารณะ โดย FutureTales LAB by MQDC และ ESRI Thailand ได้ที่ www.urbanhazardstudio.com
ติดต่อเพื่อจัดอบรมหรือบริการที่ปรึกษาเพื่อสุขภาวะ ความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และการรองรับต่ออนาคต: contact@futuretaleslab.com
1
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก www.futuretaleslab.com หรือติดตามที่ https://www.blockdit.com/futuretaleslab
#FutureTalesLAB #FuturePossible #FutureUpdate #FutureofSustainability #Resilience #MQDC
โฆษณา