28 ส.ค. เวลา 22:04 • ไลฟ์สไตล์
ตามเงื่อนไขทั้งหมดที่บรรยายไว้ กรณีที่ดีที่สุดคือ "เขาต้องยอมรับฟังเราก่อน" นะคะ
ถ้าเขายอมฟัง เราก็ใช้หลักการเดียวกันกับ "การให้คำปรึกษา" ในเรื่องอื่นๆทั่วๆไปนั่นล่ะค่ะคือ ชี้ให้เห็นสภาพการณ์ตามความเป็นจริง (facts & info) → ระบุปัญหา → ระบุผลกระทบ → เสนอแนะทางเลือกต่างๆที่มี → ลงรายละเอียดในแผนปฏิบัติ → ประเมินผลเป็นระยะๆ
ปัญหาและผลกระทบ จัดเป็น "คาดการณ์" ส่วนทางเลือกและแผนปฏิบัติ ก็เป็นข้อเสนอแนะจากเรา พึงบอกและย้ำกับตัวเองแบบนี้ก่อนนะคะ เขียนแปะไว้บนหน้าผากตัวเองยิ่งดี 555 คนอื่นจะฟัง-ไม่ฟัง เชื่อ-ไม่เชื่อ ปฏิบัติ-ไม่ปฏิบัติ เราไม่เอาอารมณ์ความรู้สึกของเราไปผูกค่ะ เราเพียงให้ข้อมูลและชี้แนะ แต่ไม่ไปตัดสินหรือเจ้ากี้เจ้าการคนอื่นนะคะ
ย้อนกลับไปอ่านย่อหน้าที่ 2 อีกรอบค่ะ อยากย้ำว่าในเรื่องใดๆก็ตามที่เราจะไปแนะนำคนอื่น ตัวเราควรต้องรู้ให้จริงในสิ่งนั้นเสียก่อน แล้วจึงค่อย approach อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ความคิดเห็น-ความหวังดี เก็บไว้ก่อนนะ เอาความรู้มานำค่ะ
ฝั่งตัวเราเอง ต้องเตรียมตัวให้ครบทั้งกระบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ "ทางเลือกและแผนปฏิบัติ" ซึ่งตามโจทย์ของกระทู้นี้ "การใช้ชีวิตในวัยบั้นปลาย" ครอบคลุมอะไรบ้าง นั่งลิสต์ออกมาก่อน แล้วจัดลำดับจากง่ายไปยาก
1
ดุ่ยๆเข้าไปคุย เอาแต่ชี้ปัญหา แต่ไม่มีข้อเสนอแนะ-ทางเลือก-แผนปฏิบัติ อาจจะเสียเวลาเปล่าๆผู้อาวุโสอาจจะไม่รับฟัง อีกทั้งถ้าสว.ฟังแล้ว react อาจทำเป็นเฉย ไม่ตอบสนอง ก็ให้เวลาเขาไตร่ตรอง ไม่ต้องกดดันหรือเร่งรัดเขานะคะ
1
โฆษณา