29 ส.ค. 2024 เวลา 05:13 • หุ้น & เศรษฐกิจ

📌วาทกรรมฉายซ้ำ “ไม่มีโรงหนัง = เหลื่อมล้ำ” ?

จากกระแสในเฟสบุ๊คช่วงนี้ที่พูดถึงเรื่อง 9 จังหวัดที่ไม่มีโรงหนัง ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ตราด ชัยนาท นครนายกนราธิวาส บึงกาฬ ปัตตานี อำนาจเจริญ และอุทัยธานี โดยเชื่อมโยงไปถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า เราสามารถสรุปว่าการไม่มีโรงหนังเป็นความเหลื่อมล้ำได้จริงหรือ?
หากลองมาดูราคาตั๋วหนัง จะพบว่าในโรงหนังปกติ ราคาโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 100 - 250 บาท ขึ้นอยู่กับประเภทโรงหนัง สถานที่ตั้ง หรือรอบฉายของโรงหนังนั้นๆ
1
ถ้าเราใช้เลนส์ความเหลื่อมล้ำตัดสินเรื่องนี้ เราอาจจะมองได้ว่า เป็นเพราะค่าแรงขั้นต่ำของคนในจังหวัดนั้น ๆ อาจไม่เพียงพอให้คนเสพความสุขจากการดูหนังในโรงหนังได้มากพอ เมื่ออุปสงค์มีน้อย จึงไม่มีใครกล้าเสี่ยงไปตั้งโรงหนังในแถบนั้นหรือเปล่า?
แต่การคิดเช่นนี้ก็ไม่ถูกต้องซะทีเดียว
เพราะหากเราลองหยิบค่าแรงขั้นต่ำของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นจังหวัดที่ไม่มีโรงหนัง พบว่ามีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 340 บาทต่อวัน
ในขณะที่จังหวัดยะลา เป็นจังหวัดที่ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 330 บาท และติดอันดับจังหวัดที่ยากจนที่สุด 10 อันดับแรกเสียด้วยซ้ำ แต่กลับมีโรงหนังถึง 2 แห่ง คือ Coliseum Cineplex และโรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์สาขา บิ๊กซี ยะลา นอกจากนี้ยังมีโรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟ ซีเนม่า ที่จะเปิดสาขาใน โลตัส ไลฟ์สไตล์ มอลล์ ยะลา อีกด้วย
ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว สะท้อนให้เห็นว่า เรื่องของค่าแรงขั้นต่ำนั้นอาจจะไม่ได้เป็นปัจจัยสะท้อนการตั้งโรงหนังเสมอไป แต่ว่าอาจจะเป็นปัจจัยในแง่ของธุรกิจ ไลฟ์ไตล์ของคนในพื้นที่ การกระจายตัวของประชากรในพื้นที่ หรือการที่พื้นที่ดังกล่าวอาจอยู่ใกล้กับหัวเมืองใหญ่ในระยะที่สามารถเดินทางไปได้ง่ายๆ เพราะโดยปกติแล้วคนไม่ได้ตั้งใจไปโรงหนังเพื่อดูหนังเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการหาสถานที่เดินช้อปปิ้ง พักผ่อนหย่อนใจ กินอาหารกับครอบครัวด้วย
เราจึงอาจจะไม่สามารถนำโรงหนัง มาเป็นดัชนีชี้วัดความเจริญของจังหวัดนั้นๆ ได้ หรือด่วนสรุปว่าเป็นเพราะความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งในปัจจุบัน หลายๆ คนเริ่มหันมาดูหนังผ่านทางแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งแทนแล้ว ทำให้การมีโรงหนังก็อาจจะไม่ใช่ความบันเทิงที่จำเป็นเสมอไป
 
Reference: อัตราค่าแรงขั้นต่ำปี 2567, กระทรวงแรงงาน
1
โฆษณา