29 ส.ค. เวลา 05:21 • ข่าว

เจ้าหนี้เดือด บุกแทงคอ CEO เลือดสาดกลางศาล

หลังบริษัทคริปโตล้มละลายทำเงินลูกค้าสูญกว่าพันล้านเหรียญ
"ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย" อาจเป็นวลีล้อเลียนขำๆ สำหรับคนเคยรวยจากการกู้ยืมเงินคนอื่น จนมีแต่หนี้มากกว่าทรัพย์สินและไม่มีปัญญาจะจ่ายคืน
1
แต่สำหรับเจ้าหนี้ เป็นคำพูดที่ขำไม่ออก เพราะคนที่ทำมาหาเงินเก็บ ลำบากสาหัสกว่าคนเอาเงินเราไปใช้อยู่แล้ว และบ่อยครั้งที่ความแค้นก็แปรเปลี่ยนเป็นแรงจูงใจด้านมืด ที่ไม่อาจยอมความได้
คดีสะเทือนศาลล่าสุดนี้ เกิดขึ้นที่เกาหลีใต้ เมื่อวันพุธ (28 สิงหาคม 24) ที่ผ่านมา ที่ศาลแขวงกรุงโซลใต้ เกิดเหตุชุลมุนขึ้น เมื่อนาย คัง (นามสมมติ) ได้ใช้มีดพกที่แอบลักลอบเข้ามาในศาล บุกเข้าแทง นาย ลี หรือ ฮิวโก้ ฮยังซู ลี CEO เจ้าของบริษัท Haru Invest บริษัทผู้ให้บริการแพลทฟอร์ทซื้อขาย กู้ยืมเงินดิจิทัล
2
โดย Haru Invest ถูกยื่นล้มละลายไปเมื่อช่วงกลางปี 2023 ในขณะที่เงินลูกค้า และนักลงทุนกว่า 1.4 ล้านล้านวอน (ประมาณ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ยังถูกระงับการทำธุรกรรม ไม่สามารถถอนคืนได้
จึงนำไปสู่การฟ้องร้องในคดีฉ้อโกง CEO ของบริษัทอย่างฮิวโก้ ลี ที่ถูกจับกุมตัวในเดือนกุมภาพันธ์ของปีนี้ ซึ่งก็ได้ไต่สวนในศาลชั้นต้นไปแล้ว โดยในห้องพิจารณาคดีมีลูกค้า นักลงทุนผู้เสียหายมาร่วมฟังคำพิจารณาอย่างคับคั่งจนเต็มห้อง
แต่คดีความไม่จบง่ายๆ เพราะ CEO ลี อ้างว่าเงินมากกว่าครึ่งหนึ่งไม่ได้อยู่ในเกาหลีใต้ แต่ถูกโยกไปลงทุนในเงินคริปโตที่ต่างประเทศ ทำให้กระบวนการบังคับคดีเพื่อชดใช้หนี้ และติดตามช่องทางการเงินในต่างประเทศต้องใช้เวลาอีกนาน
1
ซึ่ง เจ้าของบริษัท Haru Invest ที่ยืมเงินชาวบ้านมาลงทุนนั้นรอได้ แต่ไม่ใช่กับเจ้าหนี้บางคน ที่ถึงขั้นโกรธจะขาดสติ ใช้มีดพกขนาด 5 เซนติเมตร พุ่งเข้าแทงที่ลำคอของ นาย ฮิวโก้ ลี หลายครั้ง จนเลือดพุ่ง สาดที่นั่งจำเลยจนแดงฉาน ทำเอาแตกตื่นไปทั้งศาล
2
สุดท้าย เจ้าหน้าที่ศาลต้องยุติการพิจารณาคดีชั่วคราว เพื่อนำตัวจำเลยส่งโรงพยาบาล และตอนนี้มีรายงานว่าอาการปลอดภัยดีแล้ว ส่วนนายคัง ผู้ก่อเหตุ ถูกจับกุมไปตามระเบียบ ต้องไปสงบสติอารมณ์ในคุก เปลี่ยนสถานะจากโจทย์ผู้เสียหาย กลายเป็นจำเลยทันที ในคดีที่ต่างกรรม ต่างวาระกัน
เรื่องราวของ Haru Invest แทบไม่ต่างจากมหากาพย์บริษัทลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ล้มละลายไปก่อนหน้านั้นมากนัก จากการจับกระแสการตื่นเงินคริปโตเมื่อ 4-5 ปีก่อน ทำให้สามารถชักชวนสมาชิกมาร่วมลงทุนในกองทุนเงินดิจิทัลต่างประเทศ ได้กว่า 1.6 หมื่นคน ด้วยการขายฝันว่าจะได้ผลตอบแทนจากเงินลงทุน 12% ต่อปี ซึ่งมากกว่าออมเงินในกองทุนความเสี่ยงต่ำของธนาคารหลายเท่า
และตั้งแต่ที่บริษัทได้เปิดระดมทุนในเดือน มีนาคม 2020 - มิถุนายน 2023 เป็นต้นมา มีเงินลงทุนไหลเข้าบัญชีบริษัทสูงถึง 1.4 ล้านล้านวอน แต่แล้วก็เกิดความผิดปกติบางอย่าง บริษัทประกาศยุติการทำธุรกรรมชั่วคราว จากชั่วคราวกลายเป็นไม่มีกำหนดด้วยข้ออ้างความผิดพลาดทางเทคนิค
3
สัญญาณหายนะเริ่มชัดเจนเมื่อบริษัทปลดพนักงานออกทันทีกว่า 100 คน ปิดทุกช่องทางการติดต่อถึงบริษัท แม้แต่ช่องทางออนไลน์ และ โซเชียลมีเดีย ก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ ข่าวคราวของผู้บริหารหลักก็ขาดหายไปพร้อมเงินดิจิทัลในบัญชีของลูกค้า
2
ไม่ต้องสงสัยเลย นี่คือการ "Rug pull" เทลูกค้าและหอบเงินหนีหายเข้ากลีบเมฆ ทิ้งไว้แต่เพียงรหัสเข้าวอลเล็ทส่วนตัวที่ทำธุรกรรมไม่ได้
และดูเหมือนว่า ตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา ถือเป็นวิกฤติฟองสบู่คริปโตแตกอย่างแท้จริง เมื่อ แพลทฟอร์มเทรดเงินดิจิทัลยักษ์ใหญ่ หรือ ผู้ให้บริการสินเชื่อเงินดิจิทัลผลตอบแทนสูงหลายราย ต่างทยอยล้มละลายกันเป็นลูกระนาด ตั้งแต่ FTX โดยผู้ก่อตั้ง Sam Bankman-Fried ที่ตอนนี้ถูกศาลตัดสินจำคุกถึง 25 ปีในสหรัฐ จากคดีฉ้อโกง ฟอกเงิน รวม 7 คดี ที่มีมูลค่าความเสียหายมากกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญ
1
นอกจากนี้ยังมีบริษัทคริปโตรายย่อยอีกไม่น้อย อาทิ Celsius, Voyager Digital, Babel Finance, CoinFlex และ BlockFi ที่ต่างปิดระบบ ระงับการถอนเงิน ก่อนจะระเบิดตัวเองด้วยการยื่นฟ้องล้มละลายในเวลาต่อมา
เช่นเดียวกับ กรณีของ Haru Invest ในวันนี้ ที่ CEO เกือบสิ้นชื่อคาศาล ด้วยความแค้นคลั่งของนักลงทุน ที่สูญเงินไปกับคำโฆษณาขายฝันของบริษัท เพื่อที่จะมาฟังคำแก้ตัวในศาลว่า "ไม่มี ไม่หนี แต่เงินจ่ายตอนนี้ไม่รู้อยู่ไหน"
1
นับเป็นหนึ่งในความเสี่ยง (สูง) ของนักลงทุนตามกระแส ที่มาไว แต่ตอนไปไวกว่า ไวจนยังไม่ทันได้ศึกษา เงินก็หายเสียแล้ว
****************
ติดตามบทความของ "หรรสาระ" เพิ่มเติมได้ที่
Facebook - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
Twitter - @HunsaraByJeans
Blockdit - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
แพลทฟอร์มคุณภาพ ไม่ปิดกั้นการมองเห็นเนื้อหา
****************
แหล่งข้อมูล
โฆษณา