29 ส.ค. เวลา 07:54 • ปรัชญา
เรื่องจะเข้าไปหาธรรม เรื่องราวของรอยทั้งสี่ ปกติคนเรานั้นใช้กิริยา ยืน เดิน นั่ง นอน นั่น สร้างกรรมอะไร ใช้มือทำอะไร ให้ปากส่งวาจาทำอะไร นั่งทำอะไร ..ทำการทำงาน นั่งด่า นั่งบ่น ติเตียน นอน ..ก็นอนทำอะไร นอนเจ็บนอนป่วย ..เป็นเรื่องราวกิริยาของผู้ที่มียังมีอารมณ์กรรม มีความโลภโกรธหลงอยู่ เราจึงต้องมาใช้กาย ..ยืน เดิน นั่ง นอน ..อยู่กับอารมณ์กรรมที่ปรุงแต่ง ใช้กิริยากายวาจาใจ มีอารมณ์พอใจไม่พอใจ ตัณหาราคะต่างๆ
คราวนี้ เราจะไม่ใช่กิริยาทั้งสี่ไปสร้างกรรม เราก็นำกาย ..นั่นมาเดินอยู่ในรอยของพระ ฝึกหัด ยืน เดิน นั่ง นอน ..ทำจิตเฉยๆ เมื่อเฉยๆไม่ได้ เพราะอารมณ์มันกวน ก็ภาวนาพุทโธขึ้น ..เมื่อเราเดืนยืนเดินนั่งนอน ..ไม่นึกคิดอะไรเลย ..ได้ ..ตรงนี้ แหละ ที่เรียกว่า กายของพระ จิตของพระ จะเกิดขึ้น ..คราวนี้ พอเราออกจากการประพฤติปฏิบัติธรรม ..อารมณ์มันก็เข้ามา ..เราก็ต้องมีกรรม ด้วยอารมณ์ที่ปรุงแต่งขึ้นมา
นั่นก็คือ เมื่อจะเข้าไปพระ เข้าไปหา ..พระ ที่ท่านก็มีกิริยายืนเดินนั่งนอน ไม่มีอารมณ์บรุุแต่ง มีแต่จิตที่มีธรรม ..เราเข้าไปหา ด้วยอาศัยกิรยาของพระ ..นำมาปฏิบัติประพฤติ เดินตามรอยท่านไป ..เพื่อที่จะไปหาจิตของผู้ที่มีธรรม ..เรื่องราวขันธ์ห้า ที่ไม่เที่ยง เป็นขันธ์ของกรรม ก็ปลดเปลื้องออกไป ปลดเปลื้องแล้ว เรื่องขันธ์ห้าที่เป็นกรรม ก็ไม่มี ..เหลือแต่ความบริสุทธิ์ผุดผ่องของจิต เป็นจิตของธรรม .
เมื่อมัวนั่งอ่าน นั่งจดจำมา .ไม่ลงมือปฏิบัติ ..จิตของเราจะเดืนไปหาจิตผู้ที่มีธรรมได้กระนั้นหรือ ถ้าเป็นอย่างงนั้นได้เจ้าชายสิทธัตถะท่านคงนั่งอ่านคำภีร์ตำรา เขียนตำรับตำราอยู่ในเวียงวัง ไม่ต้องกำแดด ตากแดดตัวคนเดียวในป่า ..การเดืนไปหาจิตของผู้ที่มีธรรม เข้าไปถึงธรรม ท่านใช้อะไรนำมาเดิน..เดินตามรอยของผู้ที่มีธรรม เข้าถึงธรรม..
โฆษณา