29 ส.ค. เวลา 23:41 • สุขภาพ
ขออนุญาตสงสัยค่ะ จขกท.อยากรู้ตัวเลขจริงๆของ OPD หรือแค่อยากบ่นว่าคนแน่นคะ
รพ.รัฐมีหลายแบบค่ะ ส่วนใหญ่สังกัดก.สา'สุข (ขึ้นตรงกับสำนักปลัดฯ) เป็นรพ.ประจำจังหวัดหรืออำเภอ ส่วนรพ.ในกรุงเทพฯสังกัดกรมแพทย์ค่ะ (เช่นเลิดสิน ราชวิถี) แล้วก็ยังมีรพ.เฉพาะทาง รพ.มหาลัย (ของคณะแพทย์ศาสตร์) ฯลฯ
รพ.มีหลายขนาด ขีดความสามารถก็ต่างกัน ที่เห็นว่าแน่นๆส่วนใหญ่คือพวกรพ.ศูนย์ฯค่ะ ซึ่งเป็นระดับตติยภูมิ (Tertiary Care)
ทำความเข้าใจเรื่องการแบ่งระดับการให้บริการก่อนนะคะ
  • ระดับปฐมภูมิ คือระดับคลีนิคหรือสถานพยาบาล (เช่นคลีนิคบัตรทอง) เบื้องต้นปชช.ก็ควรไปคลีนิคพวกนี้ก่อน
  • ระดับทุติยภูมิ รับคนไข้ที่ส่งต่อมาจากระดับปฐมภูมิ ที่แพทย์วินิจฉัยลงความเห็นว่าต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง
  • ระดับตติยภูมิ คนไข้ที่มีข้อบ่งชี้ว่าเกินขีดความสามารถของรพ.ระดับทุติยภูมิ หรือเข้าข่ายโรคยาก โรคซับซ้อน ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือแพทย์ระดับสูง เป็นต้น
ระบบสา'สุขของไทยวาง Protocol ไว้แบบนี้ แต่ในความเป็นจริง จะหนักจะเบาทุกคนก็มุ่งหน้าไปรพ.ศูนย์ฯหรือรพ.ใหญ่ๆกันหมด แล้วมันจะไม่แน่นได้ไง!!
1
ประเทศไทยระบบสา'สุขนับว่าดีมากๆเมื่อเทียบกับฐานะทางการเงินจริงๆของประเทศนะ แต่ถึงจะดีแค่ไหน ก็ไม่มีทางจะเป็นที่พึงพอใจสำหรับทุกคนหรอกค่ะ บางคนมีตังค์จ่ายไหวแต่ไม่ไปรพ.เอกชน แต่มาเบียดแย่งกันใช้ของถูกของฟรี อยากจ่ายถูกๆแต่อยากได้บริการแบบพรีเมียม
ยิ่งบัตรทองรักษาฟรี โปรโมทกันรัวๆว่ารักษาที่ไหนก็ได้ การเข้าถึงบริการสา'สุขไม่ใช่เรื่องยาก **แต่ไม่เน้นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน**
ขนาดปชช.ซึ่งไปรพ.เป็นครั้งคราวเฉพาะเวลาที่เจ็บป่วย ยังคิดว่ารพ.คนแน่น คนเยอะ แล้วงี้พวกหมอๆที่วันๆเจอคนไข้มหาศาลล้านแปด มิยิ่งฉ่ำรึ!!
โฆษณา