30 ส.ค. 2024 เวลา 03:51 • การตลาด

“Face to face with branding” แม่ฝน ยินดี

“…ถ้าประสบการณ์ดีแบรนด์ก็ดี
เพราะ Brand อยู่ใน “บทสนทนา”
มันคือเรื่องราวที่คนคุยเกี่ยวกับเรา
หน้าที่ของเราคือทำตัวเองให้ดี
ทำให้คนมีประสบการณ์ที่ดีไปพูดถึง...”
ขุ่มแม่ฝน นภนีรา รักษาสุข
Session: “Face to face with branding”
#BennOte มาจากงาน
#แม่ครับผมอยากมีแบรนด์
คยต x Yindee Design
----------------------------
ทุกโคนนน เบ็นไปงาน คยต x Yindee Design มาค่า สนุกมว๊ากกกกกกก ... เป็นงานที่ vibe ดีมาก ๆ ใกล้ชิด เข้าถึง อบอุ่น และมีความกันเองสู้งสุด ๆ (อันนี้จะเป็นเพราะเบ็นเป็นเด็กเรียนนั่งหน้าด้วยหรือเปล่าไม่รู้นะคะ 555) รู้สึกเหมือนได้แอบไปนั่งอยู่ในห้องคิดงานของคุมพ่อคิว คุมแม่ฝน และชาวเผ่า บรรยากาศน่ารัก หนุกหนาน มีทั้งคมความคิด หลักการ และ canvas กลับมาทำงาน แล้วก็ขอปันมาแชร์ให้เพื่อน ๆ ฟังได้เต็มเลยค่ะ
บาง session ทัชใจมาก อิ่มหัวใจแทนพี่คิว พี่ฝน ยิ้มตามแก้มแตกกันไปเรยยยยย งานนี้เบ็นจะพยายามแชร์ทุก session เลยนะคะ ฝากติดตามด้วยน้าค้า
ป่ะ ... เรามาเริ่ม session แรกของงานนี้ ที่ประเดิมกันด้วยแม่งาน ... พี่ฝนกันเลยค่ะ พี่ฝนมาชวนเราคุยว่า เอ๊ะ ... แบรนด์มันคืออะไรกันแน่นะ เรามีแบรนด์แล้วไหม ไอ้ที่คิดว่ามีมันใช่จริงไหม คนที่ไม่มี … ความคิดของเราเกี่ยวกะน้อนแบรนด์มันจริงหรือหยอก พี่ฝนชวนเรามานั่งเผชิญหน้าจ้องตากะ B R A N D กันค่า
🔵
brand อยู่ข้างใต้
design คือที่เห็น
ทุกวันนี้การทำงาน brand เปลี่ยนไป คน (เจ้าของ) เข้าใจมากขึ้นว่ามันไม่ใช่แค่ logo, packaging ที่จริงแบรนด์ “ลึก” กว่านั้น
🔵
Why brand? ทำทำไม?
ถ้าดูจากฝั่ง Marketing เราทำ content ยิง ads ดูตัวเลข ROAS (return of ad spend) ก็พอแล้วไหม… อันไหนได้เงิน (คุ้มค่ายิงแอด) ก็ปั้นต่อ อันไหนแป้ก ไม่ต้องง้อ ... ตายก็สร้างใหม่ได้เรื่อย ๆ ... คือ Brand มันเป็นเกมยาวอ่ะเนาะ ทำไมต้องทำ ทำแล้วจะได้เงินเมื่อไหร่
ความเป็นจริงคือคนทำ brand ต้องเก่งเรื่อง marketing ด้วยค่ะทุกคน คือเงินก็ต้องได้นั่นแหละ แต่การที่เรามีแบรนด์ที่แข็งแรงมันดีค่ะ เพราะเราจะได้ไม่ตายบ่อย ๆ 🥰
🔵
Brand คือ?
สำหรับพี่คิว (คยต) แบรนด์คือ “ความปลอดภัย” คนที่เรารู้จัก เราจะรู้สึกปลอดภัยกว่า อย่างเวลาไปเที่ยวเจอร้านกาแฟที่ไม่รู้จัก กับหันไปเจอ Luckin Coffee หรือ Starbuck เราจะรู้สึกว่าเข้า 2 ร้านนี้ปลอดภัย ได้กาแกรสชาติที่โอเครับได้แน่ ๆ ... นั่นคือสิ่งที่แบรนด์ให้เราในมุมของผู้บริโภค
สำหรับพี่ฝน … #แบรนด์คือความสัมพันธ์ ทั้งกับตัวเอง (ภายใน) และคนอื่น (ภายนอก) ดีไซน์เป็นส่วนหนึ่ง แต่จริง ๆ แล้ว brand อยู่ใน “บทสนทนา”
บทสนทนา เช่น “ขวัญใจรถยก”
ถ้าพูดประโยคนี้ แต่ก่อนคนจะคิดถึง “ฟอร์ด” เนาะ เรียกว่าโทรตามรถยกกันจนเป็นภาพจำ มี minor change หรือออกรุ่นใหม่ทีไร ผู้คนเข้าไปเม้นท์กันสนั่นว่าให้ทำอันเดิมให้ดีก๊อนนนน 555 เดี๋ยวนี้พี่ฝนลองถาม เอ้า คนคิดถึง “รถ EV” ... ก็ ... นะ
ดังนั้นไม่ว่าเราจะอยากสร้างแบรนด์ให้เป็นยังไงก็ตาม คนเค้าไม่สนใจนะคะ จงไปฟังเรื่องที่คนคุยเกี่ยวกับเรา นั่นแหละสภาพ... สภาพที่เราปรากฏในใจลูกค้า หน้าที่ของเราคือทำให้ดี ให้คนมีประสบการณ์ที่ดีไปพูดถึง ถ้าประสบการณ์ดีแบรนด์ก็ดี ถ้าประสบการณ์แย่ก็นะ ... “อะไร ... อะไร ...”
Online ก็ต้องทำประสบการณ์นะ ไม่งั้นคนจำไม่ได้ ผ่านมาเห็นหรือโดนยิงแอดก็ซื้อแค่ตอนนั้น ไม่มาซื้ออีก เพราะไม่ร็ว่าซื้ออะไรมาจากไหน ... แฮร่
ทุกคนมี brand อยู่แล้ว เพียงแต่บางคนก็ไม่ได้เอาออกมาให้คนเห็น พี่ฝนทำหน้าที่ “ขุด” มันออกมา
🔵
5 questions ที่เอาไว้ใช้ check list ว่าเรามีแบรนด์ละยัง?
1. ลูกค้าพูดเกี่ยวกับเราแบบที่เราอยากให้พูดไหม คือภาพที่เราอยากเป็น กับภาพที่ปรากฏในใจลูกค้ามันเหมือนกันไหม เราอยากเป็นความสุข แล้วเราใช่ความสุขไหม หรือเราเป็นความสนุก หรือเราไม่ได้เป็นอะไรเลย?
ภาพที่สร้าง กับ ร่างที่เป็น มันตรงกันไหมว่าซั่น
2. เค้าเลือกหยิบสินค้าเราเพราะ “ต้องเป็นเรา” ละเปล่า หรือเค้าไม่มีทางเลือก หรือเค้าก็หยิบไปงั้นแหละ เห็นดูดี หรือไม่ได้เลยเฮ้ย ถ้าสินค้าประเภทนี้ต้องเป็นเราเท่านั้น ไม่งั้นไม่ซื้อออ
3. เราต้องใช้ราคาสู้ตลอดเลยละเปล่า
4. เค้ารักเราละยัง ... เอ๊ะ จะวัดยังไงนะ วัดจากเวลาที่เราทำอะไร content, event ใด ๆลูกค้าเราเค้า react / engage / enjoy กะเราไหม เบอร์ใด
5. เรากับลูกค้ารู้สึกว่าได้เติมเต็มคุณค่าอะไรกันมากกว่าการซื้อขายไหมนะ ... เรามี shared value ที่ลูกค้ามองหาไหม
1
ลองถามตัวเองกันดูนะคะ การมีคำถามเช็คลิสต์จะทำให้เราไม่คิดไปเองว่าเรามีแบรนด์ค่ะ เพราะ brand name, logo, packaging, design ใด ๆ = #แบรนด์ทางนิตินัย เท่านั้นนะคะ
“หัวใจ” คือ #แบรนด์ทางพฤตินัย ที่เราต้องสร้างมันขึ้นมาจากประสบการณค่ะ
🔵
give birth & be responsible
การทำแบรนด์ = การทำคลอดเด็กคนนึง ทำออกมาแล้วต้องรับผิดชอบชีวิตน้องด้วยค่ะ
1. เจ้าของ brand ก็เหมือนพ่อแม่นะคะ เราจะเริ่มสร้างแบรนด์จากความชอบส่วนตัวก็ไม่ผิด แต่อย่าให้มันนำทางขนาดนั้น มันจะออกมาบ้งเอาค่ะ เพราะเจ้าของไม่ได้มีคนเดียวน่ะเนาะ สมมติ พ่อชอบแดง แม่ชอบเขียว ต้นตระกูลชอบเหลือง แล้วอิเด็กนี่จะสีอะไร ใครจะตัดสิน >> ถามซินแส 555 ปรากฏซินแสบอกม่วง ... งามละทีนี้
2. เราควรทำ research ค่ะทุกคน พื้นฐานที่มาที่ไปจะได้แน่น >> ความชอบมันทำให้แบรนด์แกว่งได้นะคะ สมมติเราตัดสินใจตามซินแสไปละ ปรากฏว่า generation ต่อไปเปลี่ยนผู้บริหาร ผู้บริหารไม่เดชื่อเรื่องนี้ และชั้นชอบสีชมพู ... งานเข้านะคะ เปลี่ยนทุกอย่างไม่ใช่เรื่องง่ายและที่แน่ ๆ คือไม่ใช้ว่าจะราคาถูก ๆ ค่ะ
3. ดังนั้นเอาความชอบ esp. ของเจ้าของวางไว้ข้าง ๆ ก่อน แล้วคิดว่า “อะไรดีที่สุดสำหรับเด็กคนนี้” เพราะสร้างแล้ว เราต้องรับผิดชอบกล่อมเกลี้ยง เลี้ยง ดูแล ให้เป็นแบบนั้นด้วยค่ะ >> ลองคิดว่า
- หัวจิตหัวใจเค้าจะเป็นยังไง
- เราจะปลูกฝังอะไรให้เค้า
- เสื้อผ้าหน้าผมเค้าจะแนวไหน
- นิสัยเค้าเป็นยังไง
🔵
จะสร้าง brand ต้องคิดถึง 4 วงนี้ค่ะ
1. #ความเริ่ดของเรา อย่าเพ้อนะ >> ดู why, who, how, what
- why ของเรามันเริ่ดยังไง เราเกิดมาทำไมนะ มันต้องเริ่ดนะ
- who ใครในแบรนด์เราที่มันเริ่ด คุณยายชาววังเหรอ หรือเรานี่แหละที่เพิ่งกลับมาจาก NASA
- how ... know how อะไรของเราที่มันเริ่ดสะแมนแตนมั่ง
- what อะไรของเรากันนะที่เริ่ด สูตรลับโบราณพันปี แหล่งน้ำธรรมชาติที่ virgin มาก ๆ ไม่มีใครเคยไปเหยียบ
2. #POD อะไรที่ชาวบ้านทำไม่ได้เหมือนเรา (อย่า bias นะคะ หาจุดที่เป็น fact พิสูจน์ได้ ไม่ subjective)
3. #เป็นข่าวดีของลูกค้าเรา คือมีเราแล้วชีวิตเค้าดียยย์เลยแหละ
4. #Impact สร้าง impact ให้กับสังคมด้วย
ส่วนที่ซ้อนกันของ 4 อันนี้จะทำให้เกิดหัวใจของแบรนด์ และจะบอก “หัวใจ” ที่สำคัญที่สุดของแบรนด์ นั่นคือ ... #เราเท่ากับอะไร
🔵
แบรนด์เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้
เราต้องทำ research
และ focus group เยอะ ๆ นะคะ
#อย่าคิดไปเอง
🔵
เรา = อะไร
รู้แล้วเอาไปทำอะไรนะ
พี่ฝนเล่าผ่าน case study
ของร้านของฝาก “จี้ออ”
ของพี่วรรณที่ จ.กระบี่ค่ะ
(เบ็นเล่าเท่าที่จดมาทันนะคะ ที่จริงมันมีรายละเอียดเยอะมาก พี่ฝนงานละเอี๊ยดดดดด จริง ๆ ค่ะ ใครสนใจเรื่องของ “จี้ออ” ลองหาอ่านกันได้ที่เพจพี่ฝนหรือ Yindee Design ค่ะ เดี๋ยวเอามาแปะให้ใน comment นะคะ)
พี่วรรณเจ้าของร้านจี้ออมาหาพี่ฝน เพราะรู้สึกว่า packaging เชย อยากเปลี่ยน คุยกันไปคุยกันมาพี่ฝนขอลงไปดูร้าน (ไม่รู้อยากไปเที่ยวกระบี่หรืออยากไปทำงานนะคะ 555 พี่คิวแซว)
#Survey
ผลจากการสำรวจค่ะ
1. ร้านใหญ่มาก ๆ ๆ ๆ เหตุผลที่ทำร้านใหญ่คือ ... ไหน ๆ จะตั้งร้านแล้ว เอาให้มันใหญ่ไว้ก่อน คนจะได้เดินสบาย ๆ ที่เยอะ รถทัวร์จะได้มาจอดง่าย ๆ แล้วก็ขยายร้านได้ง่ายด้วยเนาะ
2. หน้าตาร้านก็ฟีลร้านขายของฝากที่เราเคยเจอเลยค่ะ ที่กว้าง ๆ เปิดโล่ง ไม่มีแอร์ หลังคาสูง ๆ หน่อย ไม่มี decoration อะไร มีชื่อร้านตัวใหญ่ ๆ
3. การวางสินค้าก็ตามสไตล์ร้านของฝากค่ะทุกคน ใส่ของแน่น ๆ เยอะ ๆ ไว้ (อารมณ์ร้านของฝากแหละ) >> เพื่อให้ได้ฟีลว่ามาแล้วจะได้ของแท้ ของถูก จากโรงงาน
4. นอกจากของฝากแล้ว ร้านพี่วรรณมีมุมเครื่องประดับ (มุกเป็นหลัก) และมีร้านกาแฟด้วยค่ะ
พี่ฝนเห็นสภาพแล้วถามว่า ... ทำร้านใหม่เลยแหมะ ระดับนี้ packaging น่าจะเอาไม่อยู่ 🥰 พี่วรรณโดนมนต์พี่ฝน อ่ะว่าไงว่าตามกัน แต่มีงบล้านเดียวนะ
#Research คือขั้นตอนการทำงานที่สำคัญมากของพี่ฝนค่ะ ผลได้ออกมาว่า
1. คนทั่ว ๆ ไป
- คนไม่รู้ว่ากระบี่ของฝากคือไรนะ มันมีด้วยเหรอ เอ๊ะ เราไปยุดยาเราซื้อสายไหม ไปคอนหวันซื้อโมจิ ไปพิดโลกซื้อกล้วยตาก มากระบราเรานึ่งถึงอะไร เราจะซื้ออะไรกลับไปฝากคนทางบ้านกันคะ?
- คนไม่รู้จักร้าน (ทัวร์มาจอดเป็นประเพณี)
- ของ “จี้ออ” อร่อยนะ แต่ไม่มีใครรู้
- ชื่อร้านอ่านว่ารัยนะ 555 อันนี้พี่วรรณเคืองมาก อ่านภาษาไทยไม่แตกกันรึ แต่มันมีความเฉพาะถิ่นค่ะ คำว่า “จี้” คนภาคอื่นจะไม่เข้าใจ ที่จริงจี้แปลพี่ค่ะ เหมือน “เจ้” จี้ออ ก็คือ เจ้ออ ... (ซึ่งเขียน เจ้ออ ก็ยังอ่านยากนะทุกคน) ภาษาเรามี สระ อือ ... คนจึงมักจะไม่ได้อานจริง ๆ แต่สมองขี้เกียจสั่งเลยว่า จื้ออ แหละ ... บางคนก็ใส่ accent อ่าน จี-อ้อ บางคนผันวรรณยุกต์ไม่ถืก กลายเป็น จี่-ออ ว่าไป
2. Research ลูกค้า … ต้องลงให้ละเอียดนะคะ ลูกค้าไม่ได้เป็นก้อนเดียวกัน ลูกค้าที่มาซื้อจริง ๆ ที่ร้าน “จี้ออ” มีกลุ่มไหนบ้าง แต่ละกลุ่มชอบอะไร ไม่ชอบอะไร มีความต้องการพิเศษอะไร เช่น คนไทย คนเอเชีย คนมุสลิม คนฝรั่ง คนกระบี่
3. Insight เพิ่มเติมจากเจ้าของ
- อยากให้คนต้องแวะ (ด้วยตัวเอง)
- อยากลดการพึงพารถทัวร์
- ไม่ได้อยากขายของอย่างเดียว อยากเชื่อมต่อกับ “ถิ่น” ด้วย นทท. ต้องเจอความกระบี่ที่ร้านจี้ออ >> อารมณ์ Disney Shop :)
- อยากให้คนกลับไปด้วยความประทับใจในกระบี่ ไม่ว่าเจออะไรไม่ดีมาในการท่องเที่ยว อยากให้ทิ้งสิ่งไม่ดีที่นี่ แล้วเก็บเอาความประทับใจกลับไป 😊
4. กระบี่มีดีอะไรนะ พบว่าเฮ้ย … นอกจากธรรมชาติและมันมีวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่ดีงามมาก ๆ ด้วยค่ะทุกคน
#Brand
ได้มาเป็น “เราเท่ากับอะไร” ของจี้-ออ
“จี้ออ = เก็บกระบี่กลับบ้าน”
bring a peace of Krabi home
(การเล่นคำว่า piece / peace น่ารักมาก ๆ ค่ะ)
ว่าแล้วก็เริ่มออกแบบการเปลี่ยนแปลงค่ะ
โดยให้แบรนด์ใหม่นี้
มีความเป็นทะเลกระบี่ 70%
และมีความเป็นวัฒนธรรม 30%
โทนสีมาจากทะเลกระบี่
องค์ประกอบมาจากทะเล + ถิ่น
หาดทราย สายลม เกลียวคลื่น ทองฟ้า
ปลา นก ผ้าปาเต๊ะ งานจีน ใด ๆ มาหมด
ออกแบบร้าน ออกแบบทุกสิ่งติง
ปรากฏว่า ...
จากงบ 1 ล้าน งอกเป็น 30 ล้าน!!!
อ่า … ทายสิคะว่า
พี่วรรณจะไปต่อหรือพอแค่นี้
ก็ไปต่อแหละเนาะ
ไม่งั้นคงไม่ได้เอาเคสมาคุยกัน
(เรื่องว่าทำไมไปต่อ
จะมีเล่าใน session ของพี่วรรณ
ในเวลาต่อมาคร่า ...)
#เปลี่ยนอะไร ... ไหนเล่า
(เล่าพอกรุบกริบเท่าที่นิ้วน้อย ๆ จะพิมพ์มาทันนะคะ แฮร่)
1. เปลี่ยน logo ให้อ่านออก … เพราะหน้าที่แรกของ logo คือแกต้อง “อ่านออก” ... พี่ฝนแยกคำให้อ่านง่ายขึ้นค่ะ จี้-ออ แล้วก็ออกแบบใหม่ให้น้องสระอี กะไม้โท กลายเป็น “นกบิน” น่ารักกกกก
2. ไม่มีของฝาก เราสร้างมันขึ้นมาค่ะ หนมมเปี๊ยะใส้ชาชัก ใส้น้ำพริกกุ้งเสียบต้องมา ออกแบบ packaging จากวัฒนธรรมถิ่น ทำขนมเค้กให้เล็กลง เพื่อให้คนซื้อไปกินบนเกาะ กินตอนดำน้ำได้ ... concept คือน้องหนมเค้กจำลองตัวเป็น “เกาะ” ออกแบบ packaging ให้มีน้องปลา น้องเต่า ว่ายวนรอบ ๆ โอ้ยยยย มีความปุ๊กปิ๊ก 😊
3. เปลี่ยนร้านกาแฟไปขายน้ำผลไม้ปั่น กาแฟมันคู่แข่งเยอะ ร้านนี้กลายเป็น signature ขายดีไปอีก
4. ร้านมุก ดีไซน์ใหม่กลายเป็นร้าน modern jewelry มีความสว่างสดใสดึงดูดสายตา
5. ปัญหาของเราเวลาแวะร้านของฝากคืออะไรคะทุกคน คือการแบกกลับเนาะ อย่ากระนั้นเลย ที่จี้-ออซื้อเสร็จส่งไปรษณีย์กลับบ้านได้เลยจ้ะ กล่อยไปรษณีย์ก็สวยม๊ากกกก นี่มันคือการ “เก็บกระบี่กลับบ้าน” จริง ๆ นะ 💖💖
#ผลเป็นไง
ทุกวันนี้ที่นี่กลายเป็นห้องรับแขกและส่งแขกของกระบี่ไปแล้วค่ะ ใครไปใครมาต้องวะ อย่าลืมว่ารถทัวร์กับคนที่แวะเอง กำลังซื้อต่างกันนะคะ นี่เป็นผลให้จี้-ออคืนทุนใน 2 ปีทั้งๆ ที่อยู่ในช่วงโควิดค่ะ
#สรุป
เราเท่ากับอะไร
ให้มากกว่าการซื้อของขายของ
แบรนด์พาโอกาสมามากมาย
เป็นหน้าเป็นตาของจังหวัด
ตอนนี้จี้-ออก้าวไปอีกเบอร์ค่ะ ทำโครงการ Ocyco (Ocean Re-alive) ร่วมกับวงศ์พาณิช
- จ้างคนท้องถิ่นเก็บขยะทะเล
- นำขยะมาทำเป็นผลิตภัณฑ์
- ขายให้คนช่วยกันดูแลโลก (อยู่กระบี่ 3 วันเรากินน้ำไป 12 ขวด ซื้อเสื้อ 1 ตัวเท่ากัยเราเอาขยะกลับออกไปจากกระบี่ทั้งหมดที่เราสร้างเลยนะ 😊)
พอเราชัดว่าเราคือกระบี่ คนที่มีจุดยืนเดียวกันจะเข้ามาหา มาชวนไปทำอะไรด้วยกัน 🥰
🔵
แต่การสร้างแบรนด์
มันต้องรอน๊านนานนะ กว่าจะเห็นผล?
คำตอบคือไม่นานขนาดนั้น
มาดูถั่วแระญี่ปุ่นกัน :)
Laco มาให้พี่ฝนช่วยทำแบรนด์ให้ผลไม้อบแห่ง พี่ฝนไป survey พบว่าเค้าเป็นเจ้าใหญ่ที่ปลูกถั่วแระญี่ปุ่นส่ง Japan / USA ของดีมากกกกก เลยชวนว่าทำแบรนด์อันนี้เหอะไหม 555 ความพี่ฝนเนาะ
ตอนแรก Laco ไม่อยากทำแบรนด์ค่ะ เพราะขายเมืองนอกก็เหนื่อยแล้ว แล้วยังเพิ่งทำส่งให้ 7-eleven ด้วย แต่พี่ฝนชวนจนอยากทำ 😊 ของมันดียยย์ ต้องมีแบรนด์
จากที่พี่ฝนเล่า ได้ lesson-learned มาดังนี้ค่ะ
1. พี่ฝนยินดีหาโจทย์ให้ลูกค้า ว่าอันนี้น่าทำกว่า ... ทำกันเถอะ :)💖💖
2. อย่าดูเผิน ๆ ดูให้ละเอียด แล้วเราจะเจอความเจ๋งของเรา อย่าง Laco เนี่ยค่ะ ตอนแรกเจ้าของก็บอกว่าถั่วแระเค้าก็ธรรมดาเหมือนคนอื่น ๆ ... เค้าทำทุกวันเนาะ เลยไม่เห็นความพิเศษของตัวเอง
แต่ที่จริงคือถั่วเค้าดีมาก ๆ ค่ะเพราะปลูกในดินที่ดี มีการควบคุมค่า PH ความชื้นใด ๆ ตามแนวญี่ปุ่น ดินดีรากเลยแผ่ได้ดีเป็นรูปพัดจิ่งปุ่งเลยนะทุกคน ได้อาหารดีน้อง edamame ของเราเลยอ้วนฟู เขียวสวย อร่อยมาก หวานมาก อุดมด้วยวิตามิน และที่นี่จะเก็บน้องในจังหวะที่พอดี น้องเลยจะมีเชฟสวย เอวคอดเป็น 4 โค้งงดงามทุกคน (ฝัก) เลย ... เนี่ยยยย วันเด้อฟุลใช่ไหมล่ะค่ะ 😊
นอกจากดูแลถั่วดีแล้ว ที่นี่ดูแลคนดีด้วยนะคะ เกษตรกรที่ทำ contract farming กับที่นี่ไม่มีเปลี่ยนใจ (crop นึงกินเวลา 6 เดือน หลังเก็บเกี่ยวเกษตรกรจะตัดสินใจได้ว่าจะทำต่อหรือจะเปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่นค่ะ) Laco มีคนมา join เยอะขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเค้าดูแลไปถึงครอบครัว มีพาไปเที่ยวญี่ปุ่น ไปดูถั่วแระที่ทำว่ามาถึงญี่ปุ่นแล้วน้องไปอยู่ตรงไหน ปลื้มมมมเนาะ เป็นเราไปเห็นถั่วที่เราปลูกกับมืออยู่ที่ซุปเปอร์ในญี่ปุ่น เราก็ปลื้มมมม
 
3. ดูตัวเองแล้วดูลูกค้าด้วย เค้าเอาไปกินยังไงซิ
4. จากนั้นไปดูดิ๊ ในตลาดมีรัยมั่ง หน้าตาเป็นไง … ของไทยเปิดให้เห็นถั่ว แต่ญี่ปุ่นปิดหมดเลยนะ น้องจะได้ไม่โดนแสงงี้ ... เราต้องต่าง เราญี่ปุ่น งั้นเราทำไม่เปิด ... ถุงปิดไม่เห็นของข้างในแบบญี่ปุ่น เพื่อความต่างด้วย เพื่อปกป้องน้องด้วย 🥰
5. เอาละ ... มาทำแบรนด์กัน
- น้องชื่อ Minnamame … แปลว่า “ถั่ว...ทุกคน” 🥰 ความหมายคือ เรากินได้ง่าย ๆ กินเรา = การรักตัวเองง่าย ๆ
- แค่นี้มันเหมือนจะดีแล้วเนาะ เราเป็นคนทำถั่วเพื่อสุขภาพ แต่ไม่พอค่ะ จะชนะต้องไปเบอร์แรงสุด >> พี่ฝนบอกให้ Laco คิดว่า “เราเป็นกระทรวงถั่วแระญี่ปุ่น” … มีหน้าที่ educate, persuade ทำให้คนมากินถั่วแระญี่ปุ่นกันเยอะ ๆ กินแบรนด์ไหนก็ได้ (ตลาดจะได้โตขึ้น) แต่ ... อ้ะเนาะ เราดีนะ กินเราเถอะ 555
- Packaging ของน้อง Minnamame ทัชใจมาก น้องเรียกให้เราหยิบ เคยเห็นถั่วแระถุงสีขาวสะอาดสะอ้าน มีน้องถั่วแระญี่ปุ่นเป็นรอยยิ้มให้เราไหมคะ นั่นแหละค่ะ Minnamame
- อย่าดูแต่หน้าซองค่ะ เพราะหลังซองพี่ฝนพาน้องถั่วไปอีกขั้น ถ้าส่อง QR ดูเราจะรู้ว่าใครปลูกน้องในถุงด้วยนะ :) Minamame ไม่ใช่ของเจ้าของ และคนกินเท่านั้น แต่เป็นของคนปลูกด้วย ทุกคนที่ปลูกน้องมาภูมิใจ มีความเป็นเจ้าของ
- การ design ว่ายากแล้ว จะขายให้เกิดยากกว่า ของดีแระน่ารักแระ แต่ขายแบบเดิม คือพี่เซลล์ไปติดต่อขอวางใน Modern Trade ไม่มีคนรับเลย มีแต่อยากให้ทำ OEM ให้ เอาไงดี
- เล่นใหญ่ใจต้องนิ่งค่ะ พี่ฝนบอกว่าให้รอจังหวะ ถ้าเราเปิดไม่ดี เราต้อง under ไปชั่วชีวิต ดังนั้นตอนเปิดตัว อย่าไปแบบขอ ต้องไปแบบขึ้นดอย spotlight ส่อง >> พี่ฝนพา Minnamame ไปออก ThaiFex คราวนี้แหละ คนมาจีบตรึมมมมม
🔵
ทำแบรนด์มันใช้เงินเยะเนอะ?
ไม่เสมอไปค่ะ ...
มาฟังเรื่องของ ร้านน้องโจ๊ก กระบี่
 
- โจทย์คือต้องการ Renovate งบไม่เกินล้าน
- พี่ฝนไปคุยไปดูแล้วพบกว่าที่นี่แข็งแรงเรื่อง “ครอบครัว” (ชื่อร้านคือชื่อลูกชายยเจ้าของค่ะ) > ดังนั้นเล่นเรื่องครอบครัวค่ะ เล่า story บันทึก 40 ปี เล่าถึงสมาชิกครอบครัว ให้สมาชิกมาอยู่ในเมนู มาเล่าเรื่องให้คนกินฟัง Logo เพิ่มครอบครัวเข้าไป ใส่ความเป็นคนน่ารัก ความกระบี่เข้าไป
- อันนี้ภาพชัด ใช้เงินไม่เยอะ และได้ใจคนเช่นกันค่ะ
🔵
ถ้าเวลาน้อยล่ะ
มาดูการออกแบบร้านชาจาก 0
ด้วยเวลา 3 เดือนค่ะ
เวลาน้อยงั้นเจ้าของเอามา 1 คำ
>> Pharell William
เจ้าของอยากให้ร้านเป็นฟาเรล วิลเลียม
กว้างไป เอาใหม่
ขอ 1 รูป inspire
พอเจ้าของส่งมา
พี่ฝนเอามา deconstruct
- Grid
- Bold color
- Strong lighting & Shadow
- Mixture of styles
Concept น้นกลายเป็น
ร้าน Gaga (crazy) ... สุดมากค่า
🔵
ถ้ามี brand อยู่แล้วล่ะ
อ่ะ ... มาดู Bonchon
พี่ฝนถามก่อนว่า
จะเป็นไก่ หรือ เกาหลี
เอาให้ชัด
Bonchon เลือกเป็นเกาหลีที่เก่งไก่
งานออกแบบจึงขยายจากความ “เกาหลี”
ไม่เป็นร้าน ขยับไปเป็นย่าน
ความ street ต้องมา
แบบนี้เป็นต้น
🔵
จะเห็นว่าการทำแบรนด์ไม่มีรูปแบบตายตัว ทำยังไง ท่าไหนก็ได้ แต่มี 3 ต้อง
#เราต้องชัดเจนว่าเราเป็นใคร
#คนที่เราเป็นเราต้องแสดงออกให้ชัด
#ต้องชัดในทุกๆช่องทางที่เรามี
สินค้าเดียวกันคนขายต่างกัน attitude ก็ต่างกัน
🔵
#จงจันทร์แจ่ม
พี่ฝนจบด้วยการฝากประโยคทองของจันทร์แจ่มไว้ให้เราเตือนตัวเองค่ะ จันทร์แจ่มตอบคำถามสัมภาษณ์ของนักข่าวที่ถามว่าประทับใจอะไรในโอลิมปิกครั้งนี้ที่สุดว่า ...
“ประทับใจที่ตัวเองอยู่เหนือดราม่าทั้งหลายได้สำเร็จ”
คือจันทร์แจ่มบอกว่าคาลิบได้รับสิทธิ์มาแข่ง เค้าจะเป็นอย่างไร เราไม่มีสิทธิ์ตัดสิน จะแพ้หรือชนะเราก็อยู่ใต้กติกาอันนั้นแล้ว สิ่งที่เราต้องทำคือทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด”
แพงงงง เนาะ ... นั่นแหละค่ะที่เราต้องทำเช่นกัน เราต้องทำตัวเองให้ดีที่สุด
จง…จันทร์…แจ่ม 🥰
------------------------
ใด ๆ ใน session นี้สิ่งที่ชอบที่สุดคือ ความใช่ ๆ ๆ ของพี่ฝน 555 เวลาพี่คิวถามหรือสรุปพี่ฝนมักตอบประโยคนี้ มันดูเข้ากํนเข้ากัน 🤣🤣🤣
ขอบคุณพี่ฝนมาก ๆ นะคะ สำหรับโอกาสให้ให้ไปแอบฟัง ประทับใจมาก ๆ เช่นที่เคยเป็นเสมอมาเวลาได้ฟังหรือได้อ่านงานพี่ฝนค่ะ วันนี้เข้มข้นไปอีกเพราะได้ไปอยู่ในบรรยากาศของคนที่พี่ฝนรัก ได้ฟังเรื่องราวของแบรนด์ที่พี่ฝันทำคลอด และได้สัมผัสหัวใจชื่นบานของคนที่รักพี่ฝนค่ะ มีอะไรที่เบ็นช่วยได้ พี่ฝนบอกได้เสมอนะคะ รักที่สุดค่า
💖💖🥰🥰💖💖
#BennOte went to
#คยต x #YindeeDesign
#แม่ครับผมอยากมีแบรนด์
#bp_ben
#KnowledgeSharing
#benji_is_learning
#benji_is_drawing

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา