Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ONE MORE LINK วันมอร์ลิงค์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม
•
ติดตาม
30 ส.ค. เวลา 04:55 • สิ่งแวดล้อม
ONE MORE LINK CO.,LTD. (บริษัท วันมอร์ลิงค์ จำกัด)
เปรียบเทียบ ปริมาณน้ำ ปี 2554 - ปี 2567 คนกรุงเทพฯ จะเจอน้ำท่วมหรือไม่
คำถามที่อยู่ในใจของคนกรุงเทพฯ หลายๆคน คือ จะเจอกับประวัติศาสตร์ซ้ำรอยกับเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 หรือไม่ ? เพราะเหตุการณ์ภาพฝันร้ายเก่าๆ ยังชัดเจนอยู่เลย แม้จะผ่านไปเป็นเวลา 10 ปีแล้วก็ตาม
แม้ความรู้สึกของใครหลายคนนั้น อาจจะมีความกลัวครอบคลุมจิตใจ แต่ถ้ามาว่ากันที่ Fact และข้อเท็จจริงนั้น คงต้องมาเจาะดูที่สถิติข้อมูลต่างๆ แล้วนำมาประกอบกันในการวิเคราะห์
ในประเด็นแรกนั้น เราลองมาดูที่ปริมาณพายุที่จะพัดเข้าใส่ประเทศไทยกันก่อน
โดยในช่วงปี 2554 นั้น สิ่งที่ประเทศไทยต้องเจอกันคือ พายุเข้าไทย จำนวน 5 ลูก ได้แก่ 1. ไห่หม่า เดือน มิ.ย. 2. นกเตน เดือน ก.ค. 3. ไห่ถาง เดือน ก.ย. 4. เนสาด ต้นเดือน ต.ค. และ 5. นาลแก ปลายเดือน ต.ค.
ในขณะที่ ปี 2567 มีการคาดการณ์ว่า ไทยจะต้องเจอกับพายุ จำนวน 1 - 2 ลูก โดย พายุหมุนเขตร้อน จะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านบริเวณภาคตะวันออก เฉียงเหนือและภาคเหนือช่วงเดือน ก.ย. และ ต.ค.
นั่นหมายความว่า ปี 2567 ปริมาณพายุจะน้อยกว่าปี 2554 ที่น้ำท่วมใหญ่
ปัจจัยที่ 2 เราลองมาดูที่ ปริมาณน้ำฝน ที่สะสมมาตลอดทั้งปี ซึ่งในปี ในปี 2554 ที่น้ำท่วมใหญ่นั้น , ฤดูฝนในประเทศไทยเริ่มต้นเร็วกว่าปกติ และมีฝนตกต่อเนื่อง
โดยไม่มีภาวะฝนทิ้งช่วง ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปี สูงกว่าปกติ 24% และมีค่ามากที่สุดในรอบ 61 ปี นับจาก พ.ศ. 2494
ขณะที่ในปี 2567 นับจากการเก็บสถิติตั้งแต่ต้นปี จนถึง 20 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา มีปริมาณฝนทั้งประเทศ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี ปริมาณฝนสะสม 934 มิลลิเมตร หรือต่ำกว่าปกติ 4 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ
นั่นหมายคววามว่า หากในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2567 หากมีฝนตกใต้เขื่อนไม่มาก การบริหารัดการน้ำก็น่าจะจัดการได้ กล่าวคือ น่าจะควบคุมน้ำที่ไหลลงมาจากทางภาคเหนือได้
ส่วนในอีกประเด็นที่หลายๆคนสนใจ และ น่าจะเป็นคำตอบที่เป็นเชิงประจักษ์มากที่สุด นั่นคือ ปริมาณพื้นที่รองรับน้ำในเขื่อน
ในปี 2554 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ สามารถรองรับน้ำได้ 4,647 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) แต่ในปี 2567 นี้ เรา ยังสามารถรองรับน้ำได้อีก 12,071 ล้าน ลบ. ม.
ดังนั้น ข้อสรุปสถานการณ์ น้ำในกรุงเทพฯ ณ เวลานี้ (28 สิงหาคม 2567) น่าจะสอดคล้องกับสิ่งที่ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวไว้ว่า ปริมาณน้ำที่ไหลมายัง กทม. โดยรวมยังไม่น่าเป็นห่วง สถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายเหมือนปี 2554 แต่ต้องไม่ประมาทและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจาก ร่องความกดอากาศต่ำยังอยู่ที่ จ.น่าน ทำให้ให้มีฝนตกลงลุ่มน้ำยมและน่านมาก ด้านน้ำ 4 ส่วนที่มีผลกระทบกับกรุงเทพฯ คือ น้ำเหนือ น้ำทะเลหนุน น้ำฝน และน้ำท่า เวลานี้ต้องเฝ้าระวังน้ำฝนมากที่สุด แต่ก็ได้เตรียมการรับมือ ทั้งขุดลอกคูคลอง ท่อระบายน้ำ เสริมคันกั้นน้ำ อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั่นเอง
CR.
https://www.springnews.co.th/keep-the-world/climate-change/852402?fbclid=IwY2xjawE8yY9leHRuA2FlbQIxMAABHbfZBHosRClGBtX2U-m4zVsWnW0sYj4hXfmbjcpY_ET0SaAJAq-OG1LMUw_aem_r4UVvlHh9Iy99IfX-mcSlg
#วันมอร์ลิงค์ #onemorelink #บริการรับกำจัดกากอุตสาหกรรม #กากอุตสาหกรรม #สิ่งแวดล้อม #ข่าววันนี้ #ความรู้ทั่วไป #CEORAPATSORN #ประเทศไทย #เทรนด์โลก #โลกร้อน #ขึ้นหน้าฟีด
ธุรกิจ
การลงทุน
ข่าวรอบโลก
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย