Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
FutureTales LAB by MQDC
•
ติดตาม
2 ก.ย. เวลา 08:00 • สิ่งแวดล้อม
เมื่อ 'กรุงเทพมหานคร' มีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญกับการกลายเป็น “เมืองจมน้ำ”
[#Flood]: องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ระบุว่า 47% ของประชากรในกรุงเทพมหานครจะกลายเป็นกลุ่มเปราะบางและกลายเป็นคนไร้บ้านจากอุทกภัยภายในปี ค.ศ. 2070
การศึกษาอนาคตภัยพิบัติประเทศไทย ช่วงปี ค.ศ. 2070 - 2090 โดยศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา FutureTales LAB by MQDC ด้วยแพลตฟอร์มข้อมูล Urban Hazard Studio ชี้ว่ากรุงเทพมหานคร มีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญกับการกลายเป็น “เมืองจมน้ำ” ถึง 3 รูปแบบพร้อมกัน ได้แก่
1.การจมน้ำแบบถาวร จากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล (Sea level rise) ที่จะเริ่มส่งผลกระทบต่อจังหวัดแนวชายฝั่ง เช่น สมุทรปราการ สมุทรสาคร และค่อย ๆ ลุกลามเข้าสู่กรุงเทพมหานคร
2. การจมน้ำแบบชั่วคราว เกิดจากปริมาณฝนที่ตกหนักในพื้นที่ที่มีปัญหาการระบายน้ำมาตั้งแต่เดิม ส่งผลให้น้ำท่วมขังนานขึ้น และเพิ่มความสูงของระดับน้ำ
3. ปัญหาน้ำหลาก คล้ายกับเหตุการณ์อุทกภัยปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสะสมของปริมาณน้ำและฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง
การแก้ไขสถานการณ์ดังเช่นในอดีต เช่น การสูบน้ำออก การทำแนวกั้นน้ำเฉพาะกิจ เป็นต้น ไม่เพียงพอต่อการจัดการปัญหาอุทกภัยในอนาคตอีกต่อไป ภาพอนาคต “Decentralised Resilience” จากงานวิจัย Future of Urbanisation อนาคตการพัฒนาเมืองของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปี ค.ศ. 2050 โดย FutureTales LAB ร่วมกับ ARUP Foresight ชี้ให้เห็นว่า การสร้างความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นทางออกสำคัญของเมืองในอนาคต
ปัจจุบัน เมืองชายฝั่ง (Coastal city) มากกว่า 570 เมืองทั่วโลกกำลังศึกษาแนวทางป้องกันและรับมือกับปัญหาอุทกภัย โดยการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถปรับตัวกับน้ำ เช่น การปรับปรุงการใช้พื้นที่ในเมืองให้สอดคล้องกับเส้นทางน้ำ การยกบ้านให้สูงขึ้น การสร้างคันกั้นน้ำ ระบบ Smart Drainage เป็นต้น
ดังเช่น โครงการ Maldives Floating City ประเทศมัลดีฟส์ โครงการ OCEANIX Busan ประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้น ซึ่งเป็นตัวอย่างของเมืองที่สร้างขึ้นเพื่ออยู่ร่วมกับน้ำในอนาคต ในขณะที่บางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ตัดสินใจย้ายเมืองหลวง จาก จาการ์ตา ไปยัง นูซันตารา เพื่อหลีกหนีปัญหาระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจากภาวะโลกเดือด
นัยยะสำคัญที่มีต่ออนาคต:
- การปรับตัวให้กรุงเทพมหานครสามารถอยู่ร่วมกับปัญหาน้ำท่วมได้ในอนาคตเป็นวาระสำคัญ โดยต้องพิจารณา 3 มิติหลัก ได้แก่ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางพลังงาน และการจัดการน้ำจืด
- การฟื้นฟูและปกป้องระบบนิเวศ โดยใช้การแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based solutions: NbS) เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าโกงกาง การสร้างพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่เก็บน้ำใต้ดินในเขตเมือง เป็นต้น มีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงจากการกัดเซาะและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ โดยจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในระดับพหุภาคีอย่างจริงจัง
- การพิจารณากระจายอำนาจและความเจริญไปยังต่างจังหวัด และการยกระดับการดำเนินกิจกรรมเป็นดิจิทัล เป็นแนวทางสำคัญในการลดความเสี่ยงการหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการบริหารรัฐกิจ กรณีกรุงเทพมหานครได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจ SMEs และภาคแรงงานที่พึ่งพาระบบเศรษฐกิจในเมืองหลวง
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก
www.futuretaleslab.com
หรือติดตามที่
https://www.facebook.com/FutureTalesLABbyMQDC
#FutureTalesLAB #FuturePossible #FutureUpdate #FutureofSustainability #Resilience #MQDC
น้ำท่วม
กรุงเทพมหานคร
สิ่งแวดล้อม
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย