2 ก.ย. เวลา 04:59 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กรุงเทพมหานคร

สมองตอนที่2_ยิ่งใช้ยิ่งฉลาด

เพราะได้พัฒนาเครือข่ายของประสาทและสารสื่อประสาท
Q : IQ คนเราเท่าเดิมตั้งแต่เกิดหรือเปล่า
A : เปล่าเลย IQ หรือ เจ้าความฉลาดและการทำงานของสมองไม่ได้เป็นสิ่งที่คงที่
คนเราสามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดชีวิตของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรามีการใช้สมองในการทำกิจกรรมที่กระตุ้นการคิดและการเรียนรู้ การทำงานซ้ำ
การทำงานหนักและการใช้สมองเป็นประจำ การคิดเกม การบวกลบเลขในใจ การแก้สมการคณิตศาสตร์ หรือการแก้ไขปัญหาบางอย่าง ..แม้กระทั่งการออกแบบเส้นทางที่เราจะขับรถใหม่ ไม่ซ้ำทางเดิม
การฝึกปรือตามข้างบน สามารถส่งผลดีต่อความฉลาดของเราได้
เนื่องจากกระบวนการทางความคิดทุกอย่างนี้เกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาท (neurotransmitters) และการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของสมอง
มาทำความรู้จักกับศัพท์ทางการแพทย์ หรือระบบประสาทและสมองกันหน่อยก่อน
**1. การสร้างและการเสริมสร้างการเชื่อมต่อประสาท**
สมองมีโครงสร้างที่ซับซ้อน ประกอบด้วยเซลล์ประสาท (neurons) ซึ่งอยู่ในสมองส่วนสีเทา (gray matter) ที่เชื่อมโยงกันผ่านซินแนปส์ (synapses)
ซินแนปส์ (synapses) คืออะไร
ซินแนปส์ (synapses) เป็นจุดที่สารสื่อประสาททำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาท ซึ่งแน่นอนว่า สมองต้องใช้พลังงานในการทำงานตรงนี้ ผ่านมาทางระบบไหลเวียนของเลือด
(รายละเอียดในตอนที่หนึ่ง
การใช้สมองอย่างต่อเนื่องและการทำกิจกรรมที่กระตุ้นการคิดจะกระตุ้นการสร้างและการเสริมสร้างซินแนปส์ใหม่ นี่คือกระบวนการที่เรียกว่า "neuroplasticity" ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และความจำ
**2. การปล่อยสารสื่อประสาทที่ส่งผลดี**
การทำกิจกรรมที่ท้าทายสมอง เช่น การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ช่วยกระตุ้นการปล่อยสารสื่อประสาทที่สำคัญ เช่น โดปามีน (dopamine) และเซโรโทนิน (serotonin)
เราคงรู้มาบ้างแล้วว่า สารโดปามีน มีบทบาทในการกระตุ้นแรงจูงใจและความรู้สึกที่ดีในระหว่างการเรียนรู้
ส่วน สารเซโรโทนินช่วยในการปรับอารมณ์และความรู้สึกมีความสุข
**3. การพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างสมอง**
การใช้สมองอย่างสม่ำเสมอช่วยให้สมองสามารถปรับตัวและพัฒนาได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้และการฝึกฝนทักษะใหม่ๆ สามารถช่วยเพิ่มความหนาแน่นของเนื้อเยื่อสมองในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำ
ป้าขอยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การฝึกเล่นดนตรี เอาอะไรดี เปียโนก็แล้วกัน การพรมนิ้วมือไปบนแป้นโน้ต การกดแล้วมีเสียงดนตรีไพเราะ ที่เกิดจากการรังสรรค์ของนักดนตรี นักแต่งเพลง เป็นชุดของโน้ตดนตรีที่สอดร้อยเรียงรับกันอย่างพอเหมาะพอเจาะ..กิจกรรมนี้ทำให้สมองพัฒนาอย่างมาก
มีนักดนตรีหลายคน บอกเล่าว่า ขอให้ได้ยินเสียงโน้ตตัวแรกของชุดแรกเท่านั้น จากนั้นเค้ารู้ว่าจะเล่นดน้ตอะไรต่อไปได้เอง...โอ้ว
 
หรือการคำนวณตัวเลขทางคณิตศาสตร์ การแก้สมการ การคิดทบทวนสุตรแคลคูลัส..สามารถเพิ่มความหนาแน่นของเซลล์ประสาทในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องได้
**4. การป้องกันการเสื่อมของสมอง**
การกระตุ้นสมองอย่างต่อเนื่องช่วยป้องกันการเสื่อมของสมองในวัยชรา
การทำกิจกรรมที่ท้าทายสมองช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคทางสมอง
เช่นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) เพราะมันช่วยรักษาความสามารถในการทำงานของเซลล์ประสาทและการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท
ตรงนี้ขอแทรกหน่อยว่าสาเหตุหนึ่งของโรคอัลไซเมอร์ คือการพบ "สารความเก่า/ความแก่"สะสมอยู่ในสมอง ซึ่งชื่อว่า โปรตีนอะมัยลอยด์ หรือโปรตีนทาว [Tau protein] เป็นต้น
โปรตีนเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากความเก่า หรือจากความแก่อย่างเดียว แต่มีงานวิจัยพบว่า เกิดจากความผิดปกติของขั้นตอนในกระบวนการ "แพคกิ้ง หรือ "การโฟลดิ้ง"
ขออธิบายรายละเอียดของสองโปรตีนนี้เพิ่มหน่อย (ยาวหน่อยนะคะ)
การพบโปรตีนทาว (Tau protein) และอะไมลอยด์ (Amyloid) เกี่ยวข้องอย่างมากกับโรคสมองเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบบ่อยที่สุดของโรคสมองเสื่อม
เพราะทั้งสองโปรตีนนี้มีบทบาทสำคัญในการเกิดและการพัฒนาโรคนี้ โดย
-->โปรตีนทาว (Tau Protein) เป็นโปรตีนที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาโครงสร้างของไมโครทูบูลส์ (microtubules) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบโครงสร้างภายในเซลล์ประสาทที่ช่วยในการขนส่งสารอาหารและโมเลกุลต่างๆ ไปยังส่วนต่าง ๆ ของเซลล์ประสาท (เหมือนระบบลำเลียง เหมือนระบบท่อภายในเซลล์เรา)
เมื่อโปรตีนทาวผิดปกติ มันจะเกิดการรวมตัวและสร้าง "กลุ่มโปรตีนที่ยุ่งเหยิง tangles" (neurofibrillary tangles) ภายในเซลล์ประสาท tangles นี้เองเป็นตัวการหลักที่ทำให้การทำงานของไมโครทูบูลส์ผิดปกติขึ้นไปอีก ส่งผลให้การทำงานของเซลล์ประสาทลดลง ทำให้เซลล์ประสาทตายหรือเสื่อมสภาพได้
การรวมตัวของ tangles ทำให้เซลล์ประสาทเสียหายและตาย
ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคอัลไซเมอร์
-->อะมัยลอยด์(Amyloid)
อะมัยลอยด์คืออะไรหนอ
อะไมลอยด์เป็นโปรตีนที่ประกอบด้วย "อะไมลอยด์ เบต้า" (beta-amyloid) ซึ่งสามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่และสร้างสิ่งที่เรียกว่า "พลาค" (plaques) ในเนื้อเยื่อสมอง
การสะสมของอะมัยลอยด์มีผลกระทบทำให้เกิดการอักเสบ
- พลาคอะมัยลอยด์ในสมองกระตุ้นการอักเสบในเนื้อเยื่อสมองจนเซลล์ประสาทเสียหาย
- ขัดขวางการทำงานของเซลล์ประสาทส่งผลให้เกิดการเสื่อมของการทำงานของสมอง และการสะสมของพลาคอะไมลอยด์สามารถทำให้เซลล์ประสาทตายได้ด้วย
ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของโรคอัลไซเมอร์
👩‍⚕️
จึงสรุปได้ว่า
สมอง ยิ่งใช้ยิ่งฉลาด
การใช้สมองอย่างต่อเนื่องไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความฉลาด
แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพของสมองโดยรวม
การกระตุ้นและฝึกฝนสมองเป็นประจำมีผลดีต่อสารสื่อประสาท
การสร้างและการเสริมสร้างการเชื่อมต่อประสาท
รวมถึงการป้องกันการเสื่อมของสมอง
ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้สมองมีความสามารถในการทำงานที่ดีขึ้น
และเพิ่มความฉลาด IQ เราได้ค่ะ
นักวิทยาศาสตร์👩‍⚕️ป้าแค่อ่านมาเล่า
อ้างอิง
1. อะมัยลอยด์เกี่ยวยังไงกับอัลไซเมอร์
The amyloid hypothesis of Alzheimer’s disease at 25 years. EMBO Molecular Medicine.
Kramer, A. F., & Erickson, K. I. (2007).
🧠
3. Capitalizing on cortical plasticity: influence of physical activity on cognition and brain function.
🧠
การออกกำลังกายสมองด้วยการเขียนบทความ เป็นสิ่งหนึ่งที่มีประโยชน์ยิ่ง..ทั้งต่อผู้เขียน(ที่สว…)
..ติดตรงที่ไม่ค่อยจะมีเวลานี่สิคะ ร่างเอาไว้แล้วยังไม่ได้เกลา เพิ่งมาเกลา
..ขอกำลังใจด้วยการกดไลค์ กดแชร์ บันทึกและเม้นต์....ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ
โฆษณา