2 ก.ย. เวลา 05:45 • หุ้น & เศรษฐกิจ

คนไทยใส่เสื้อผ้าครั้งเดียวทิ้ง! ค่านิยม Fast Fashion ที่ทำร้ายโลก

อุตสาหกรรม Fast Fashion อาจจะอยู่ยากขึ้น ในวันที่ภาคธุรกิจกำลังให้ความสำคัญกับความยั่งยืนทั้งเรื่องของสิ่งแวดล้อม หลักธรรมาภิบาล และสังคม พร้อมเปิดสถิติคนไทยกับ Fast Fashion ที่พบว่าคนไทย 40% ซื้อเสื้อผ้ามาแล้วใส่เสื้อผ้าเพียง 1 ครั้งเท่านั้น
คำว่า Fast Fashion คือการาตอบสนองผู้บริโภคที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าให้เห็นชัดเจนก็คือเสื้อผ้าเทรนด์แฟชั่นที่มาไวไปไว ซื้อวันนี้ใส่วันนี้ แต่อีกไม่กี่เดือนตกเทรนด์ไปแล้ว ก็ต้องมองหาเทรนด์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองให้อยู่ในกระแสเสมอซึ่งอุตสาหกรรมนี้สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล
ในปี 2567 มูลค่าตลาดของธุรกิจ Fast Fashion อยู่ที่ 142.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 15.5%
มาตรการรับมือและกำกับควบคุมผลกระทบ Fast Fashion กระทบสิ่งแวดล้อม
และคาดว่าในปี 2571 จะมีมูลค่าสูงถึง 197.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ที่มา : Research and Markets)
ขณะที่อุตสาหกรรมนี้มีการจ้างงาน ถึง 300 ล้านคนทั่วโลก ในปี 2566 แต่ถ้าโฟกัสที่ประเทศไทยจะถูกรวมอยู่ในอุตสาหกรรมสิ่้งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งในปี 2565 มูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสิ่งทอ 1.6 แสนล้านบาท เฉพาะการผลิตเสื้อผ้าเร็จรูปอยู่ที่ 110.8 ล้านชิ้น นำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปอีกกว่า 4.8 หมื่นล้านบาท มีแรงงาน 6.2 แสนคน และส่วนใหญ่อยู่ในสาขาการผลิตเสื้่อผ้าเครื่องแต่งกาย
ต่อมามาดูที่ผลกระทบกับความยั่งยืนอย่างที่บอกไปตอนต้นถ้าด้านสังคม คือ การสร้างวัฒนธรรมการบริโภคเกินพอดี (Overconsumption) ทำให้คนไม่ตระหนักถึงคุณค่าของการซื้อสินค้า ใส่เสื้อผ้าไม่ซ้ำ ทิ้งขว้าง ใส่ครั้งเดียวทิ้ง อย่างข้อมูลจาก YouGov พบว่า 40% ของคนไทย ทิ้งเสื้อผ้าหลังสวมใส่เพียงครั้งเดียว โดย 1 ใน 4 ทิ้งอย่างน้อย 3 ชิ้น โดยมีเหตุผลส่วนใหญ่คือ ไม่เหมาะหรือมีตำหนิ ตลอดจนรู้สึกเบื่อ ซึ่งสะท้อนการเสพติดวัฒนธรรมการบริโภคเกินพอดี
ในแง่สิ่งแวดล้อม โฟกัสไปที่การใช้น้ำ เป็นจำนวนมาก และมลภาวะทางน้ำและอากาศที่มาจากกระบวนการย้อมและตกแต่งโดยในการผลิตเสื้อเชิ้ตฝ้ายหนึ่งตัวต้องใช้น้ำถึง 2,700 ลิตร ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณน้ำสำหรับดื่มของคนหนึ่งคนในระยะเวลากว่า 2.5 ปี ขณะที่ข้อมูลของ UN (2561) ระบุว่า กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม Fast Fashion สร้างมลภาวะ
ทางน้ำสูงมาก ทั้งการใช้ย้อมและตกแต่ง เนื่องจากมีการใช้สารเคมีที่เป็นพิษและอันตรายในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นสารหนู เบนซิน ตะกั่ว และของเสียมีพิษอื่น ๆ และกระบวนการย้อมและตกแต่งของ Fast Fashion เป็นสาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ มากที่สุดในสัดส่วน24% (ILO)
ในแง่หลักมนุษยธรรม คือเรื่องของการจ้างงาน เพราะอุตสาหกรรม Fast Fashion เน้นการผลิตสินค้าราคาถูกในจำนวนมากต้องควบคุมต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับต่ำ ลดต้นทุนด้านวัตถุดิบและคุณภาพการผลิต รวมถึงการลดต้นทุนด้านแรงงานผิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิแรงงาน ผู้หญิง 14% ในอุตสาหกรรมนี้ ถูกลวนลามและข่มขืน และกว่าา 50% ถูกละเมิดด้วยคำพูด รวมถึงแรงงานที่อายุไม่ถึงเกณฑ์
แล้วเรื่องนี้จะมีทางออกหรือไม่ หลายประเทศมี อย่างญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหรัฐ ออกมาตรการเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างฝรั่งเศส ออกร่างกฎหมายควบคุมอุตสาหกรรม Fast Fashion เช่น ถ้าการผลิตทำลายสิ่งแวดล้อมจะถูกปรับเงินประมาณ 194 บาท ต่อเสื้อผ้าในอุตสาหกรรม Fast Fashion 1 ชิ้นห้ามการโฆษณาแบรนด์และผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า Fast Fashion หรือการเก็บภาษีเพิ่มในสินค้าที่มีต้นทุนต่ำเกินกว่าปกติ
สำหรับประเทศไทย ส่วนใหญ่เรานำเข้ากันค่ะ แต่ก็เป็นการบ้านไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางนโยบายหรือหามาตรการเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะประเทศไทย มีนโยบายเกี่ยวกับความยั่งยืน หรือ SUSTAINABLE แล้ว ขณะที่คำแนะนำจากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เค้าเลยแนะนำแบบนี้ เริ่มจากตัวเราเองก่อนเลย คือ นำเสื้อผ้ามาใส่ซ้ำ เลือกแบบหรือโทนสีเพลนๆสไตล์มินิมอลที่สามารถนำมาใส่ซ้ำได้ไม่เบื่อ หรือ ใช้วิธีมิกส์แอนด์แมช ใช้บริการร้านเช่าชุด ซื้อเสื้อผ้ามือสอง หรือการเลือกซื้อแบรนด์ Eco Friendly
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : https://www.pptvhd36.com/wealth/sustainability/231700
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
โฆษณา