13 ก.ย. เวลา 03:00 • ไลฟ์สไตล์

ปลดหนี้ ใน 4 ขั้นตอน

ปัญหาภาระหนี้สิน เป็นเรื่องที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และคงเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากในภาวะที่รายได้เติบโตช้าลง ไม่ทันกับรายจ่ายที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้การซื้อทรัพย์สินที่ราคาสูงเช่น บ้าน หรือ รถยนต์ แทบจะเป็นไปไม่ได้หากไม่มีการกู้ยืม
ผลสำรวจหนี้สินครัวเรือนล่าสุด ประเมินสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ  GDP ของไทย ณ สิ้นปี 2567 จะอยู่ที่ประมาณ 91% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก แต่ปัญหาหนี้สินนี้เกิดจากหลายปัจจัย และต้องคำนึงเสมอว่าการก่อหนี้เพื่อใช้สำหรับความจำเป็นพื้นฐานของแต่ล่ะคนนั้นแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามการที่ตัวเลขหนี้สินครัวเรือนอยู่ในระดับสูงขนาดนั้น ก็แสดงให้อย่างชัดเจนถึงความล้มเหลวในการบริหารหนี้สิน ซึ่งตามหลักการแล้วไม่ควรเกิน 40%ของรายได้
โดยขั้นตอนแรกในการบริหารหนี้สินคือ การสำรวจทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อให้ทราบกระแสเงินสดที่แน่นอน และสามารถคำนวนได้ว่าควรก่อหนี้อย่างมากไม่เกินเท่าไหร่ เพื่อจะได้มีกำลังพอผ่อนจ่ายไหว โดยเพดานหนี้สูงสุดที่เราไม่ควรกู้ยืมไปมากกว่านั้น สามารถคำนวนได้โดยสูตร
วงเงินหนี้สิน = ความสามารถในการผ่อนต่องวด×1000/8
ดังนั้นก่อนทำการกู้ยืม เราต้องคิดเสมอว่าหนี้ที่เราก่อนี้ มีความจำเป็นจริงหรือไม่ และ ปริมาณหนี้มากเกินไปไหม เพราะหากหนี้ที่ต้องผ่อนมีมากเกิน สุดท้ายจะทำให้สถานการณ์การเงินค่อยๆตึงตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้การบริหารหนี้สินล้มเหลวในที่สุด
หากเราเริ่มรู้ตัวว่าเราก็เป็นคนหนึ่งที่การบริหารหนี้สินเริ่มไม่เป็นไปตามแผนที่คิดไว้ เริ่มผ่อนจ่ายไม่ไหว หมุนเงินไม่ทัน ขอให้รีบวางแผนใหม่ ปรับตัวแก้ไขก่อนจะสายเกินไป โดยให้ยึดหลักการแก้หนี้คือ
  • ​อดทน
การแก้ปัญหาหนี้อาศัยกำลังใจ ความพยายามอดทนอดกลั้นอย่างมาก เราต้องมีความเข้มแข็ง มุ่งมั่นที่จะผ่อนชำระหนี้เดิมโดยไม่ก่อหนี้เพิ่มใหม่โดยเด็ดขาด
  • ​ขยัน
ศึกษาหาช่องทางสร้างรายได้พิเศษเพิ่มเติม เพื่อสร้างกระแสเงินสดให้เพียงพอต่อการใช้จ่าย ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปคิดถึงงานใหญ่โต เริ่มจากแค่ขายของเล็กๆน้อยๆก่อนก็ได้
  • ​ประหยัด
งดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตทั้งหมด
อะไรที่ไม่ซื้อ ไม่ใช้แล้วไม่ตาย งดให้หมด
โจ ลูกอีสาน
แยกให้ได้ว่าสิ่งใดเป็นความจำเป็น(Need) ที่ขาดไม่ได้และสิ่งใดเป็นเพียงความต้องการ(Want) ที่ควรรอให้สถานการณ์การเงินดีขึ้นก่อนค่อยพิจารณาอีกครั้งว่าควรซื้อหรือไม่
นอกจากนี้ยังรวมถึงการพยายามคิดหาทางประหยัดดอกเบี้ย ด้วยการรวมหนี้ , การเปลี่ยนจากหนี้นอกระบบเข้าสู้หนี้ในระบบ และ การพยายามหาแหล่งเงินกู้ที่ดอกเบี้ยต่ำกว่า อีกด้วย
  • ​ซื่อสัตย์
ยอมรับความจริง อย่าหนีหนี้ หนี้ที่เราก่อนั้นเป็นความรับผิดชอบของเรา ที่จะต้องหาเงินมาจ่ายคืน ซึ่งหากยังไม่สามารถหามาคืนได้ ต้องพูดคุยกับเจ้าหนี้อย่างตรงไปตรงมาเพื่อเจรจาขอประนอมหนี้ ขอลดภาระหนี้สินลงบ้าง เพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น
การแก้ปัญหาการบริหารหนี้สินที่ล้มเหลวเป็นเรื่องยาก แต่ขอให้ระลึกไว้เสมอ เมื่อใดที่เราเริ่มต้น ค่อยๆแก้ไป สถานการณ์การเงินของเราจะค่อยๆดีขึ้น และชีวิตของเราก็จะดีขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
โฆษณา