3 ก.ย. 2024 เวลา 12:01 • ธุรกิจ

อธิบายเรื่อง ต้นทุนขาย COGS คำศัพท์เบสิกธุรกิจ ผ่านงบบริษัท อิชิตัน

Cost Of Goods Sold (COGS) ภาษาไทยคือ “ต้นทุนขาย” คือ ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือสร้าง สินค้าและบริการโดยตรง
1
อธิบายให้ง่ายเพิ่มเติมก็คือ ต้นทุนที่ทำให้เกิดสินค้าหรือบริการขึ้นมาได้ ถ้าขาดไปเราจะไม่สามารถผลิตสินค้าหรือสร้างบริการนั้นได้เลย..
เช่น ถ้าเราเปิดร้านกาแฟ ต้นทุนที่เราจะขาดไม่ได้เลยในการผลิตและขายกาแฟ
ก็อย่างเช่น ต้นทุนค่าวัตถุดิบในการชงกาแฟ, ค่าน้ำ ค่าไฟของร้านกาแฟ, ค่าจ้างพนักงานชงกาแฟ
1
ส่วนต้นทุนอื่น ๆ นอกจากนี้ เช่น ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด ทำโปรโมชันให้คนมาซื้อร้านเรา แบบนี้ถือว่าไม่ใช่ต้นทุนที่ทำให้เกิดสินค้าหรือบริการโดยตรง
ซึ่งเราเรียกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ว่าเป็น “ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร” หรือที่จะชอบเห็นในงบการเงินว่า SG&A
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เรามาดูตัวอย่างการบันทึก ต้นทุนขาย (COGS) จากงบการเงินของ อิชิตัน กรุ๊ป ..
ต้นทุนขาย (COGS) เมื่อเทียบกับ รายได้จากการขาย ทุก ๆ 100 บาท ของอิชิตัน กรุ๊ป ในปี 2566
- วัตถุดิบวัสดุสิ้นเปลือง และการเปลี่ยนแปลงในสินค้าสำเร็จรูป 47 บาท
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน 2 บาท
- ค่าสาธารณูปโภค (เชื้อเพลิงแก๊ส, ไฟฟ้า, ประปา) 4 บาท
- ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 7 บาท
- ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง 1 บาท
- อื่น ๆ 16 บาท
เราจะเห็นว่า ต้นทุนขาย (COGS) คิดเป็น 77% ของรายได้จากการขายของ อิชิตัน กรุ๊ป
3
และถ้าเราเอา รายได้จากการขาย - COGS คือ 100 บาท - 77 บาท = 23 บาท
1
23 บาท ที่ว่านี้ ก็คือตัวเลขที่เรียกว่า “กำไรขั้นต้น (Gross Profit)”
โดยกำไรขั้นต้น ยิ่งสูงก็ยิ่งดี
เพราะกำไรขั้นต้นของธุรกิจ ก็จะถูกเอาไปรวมกับรายได้อื่น ๆ ของบริษัท (ที่ไม่ใช่รายได้จากการขาย)
จากนั้นหักด้วยค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น
-ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A) เช่น ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด
-ดอกเบี้ยจ่าย
-ภาษี
2
สุดท้ายเราจะได้กำไรสุทธิ หรือ Net Profit ซึ่งเป็นกำไรขั้นสุดท้ายของบริษัท
ทีนี้เราก็พอจะเห็นแล้วว่า เมื่อนำรายได้มาหักลบด้วย ต้นทุนขาย (COGS) จะเหลือเป็นกำไรขั้นต้น
ซึ่งถ้าเราควบคุม ต้นทุนขาย (COGS) ได้ดี กำไรขั้นต้นก็จะสูง
และสุดท้าย กำไรสุทธิของบริษัท ที่เกิดจากการเอา ต้นทุนขาย (COGS) มาหักด้วยค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A) และภาษี ก็มีแนวโน้มที่จะดีตามไปด้วย
สุดท้าย ต้องหมายเหตุเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งว่า
ในทางปฏิบัติจริง ๆ การบันทึก ต้นทุนขาย (COGS) ของแต่ละบริษัทนั้นอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ ความเหมาะสม และนโยบายการบันทึกบัญชีของบริษัท
อย่างเช่นเคสของ ต้นทุนค่าจ้างพนักงาน
-บางบริษัท อาจบันทึกค่าจ้างพนักงานทั้งหมดเป็น ต้นทุนขาย (COGS) ไม่ว่าพนักงานฝ่ายไหน ๆ จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลิตสินค้าและบริการหรือไม่ก็ตาม
-หรือบางบริษัท บันทึกค่าจ้างพนักงานที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าโดยตรงเป็น ต้นทุนขาย (COGS)
ส่วนพนักงานที่ไม่ได้อยู่ในไลน์การผลิตสินค้าโดยตรง เช่น พนักงานขาย จะถูกบันทึกค่าจ้างไปอยู่ในส่วน ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A)
-หรือบางบริษัทอาจบันทึก ค่าจ้างพนักงานทั้งหมด ให้ไปอยู่ในต้นทุน SG&A แบบนี้ก็มีเหมือนกัน..
References
- รายงานประจำปี 2566 บมจ.อิชิตัน กรุ๊ป
1
--------------------------
Sponsored by JCB Thailand
#JCBสุขทุกสไตล์ได้ทุกวัน
พบกับส่วนลดและสิทธิพิเศษสำหรับทุกไลฟ์สไตล์
ทั้ง กิน เที่ยว ช็อป ให้คุณมีความสุขได้ทุก ๆ วัน
เพิ่มเติมที่ >> https://bit.ly/JCBJSOPRO
1
สมัครบัตรเครดิต JCB ได้ที่
#JCBThailand #JCBCard
#JCBOwnHappinessOwnStory
โฆษณา