8 ก.ย. เวลา 03:17 • สิ่งแวดล้อม

‘บิล เกตส์’ สร้าง ‘โรงไฟฟ้านิวเคลียร์’ แบบใหม่ มุ่งพัฒนา ‘เครื่องปฏิกรณ์ขั้นสูง’ แห่งอนาคต

“บิล เกตส์” ผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟต์เป็นประธานของ TerraPower ยื่นขอบริษัทได้ยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขั้นสูง ที่ใช้โซเดียมแทนน้ำในการระบายความร้อน จากคณะกรรมการกำกับดูแลนิวเคลียร์ เมื่อเดือนมีนาคม 2024 และหากได้รับการอนุมัติ ก็จะสามารถดำเนินการเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชิงพาณิชย์ได้ทันที
โรงไฟฟ้าแห่งนี้จะสร้างติดกับโรงไฟฟ้านอตัน ของบริษัทผลิตไฟฟ้า PacifiCorp ในเมืองเคมเมอเรอร์ รัฐไวโอมิง ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ 2,415 คน ตัวโรงงานจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ “เกาะนิวเคลียร์” (Neuclear Island) ที่ตั้งของเตาปฏิกรณ์ และ “เกาะพลังงาน” ที่ตั้งของเครื่องจักรต่าง ๆ (Energy Island)
TerraPower พร้อมเดินหน้าสร้างเครื่องปฏิกรณ์ได้โดยเร็วที่สุดทันทีที่ได้รับอนุมัติใบอนุญาต โดยจะมีรัสเซียเป็นผู้พัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ระบายความร้อนด้วยโซเดียม กระบวนการพิจารณาจะใช้เวลาสองสามปี ดังนั้นในระหว่างนี้ TerraPower จะสร้างโรงไฟฟ้าส่วนที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ การก่อสร้างจะเริ่มต้นในปี 2025 โดยเริ่มจาก “เกาะพลังงาน” ก่อน
คาดว่าโครงการนี้จะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 4,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งครึ่งหนึ่งมาจากกระทรวงพลังงานของสหรัฐ และขณะนี้ได้เงินทุนจากภาคเอกชนเกือบ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตัวเลขดังกล่าว รวมถึงค่าใช้จ่ายสำหรับการออกแบบและการออกใบอนุญาตเครื่องปฏิกรณ์ในการใช้ครั้งแรก ดังนั้นเครื่องปฏิกรณ์ในอนาคตจะมีราคาถูกลงมาก
1
เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขั้นสูงส่วนใหญ่ที่สหรัฐกำลังพัฒนา ใช้ระบบฮาเลอ (High-Assay Low-Enriched Uranium : HALEU) ที่มีปริมาณสารยูเรเนียมไอโซโทป 235 ในเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในเตาปฏิกรณ์ทั่วไป
TerraPower เลื่อนกำหนดการเปิดตัวโรงไฟฟ้าในไวโอมิงออกไปเป็นปี 2030 เนื่องจากตอนนี้รัสเซียเป็นผู้จัดหาเชื้อเพลิงเพียงรายเดียว และกำลังทำงานร่วมกับบริษัทอื่นเพื่อพัฒนาแหล่งพลังงานสำรอง เมื่อโรงไฟฟ้าเสร็จคาดว่าจะสร้างงานได้ 1,600 ตำแหน่ง และจ้างพนักงานประจำ 250 คน
เครื่องปฏิกรณ์ชุดแรกจะเน้นที่การจ่ายไฟฟ้า ส่วนในอนาคตอาจสร้างเครื่องปฏิกรณ์ใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับจ่ายพลังงานความร้อนสูง แทนการใช้พลังงานจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่ต้องใช้อุตสาหกรรมเกือบทั้งหมด โดยเครื่องปฏิกรณ์ขั้นสูงสามารถใช้ผลิตไฮโดรเจน ปิโตรเคมี แอมโมเนีย และปุ๋ยได้
โฆษณา