4 ก.ย. เวลา 05:45 • สุขภาพ

“ย่านาง” ประโยชน์สมุนไพรเย็น ขจัดพิษกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด

ย่านาง เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักและคุ้นเคยดี โดยเฉพาะคนที่ชอบกินอาหารอีสาน เผยประโยชน์และสรรพคุณสมุนไพรฤทธิ์เย็น ข้อแนะนำก่อนกิน
ย่านาง เป็นพืชพวกไม้เถาเลื้อย มีชื่อท้องถิ่นหลายชื่อ เช่น จอยนางหญ้าภคินี เถาวัลย์เขียว ยานนาง ขันยอ หรือหยาดนาง เป็นต้น โดยมีประโยชน์ทุกส่วน แต่ส่วนที่นิยมจะ ใบย่านาง ที่เก็บบริโภคได้ตลอดปี ยอดอ่อนแตกใบมากในฤดูฝน ยอดอ่อนของเถาย่านางใช้กินแกล้มแนมกับอาหารเผ็ด อีกทั้งยังนิยม นำใบมาคั้นเอาน้ำ ใส่ในแกงหน่อไม้ แกงขี้เหล็ก ซุบหน่อไม้ ทำให้อาหารมีรสชาติกลมกล่อมและสีสัยน่ากินมากขึ้น
น้ำใบย่านาง
มีข้อมูลจากหนังสือ Thai Food Composition Institute of Nutrition ของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิยาลัยมหิดลว่า ใบย่านางหนัก 100 กรัม ให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี มี โพแทสเซียม แทนนิน เส้นใย แคลเซียม วิตามิน และไนอะซิน เป็นต้น ที่สำคัญ ย่านาง เป็นสมุนไพรเย็น มีคลอโรฟิลล์ที่มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับเม็ดเลือดแดงของมนุษย์ดังนั้นจึงทำให้ระบบการไหลเวียนผลัดเม็ดเลือดแดงเพิ่มมากขึ้นทำให้ช่วยขจัดสารพิษออกจากระบบเลือด ตับ และไต ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรงขึ้นด้วย
●ประโยชน์และสรรพคุณย่านาง
-แก้ไข้เบญจโลกวิเชียร
-แก้พิษเมาเบื่อ กระทุ้งพิษไข้ แก้เมาสุรา ถอนพิษผิดสำแดง
-ใช้ขับพิษต่างๆ
-แก้ท้องผูก แก้ไข้กลับ ไข้หัว ไข้พิษ ไข้สันนิบาต ไข้ป่าเรื้องรัง ไข้ทับระดู
-ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ
-แก้โรคหัวใจบวม
-แก้ลม แก้ไข้จับสั่น
-รักษาโรคปวดข้อ
-แก้ร้อนใน ดับกระหาย
-ไข้ฝีดาษลดพิษยาฆ่าแมลงในร่างกาย และถอนพิษอื่นๆ
-รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ
-ช่วยแก้อาการเจ็บเหมือนมีไฟช็อต หรือ มีเข็มแทง
-ทำให้อาเจียนออก
●ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
เมื่อทำน้ำย่านาง เสร็จแล้วควรบริโภคทันที เพราะถ้าทิ้งไว้นานเกินไปจะเกิดกลิ่นเหม็นเปรี้ยว สามารถนำมาแช่ตู้เย็นได้ และควรใช้ให้หมดภายใน 3 วัน
บางคนที่รู้สึกว่าน้ำย่านาง เหม็นเขียว รับประทานยากสามารถนำน้ำย่านางไปต้มให้เดือดแล้วนำมาดื่ม หรือ จะผสมกับน้ำสมุนไพรชนิดอื่นๆ ก็ได้ เช่น ขิง ขมิ้น ตะไคร้ หรือ จะผสมกับน้ำมะพร้าว น้ำตาล น้ำมะนาว หรือ แม้แต่น้ำหวานก็ได้เช่นกัน
ควรดื่มปริมาณแต่พอดี หากดื่มแล้วรู้สึกแพ้ พะอืดพะอม ก็ควรลดความเข้มข้นของสมุนไพรที่ใส่ลงไปให้น้อยลง
ขอบคุณข้อมูลจาก : disthai และ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : https://www.pptvhd36.com/health/food/5811
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
โฆษณา