4 ก.ย. เวลา 09:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ดาวเคราะห์น้อยขนาดยักษ์พุ่งชนแกนดวงจันทร์ Ganymede จนแกนหมุนเคลื่อนไป

เมื่อประมาณ 4,000 ล้านปีก่อน ดาวเคราะห์น้อย (asteroid) พุ่งชนดวงจันทร์แกนีมีด (Ganymede) ของดาวพฤหัส ปัจจุบัน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโกเบได้ค้นพบว่า แกนของหมุนดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของระบบสุริยะได้เปลี่ยนไปอันเป็นผลจากการพุ่งชนดังกล่าว ซึ่งยืนยันว่า ดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวมีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์น้อยที่ทำให้ยุคไดโนเสาร์บนโลกสิ้นสุดลงประมาณ 20 เท่า และก่อให้เกิดการพุ่งชนครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งซึ่งมีร่องรอยชัดเจนในระบบสุริยะ
แกนีมีด (Ganymede) เป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ใหญ่กว่าดาวพุธเสียอีก และยังมีน้ำเหลวอยู่ใต้พื้นผิวที่เป็นน้ำแข็งอีกด้วย เช่นเดียวกับดวงจันทร์ของโลก แกนีมีดถูกล็อกด้วยแรงไทดัล (Tidal) ซึ่งหมายความว่าดวงจันทร์จะหันด้านเดียวกับดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ตลอดเวลา
*แรงไทดัล (Tidal) เป็นผลจากแรงโน้มถ่วงระหว่างที่โคจรกับดาวดวงอื่นๆเช่น การเกิดน้ำขึ้นน้ำลงบนโลกที่มีผลมาจากดวงจันทร์*
ดังนั้นจึงมีด้านไกลด้วย บนพื้นผิวส่วนใหญ่ ดวงจันทร์ถูกปกคลุมด้วยร่องน้ำที่ก่อตัวเป็นวงกลมซ้อนกันรอบจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งทำให้ในช่วงทศวรรษ 1980 นักวิจัยสรุปได้ว่า ร่องน้ำเหล่านี้เป็นผลมาจากเหตุการณ์การพุ่งชนครั้งใหญ่
“ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี ไอโอ (IO) ยูโรปา (Europa) แกนีมีด และคัลลิสโต (Callisto) ต่างก็มีลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจ แต่ลักษณะที่ดึงดูดความสนใจของฉันคือ ร่องเหล่านี้บนแกนีมีด” ฮิราตะ นาโอยูกิ นักดาวเคราะห์วิทยาจากมหาวิทยาลัยโกเบกล่าว “เรารู้ว่าลักษณะนี้เกิดจากการพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อยเมื่อประมาณ 4 พันล้านปีก่อน แต่เราไม่แน่ใจว่าการพุ่งชนครั้งนี้มีขนาดใหญ่แค่ไหนและส่งผลต่อดวงจันทร์อย่างไร”
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโกเบได้ตีพิมพ์เผยแพร่ว่า ดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 300 กิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าดาวเคราะห์น้อยที่พุ่งชนโลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อนถึง 20 เท่า ซึ่งทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ และทำให้เกิดหลุมอุกกาบาตชั่วคราวที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 1,400 ถึง 1,600 กิโลเมตร (หลุมอุกกาบาตชั่วคราวซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในการจำลองในห้องแล็บและการคำนวณ คือโพรงที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากการขุดหลุมอุกกาบาตและก่อนที่วัสดุจะตกตะกอนในและรอบๆ หลุมอุกกาบาต)
จุดหมายปลายทางสุดท้ายของยานสำรวจอวกาศ JUICE ของ ESA ซึ่งมีความน่าสนใจในเรื่องของมหาสมุทรใต้ผิวดิน หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ยานอวกาศจะเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ในปี 2034 และจะสังเกตการณ์เป็นเวลา 6 เดือน โดยส่งข้อมูลจำนวนมากกลับมาซึ่งจะช่วยตอบคำถามเหล่านี้
แปลและเรียบเรียงโดย
One To Many - A Brief Science
.
แหล่งอ้างอิง
[1] Gigantic asteroid impact shifted the axis of Solar System’s biggest moon
[2] Giant impact on early Ganymede and its subsequent reorientation
โฆษณา