Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
12 ก.ย. 2024 เวลา 08:18 • สิ่งแวดล้อม
‘กิมจิ’ เตรียมหมดโลก สังเวยพิษ ‘ภาวะโลกรวน’ อนาคตเกาหลีใต้ ปลูก ‘ผักกาด’ ไม่ได้
“กิมจิ” เครื่องเคียงขึ้นชื่อ จนกลายเป็นอาหารประจำชาติของเกาหลีใต้ อาจจะไม่มีให้กินกันต่อไปแล้ว หลังจากคุณภาพของผักกาดขาวและปริมาณผลผลิตที่ได้ลดต่ำลง โดยนักวิทยาศาสตร์ เกษตรกร และผู้ผลิตต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นเพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งมาจาก “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”
ผักกาดขาวมักปลูกในพื้นที่ภูเขา ซึ่งจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศเย็น และมีอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส แม้แต่ในฤดูร้อนก็ตาม โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมคือระหว่าง 18-21 องศาเซลเซียส
สภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้นอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังคุกคามพืชผลเหล่านี้อย่างมาก โดยความร้อนจะทำให้ผักเน่าและรากจะเละ ซึ่งหากยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป อาจต้องเลิกทำกิมจิผักกาดในฤดูร้อน
ข้อมูลจากหน่วยงานสถิติของรัฐบาลแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ปลูกผักกาดบนที่สูงในปี 2023 มีพื้นที่เพียง 24,968 ไร่ ซึ่งลดลงเกินครึ่งจากเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ที่มีพื้นที่ 54,975 ไร่
ตามข้อมูลของสำนักงานพัฒนาชนบท หน่วยงานวิจัยด้านการเกษตรของรัฐ ระบุว่าสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้พื้นที่ปลูกผักกาดลดลงอย่างมากภายใน 25 ปีข้างหน้า เหลือเพียง 275 ไร่เท่านั้น และภายในปี 2090 จะไม่สามารถปลูกผักกาดบนที่สูงได้อีกเลย
อุณหภูมิที่สูงขึ้นไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ผลผลิตลดลง นักวิจัยระบุว่า ฝนตกหนักแบบคาดเดาไม่ได้ และแมลงศัตรูพืชที่ควบคุมได้ยากขึ้น ในช่วงฤดูร้อนที่อบอุ่นและยาวนานกว่าเดิม ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผักกาดมีจำนวนลดลงด้วยเช่นกัน
ต่อให้ผักกาดสามารถรอดพ้นจากฤดูร้อนที่ยาวนานและรุนแรง เหตุการณ์สุดขั้ว เช่น ฝนตกหนักและพายุไต้ฝุ่น มาได้ แต่พวกมันอาจต้องเผชิญกับการติดเชื้อราที่ทำให้พืชเหี่ยวเฉา โดยเฉพาะในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวนับเป็นปัญหาสำคัญสำหรับเกษตรกร
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศกำลังสร้างความท้าทายใหม่ให้แก่อุตสาหกรรมกิมจิของเกาหลีใต้ โดยเฉพาะเมื่อต้องแข่งขันกับการนำเข้ากิมจิราคาถูกจากจีน ที่ส่วนใหญ่นำมาเสิร์ฟในร้านอาหาร ข้อมูลจากศุลกากรเกาหลีแสดงให้เห็นว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2024 จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม เกาหลีใต้นำเข้ากิมจิเพิ่มขึ้น 6.9% มูลค่า 98.5 ล้านดอลลาร์ โดยเกือบทั้งหมดมาจากจีน และเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
อ่านต่อ:
https://www.bangkokbiznews.com/environment/1143151
#กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจSustain #กรุงเทพธุรกิจEnvironment
2
1 บันทึก
10
1
6
1
10
1
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย