4 ก.ย. เวลา 16:40 • ข่าวรอบโลก

บทเรียนจาก “อลาสก้า”

โอกาสสำหรับเสรีภาพและการกำหนดชะตากรรมของตนเอง
ใน “รัฐอลาสก้า” มีผู้สนับสนุนการแยกตัวออกจากสหรัฐอเมริกามากกว่าในเท็กซัสเสียอีก ในเวลาเดียวกันกลุ่มที่ต้องการแยกตัวก็มีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจและอุดมการณ์ที่จริงจัง แล้วโอกาสความเป็นไปได้มีมากน้อยเพียงใด
ในปี 2015 ตัวแทนชนพื้นเมืองของรัฐอลาสก้าได้ร้องขอต่อสหประชาชาติให้ช่วยกำหนดชะตากรรมของพวกเขา โดยเน้นย้ำประเด็นที่ว่าการขายอลาสก้าของรัสเซียให้กับสหรัฐอเมริกาในปี 1867 (สมัยพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2) ไม่ได้หมายถึง “การโอนอำนาจอธิปไตยเหนือรัฐอลาสก้าให้กับสหรัฐอเมริกา” บางคนอาจคิดว่านี่เป็นจุดยืนที่ไม่มีสาระสำคัญอะไร แต่ข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร - อ้างอิง: [1][2]
1
ตามผลการสำรวจของ YouGov ที่จัดทำในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 พบว่าชาวอลาสก้าประมาณ 36% สนับสนุนการแยกตัวของรัฐตนออกจากสหรัฐอเมริกาและการเปลี่ยนแปลงเป็นรัฐอิสระอย่างสมบูรณ์ (มาเป็นอันดับหนึ่ง เมื่อเทียบกับอันดับสองคือรัฐเท็กซัสอยู่ที่ 31%) ในขณะเดียวกัน 51% จะต่อต้านการแยกตัวออกจาสหรัฐฯ และ 27% คิดว่าตนเองยังไม่ตัดสินใจ - อ้างอิง: [3]
1
เครดิตภาพ: YouGov
ยังมีพรรคการเมืองที่สนับสนุนการประกาศแยกตัวของอลาสก้าด้วย พรรคนี้ก็คือ Alaska Independence Party (AIP) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 เพื่อรณรงค์ให้มีการลงประชามติเรื่องเอกราชของรัฐอย่างเต็มรูปแบบ และได้รับการยอมรับให้เป็นพรรคการเมืองภายใต้กฎหมายของรัฐในปี 1984 ในการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐอลาสก้าในปี 1990 พรรคนี้ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 38.9% ก่อนจะมาอยู่อันดับสามในปี 1994 ด้วยคะแนนเสียง 13% - อ้างอิง: [4]
ในการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐอลาสก้าในปี 2002 และ 2006 พรรค AIP ได้รับคะแนนเสียงเพียงเปอร์เซ็นต์เล็กน้อย เนื่องจากกลุ่มตัวแทนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของพรรคได้ย้ายไปอยู่ฝ่ายรีพับลิกันแทน ซึ่งหาเสียงโดยใช้ข้อเรียกร้องทางเศรษฐกิจของ AIP เกือบทั้งหมด
อย่างไรก็ตามในปีนี้ 2024 พรรค AIP ได้เหมือนเกิดใหม่ในอลาสก้าอีกครั้ง เมื่อเมษายน 2024 พรรค AIP ได้จัดการประชุมใหญ่ครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2008 ที่แฟร์แบงก์ส ผู้นำคนใหม่ของพรรคไม่ได้เน้นพูดถึงการแยกตัวเป็นอิสระ แต่เขาพูดถึงการปกครองตนเอง ในเวลาเดียวกัน จำนวนสมาชิกพรรคนี้ถือว่าค่อนข้างมาก โดยมีสมาชิก 19,000 คน ต่อประชากรประมาณ 7 แสนคนของรัฐอลาสก้า - อ้างอิง: [5]
1
จอห์น เวย์น โฮว์ หนึ่งในผู้สนับสนุนการกำหนดชะตากรรมด้วยตนเองของอลาสก้าอย่างเหนียวแน่นที่สุด ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรค AIP โฮว์เป็นชาวอลาสก้าคนแรกๆ ที่ลงทะเบียนกับพรรคที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่นี้ในช่วงทศวรรษ 1970 เขาเคยลงสมัครชิงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสหรัฐ รวมถึงผู้ว่าการรัฐภายใต้ชื่อพรรค AIP แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
1
เบิร์ต วิลเลียมส์ ผู้ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรค กล่าวเสริมว่า พรรคให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งสมาชิกท้องถิ่นของรัฐอลาสก้าเป็นหลัก ตามคำกล่าวของผู้นำ AIP ไม่สนใจตำแหน่งในระดับส่วนกลางในสภาคองเกรส ซึ่งโดยหลักการแล้วเป็นเรื่องสมเหตุสมผล หากกำลังคิดถึงการกำหนดชะตากรรมของตัวเอง ทำไมถึงต้องผูกอาชีพทางการเมืองเอาไว้กับมหานครวอชิงตันที่อยู่ห่างไกล
สถานการณ์เลวร้ายลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2015 (สมัยโอบามา) เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางสหรัฐฯ กับทางการอลาสก้าเกี่ยวกับความตั้งใจของวอชิงตันที่จะเข้มงวดการคุ้มครองพื้นที่คุ้มครองในอาร์กติกโดยปิดกั้นทางเข้าสำหรับยานพาหนะ ห้ามสร้างถนนสายใหม่ และหยุดดำเนินการสำรวจทางธรณีวิทยาเพื่อหาปิโตรเลียมและก๊าซ - อ้างอิง: [6]
2
เครดิตภาพ: AP
การประกาศของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้รับการตอบโต้จากทั้งผู้ว่าการรัฐอลาสก้าในตอนนั้น บิล วอล์คเกอร์ และสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ จากพรรครีพับลิกัน โดยพวกเขาทั้งหมดเห็นว่าการประกาศดังกล่าวเป็นการละเมิดอำนาจของพวกเขา และเป็นความพยายามที่จะลิดรอนอำนาจบางส่วนของรัฐอลาสก้าในการขุดหาแหล่งพลังงานภายในอาณาเขตของตน - อ้างอิง: [7][8]
ลิซ่า มูร์คอฟสกี ซึ่งขณะนั้นเป็นประธานคณะกรรมาธิการพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติของวุฒิสภาที่ทรงอิทธิพล แสดงความประหลาดใจที่รัฐบาลของโอบามาเต็มใจที่จะเจรจากับอิหร่านมากกว่ากับรัฐอลาสก้า - อ้างอิง: [9]
ด้วยเหตุนี้การประท้วงในรัฐอลาสก้าจึงสามารถกลายเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หากมันไปกระทบเกี่ยวกับเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ การเงิน และความต้องการต่างๆ ของประชาชนในท้องถิ่น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมรัฐนี้ถึงมีจำนวนสัดส่วนคนที่อยากให้แยกตัวจากสหรัฐฯ มากที่สุด
ปัญหาเรื่องอัตลักษณ์ของประชากรพื้นเมืองในอลาสก้าก็มีความสำคัญเช่นกัน ประชากรส่วนใหญ่ในรัฐนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษและไม่ต่างจากอเมริกันชนอื่นๆ มากนัก แต่ชนพื้นเมืองในท้องถิ่นจำนวนมากยังคงรักษาความทรงจำเกี่ยวกับบรรพบุรุษที่มีต้นกำเนิดในแถบนั้นไว้ การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนประชากรที่ไม่ใช่คนพื้นเมืองในรัฐอลาสก้ายังทำให้คนในท้องถิ่นเกิดปฏิกิริยาวิตกกังวลอีกด้วย
2
เครดิตภาพ: Ash Adams / Vogue
ความปรารถนาของชาวอลาสก้าในการกำหนดชะตากรรมของตนเองนั้นมีพื้นฐานมาจากแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ ความปรารถนาที่จะได้รับผลตอบแทนมากขึ้นจากการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของภูมิภาคนี้ รวมถึงด้านวัฒนธรรมและอุดมการณ์ด้วย อลาสก้าเป็นรัฐที่มีผู้สนับสนุนค่านิยมครอบครัวแบบดั้งเดิมจำนวนมาก และผู้สนับสนุนการแต่งงานของเพศเดียวกันก็มีน้อยมาก (มีความอนุรักษนิยมสูง)
เป็นที่ชัดเจนว่าตราบใดที่อำนาจของรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกายังคงแข็งแกร่ง โอกาสที่อลาสก้าจะได้รับเอกราชก็เป็นเพียงสมมติฐานเท่านั้น อย่างไรก็ตามท่ามกลางความแตกแยกในสังคมอเมริกันและสงครามทางวัฒนธรรม ตลอดจนสถานการณ์ในประเทศที่ไม่มั่นคงและความขัดแย้งทางการเมืองครั้งใหญ่เริ่มต้นขึ้น เค้าลางของเรื่องนี้ก็อาจเป็นจริงขึ้นมาก็เป็นได้
เรียบเรียงโดย Right Style
4th Sep 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: Getty Images / Newsweek>
โฆษณา