5 ก.ย. 2024 เวลา 03:56 • ความคิดเห็น
1. คุณทราบได้อย่างไรว่าเขาทุจริต และการทุจริตเป็นไปโดยเจตนาหรือไม่ ตรงนี้สำคัญมากนะคะ อย่าด่วนตัดสินเด็ดขาด ระวังหน้าแหก เพราะประสบการณ์ชีวิตเรา เคยอวดฉลาด จนหน้าแหกมาหลายครั้ง เรื่องเล่าเยอะไปหมด ระดับผู้ใหญ่ทั้งนั้น!
2
2. การฝากงาน ไม่ควรเรียกว่าเป็นบุญคุณ มันอาจเป็นเพียงการแนะนำ? เพราะหากคุณห่วยแตก คนฝากก็อาจหน้าแหกได้เหมือนกันค่ะ ดังนั้นความสามารถคุณต้องมีอยู่บ้าง คนฝากงานจึงกล้าฝากงานให้คุณ ที่สำคัญ คนรับฝากเด็กห่วยด้วยหรือไม่? ถ้าคนรับฝากเด็กห่วย รับคนห่วยเข้ามาทำงาน คนรับ ก็ต้องหน้าแหกก่อน ถ้าคนรับเด็กห่วย มันจะห่วยทั้งระบบค่ะ เพราะหลับหูหลับตารับคนเข้าทำงาน คนรับไม่พ้นจะโดนยำเละ ทั้งขึ้นทั้งล่อง
3
3. หากพบว่าเขาทุจริตจริง แถมเจตนาชัดเจน ใครเป็นคนทราบก่อน พบหลักฐานก่อน คนนั้นต้องทำหน้าที่แจ้งหน่วยงานองค์กรรับผิดชอบ เรียกว่าผู้แจ้งเบาะแส ( Whistleblower) หากคุณเป็นคนพบ วิธีที่ง่ายที่สุด คุณก็แค่ส่งจดหมายปิดผนึก เพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบความชัดเจน ไปยังหน่วยงานภายใน เช่น ฝ่ายตรวจสอบ หรือฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล เพราะมันหมดหน้าที่ในฐานะพนักงานที่ดีของคุณแล้ว หน้าที่ต่อจากนี้ ให้คนที่มีหน้าที่โดยตรงไปจัดการกันเอาเองค่ะ
มันมีเทคนิคเอาตัวรอดหลายวิธีมาก
อย่าพยายามทำตัวเป็นฮีโร่ในที่ทำงาน
เพราะฮีโร่มักจะตายคนเดียวในท้ายที่สุดค่ะ
Whistleblower
โฆษณา