5 ก.ย. เวลา 07:47 • ธุรกิจ
1. พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนเรื่องโทษทุกข์ โดยไม่เคยทรงระบุเพศหรือวรรณะ โทษทุกข์เกิดขึ้นได้เป็นแสนล้านโกฎิเสี้ยววินาที ตั้งแต่แรกคลอดไปจนตาย ดำผุดดำว่ายแล้วแต่บุญกรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ดังนั้นไม่ว่าเพศใด การผิดศีล ย่อมตามมาด้วยโทษภัยทัดเทียมด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
2. ความต่างอยู่ตรง "เจตนาหรือไม่" ซึ่งจะมีผลต่อ "ดีกรีความบาป"ยกตัวอย่างเช่น หญิงสาวนางหนึ่งถูกชายล่อลวงด้วยคำหวานหลอกล่อให้ไปสมสู่กับตน โดยที่หญิงนางนี้เชื่อลมปากว่า ชายคนนั้นโสดไร้พันธะ เท่ากับว่าฝ่ายชายเจตนากระทำผิดศีล นอกกายนอกใจภรรยาตน ขณะที่หญิงสาวนางนั้น ไม่มีปัญญาจะรู้ได้ หรือไม่ได้ใช้สติปัญญา จึงกระทำผิดศีล ก่อบาปเวรขึ้นแก่ตน นี้คือ เวลา สถานที่ และบุคคลคนทั้งคู่ ล้วนเป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ที่ทำให้เกิดการเวียนว่ายไม่รู้จักจบสิ้น
3. ตามข้อ 2 หากฝ่ายหญิง มีสติปัญญารู้ได้ ภายหลังจากที่ได้กระทำผิดศีลไปแล้ว จิตย่อมเกิดความเศร้าหมอง เพราะเกิดความทนทุกขเวทนา แต่หากหญิงสาวค่อยๆ ละคลายความเศร้าหมอง และตั้งใจที่จะไม่กระทำเหตุอย่างนี้อีก ก็เท่ากับเป็นการเร่งสั่งสมบุญ นำพาให้กุศลจิตเกิด อกุศลจิตค่อยๆดับ แต่กรรมที่ได้กระทำไปแล้ว ย่อมต้องตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แก้กรรมก็ไม่ได้ ติดสินบทท้าวเวสุวรรณก็ไม่ได้
ขอโมทนาคำถามนะคะ
Namo buddhaya
1
โฆษณา