5 ก.ย. เวลา 13:50 • ความคิดเห็น
เรื่องราว ของคำบุญกุศล ชีวิตของฆราวาสนั้น เราใช้อารมณ์ มีความโลภโกรธหลง เราไปเสาะแสวงหาปัจจัยมา เราก็ใช้อารมณ์กรรมมันมากมายก่ายกอง เมื่อเรารู้ว่า กายนี้ มีพระคุณพ่อแม่อยู่ เราก็ใช้กายนี้ ไปทำมาหากิน กายนี้ก็เหน็ดเหนื่อย กายพ่อแม่ที่เราอาศัยก็เหน็ดเหนื่อยไปด้วย คราวรนี้ เมื่อเราต้องการบุญ เราก็มาทำบุญกับเครื่องหมายศาสนา คือผ้ากาสาวพัสตร์
..เมื่อเราจะทำบุญ เราก็ทำของเราเองได้ ไปนั่งหน้าพระ กราบพระ อธิบาย ถวายต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถวายไว้บำรุงศาสนาด้วยความบุญสุทธิใจเต็มใจ กรวดน้ำเสัียก่อน เมื่อจะไปถวาย ตักบาตร เราก็ดูที่ผ่าเหลืองอย่างเดียว เครื่องหมายศาสนา ไม่ต้องไปมองยึดตัวบุคคล
กราบก็กราบเครื่องหมายศาสนา เครื่องหมายของธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กรวดน้ำ อุทิศกุศล ก็ของพระธรรมคำสอนท่านอุทิศให้ กล่าวพูดให้กายหูได้ยิน กายบิดามารดาอนุโมทนา เราเกิดมาเพื่อสลัดกรรมออกไป ก็ทำให้บริสุทธิ์ อย่าไปเรียกร้องเอาคืน จะได้ส่งถึงเจ้ากรรมนายเวร ผู้ที่อุปการะเรา
..ขอเมื่อหลุดจากมื้อเรา ถวายกลับเครื่องหมายธรรม เราก็ไม่ต้องไปสนใจ นั่นเป็นเรื่ิงของเค้า เพราะจองหรีไม่มีในโลก เงินสาธุ น้ำเลือดน้ำหนอง ความเหน็ดเหนื่อย ที่เค้าน้อมถวายต่อผ้าเหลือง นั้น เป็นเรื่องของผู้ที่รับไป รับผิดชอบกันเอง ในคำว่า กรรม..พระที่ท่านรู้จัก ท่านก็ไปทำให้ถูกวิธี นั่นเรื่องของภิกษุที่ครองผ้า ไม่ใข่เรื่องของเรา
แล้วเราก็มีสติปัญญารู้นี่ เราก็เลือกที่จะทำ ..สถานที่ ผู้ที่ครองผ้าเหลือง .เราก็เลือกที่จะทำได้ เมื่อจะทำเงินบาทเดียวก็ทำได้ ..ยิ่งขอทานเหนื่อยาก ยาจกก็ทำได้ นอบน้อมทำเลย เหมือนขอทานที่ ถวายข้าวในกะลา ต่อพระพุทธเจ้า แล้วท่านก็ฉันข้าวจากกะลาของยาจก เพราะทั้งเนื้อทั่งตัวของยาจก มีเพียงข้าวในกะลา .. ทำไปเถิด ..สิ่งที่เป็นสักขีพยานให้แก่เรา คือ ธาตทั้งสี่ที่ประกอบเรือนกาย บันทึกการกระทำของเรา
มีน้องที่ที่มีความคิดแบบนี้ เราก็บอกอย่าไปคิดเลย เราไปบังคับใครเค้าไม่ได้ แต่เราต้องการบุญกุศลของเรา เราก็บอกให้เค้าทำ หัดทำบุญหน้าพระ ที่บ้านก็ได้ ไม่รีบร้อน ค่อยๆทำไป วางปัจจัยหน้าพระ ทำทุกวัน วันละบาท มีใครมาบอกบุญ หรือว่า ขอให้ช่วยเราก็มาลาปัจจัยนี้จากหน้าพระ แบ่งไปทำบุญ หรือ ให้ทาน ทำเองตรงหน้าหิ้งพระที่บ้านเองเอง แม่บ้านแม่เรือน เจ้าที่ที่บ้าน เค้าก็จะได้อนุโมทนาด้วย
มีพระท่านบอกว่า เจอะเจอผู้ที่ครองผ้าแบบนี้ ก็บรรจงสร้างบุญกุศลนอบน้อมไปเลย ดูผ้าเลลือง ไม่คาดเคลื่อนไปไหน ตั้งจิตนึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระอัครสาวก พระโมคคัลลา พรสารีบุตร พระอานนท์ พระกัสสปะ ชื่อสูงเราเอ่ย พูดไปเลย ในท่ามกลางดินฟ้าอากาศ ที่เป็นสักขีพยานการกระทำของเรา
เรื่องนี้ น่ะ เค้าเรียกว่า เอาบุญกุศลโป๊ะหัว เลย อยากทำไม่ดีนัก อยากมาดำรงตน ครองผ้ากาสาวพัสตร์เอง เรียกร้องครองเอง นักบวช บวชมาลอย อารมณ์กรรม อารมณ์โลภโกรธหลง มาครองแล้ว ไม่ทำตามรอยพระศาสดา เค้าก็ต้องรับผิดชอบ จิตของเค้าเอง บ้างที เค้ายังพูดว่า เมื่ออยากทำชั่ว ก็อย่ามาครองผ้ากาสาวพัสตร์เลน มันจะเป็นกรรมหนัก มากทวีคูณ ยิ่งกว่าฆราวาสมากมายก่ายกอง
เรื่องพระจับ ปัจจัย ลองไปดูซิ ที่ว่าไม่จับปัจจัย บางทีใช้ปัจจัยมากมายไม่ต้องจับ เรื่ิองปัจจัย สมัยก่อนชาวบ้านเค้าช่วยซ่อมกุฏศาลา เค้าใช้แรงกายไปช่วย ไปเลื่อยไม้ ในป่า สมัยนี้ ยุคสมัยมันเปลี่ยนไป ผู้มาบวช วัดวาอาราม ก็ใช้น้ำปะปา ไฟฟ้า เจ็บป่วยเดินทางรักษา ต้องใช้เงินปัจจัยมั้ย
..ยุคสมัยมันเปลี่ยนไป ..หากพระท่านอยู่ป่าอยู่เขา แบบสมัยต้นพุทธกาล เรื่องปัจจัยก็ไม่ เพราะท่านก็ทิ้งเวียงวัง ยศฐานบรรดาศักดิ์ เดินเข้าป่า ..แต่สมัยนี้ ก็มีผู้ที่ที่มาบวชขอนิสัย ..สิบวันเจ็ดวัน สามเดือน นั่นก็ยังดีที่เค้าได้เข้ามาฝึกหัด เรียนรู้ แต่นั้นแหละ มันก็ขึ้นอยู่กับคนที่เค้ามาเข้ามาขอบวช..บวชมาทำอะไร ได้อะไรกลับไป
โฆษณา