6 ก.ย. 2024 เวลา 01:11 • สุขภาพ

สายดื่มควรระวัง “ยาดองผสมเมทานอล” สิ่งที่จะพรากชีวิตคุณไปได้ตลอดกาล

จากเคสซุ้มยาดองที่พรากชีวิตคนไปเกือบ 10 ราย และมีผู้บาดเจ็บเกือบ 50 คน สร้างความแตกตื่นให้กับและความกังวลให้กับประชาชนอย่างมาก เพราะในยาดอง - เหล้าเถื่อน มีการผสม “เมทานอล” หรือเมทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสารอันตรายที่ไม่สามารถกินได้เหมือนกับแอลกอฮอล์ทั่วไป
เมทานอล คืออะไร?
เมทานอล (Methanol) หรือ เมทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง ที่มีความเป็นพิษมาก สามารถดูดซึมเข้าทางผิวหนังและการหายใจ หากสูดดมเมทานอลเข้าไปจะเกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้หลอดลมอักเสบ หรืออาจเกิดการเป็นพิษเฉียบพลัน หากดื่มเมทานอลเข้าไปจะทำให้พิษกระจายเข้าสู่กระแสเลือดทันที ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาจทำให้ตาบอดได้ สามารถรุนแรงได้มากสุดถึงขั้นเสียชีวิตจากไตอักเสบและกล้ามเนื้อตายได้เลย
โดยปกติแล้วเมทานอลจะถูกใช้ในอุตสาหกรรม ตาม พรบ.วัตถุอันตราย ที่ควบคุมโดยกรมโรงงาน ถูกระบุไว้ว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 (วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออกหรือการมีไว้ในครอบครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด) และเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง) ตาม พรบ.วัตถุอันตราย ควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
คุณสมบัติของเมทานอล
เมทานอลเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นแอลกอฮอล์ ระเหยได้ง่ายและติดไฟ มักถูกใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น การใช้เป็นเชื้อเพลิง เป็นตัวทำละลาย และเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกและสารเคมีอื่น ๆ
อัตราส่วนของเมทานอลที่เข้าสู่ร่างกายได้และไม่เป็นอันตราย
-การรับประทาน: ห้ามรับประทานโดยเด็ดขาด
-การสัมผัส: ไม่เกิน 40 mg/kg ต่อวัน
-การสูดดม: ไม่เกิน 200 ppm หรือ 260 mg/m^3
ซึ่งเคสของซุ้มยาดองที่เป็นข่าวได้ผสมเมทานอลลงไปแทนเอทานอลที่สามารถกินได้ เนื่องจากผู้ผลิตยาดอง - เหล้าเถื่อน ล็อตนี้ ไม่สามารถจัดหาเอทิลแอลกอฮอล์ได้ จึงซื้อเมทิลแอลกอฮอล์หรือเมทานอลมาผสมแทน ซึ่งคาดว่าเมทานอลมีต้นทุนถูกกว่าเท่าตัว และยาดอง - เหล้าเถื่อน ล็อตนี้ได้ถูกจำหน่ายให้กับยาดอง 18 ซุ้ม
หากไม่อยากเสี่ยงอันตรายจากเมทานอล ควรเลือกดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ หรือควรงดหรือเลิกแอลกอฮอล์ไปเลย เพราะนอกจากจะไม่มีความเสี่ยงแล้ว ยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย
#yologreennews #ข่าว #ข่าวรอบโลก #ความรู้รอบตัว #สิ่งแวดล้อม #น้ำทะเล #มหาสมุทร #มาแรง #ขึ้นฟีด #WMO #องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก #เกาะ #น้ำท่วม #เชื้อเพลิงฟอสซิล #โลกร้อน #fyp
โฆษณา