Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTVHD36
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
8 ก.ย. เวลา 05:45 • สุขภาพ
คัดกรองไขมันพอกตับ- มะเร็งตับ รู้เร็วช่วยป้องกันลดความเสี่ยงได้
มะเร็งตับ มะเร็งที่คร่าชีวิตอันดับหนึ่ง แต่หากเรารู้ทันความเสี่ยงได้ก็สามารถลดการเกิดโรคได้เช่นกัน เผยวิธีคัดกรองมะเร็งและไขมันพอกตับ!
โรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ การตรวจหาความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องสำคัญ คนไข้ส่วนใหญ่มักจะไปพบแพทย์ก็ต่อเมื่อมีอาการลุกลามหลายๆ อย่างแล้ว ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจเป็นประจำ โดยผู้ที่มีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป
● เพศชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป (เพศชายเสี่ยงมากกว่าเพศหญิงราว 2-3 เท่า)
● ผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซีในร่างกาย
● ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคตับแข็ง
● ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นประจำมายาวนาน
● ผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นประจำ
● ผู้ที่มีประวัติญาติสายตรงในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ
ตรวจสุขภาพตับ
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งตับ
ตรวจเลือดเพื่อหาระดับสารสารอัลฟ่าฟีโตโปรตีน (AFP) ซึ่งจะพบสูงขึ้นในผู้ป่วยมะเร็งตับ
● การตรวจทางรังสีวิทยา ได้แก่
● การทำอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
● การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography หรือ CT)
● การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
● อาการตรวจโดยใช้การฉีดสารทึบแสงร่วมด้วยเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยความผิดปกติของตับได้ดีขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการตรวจ ไขมันพอกตับ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมเอ็นจอยในการกินและการใช้ชีวิตมากเกินไป อย่างเครื่องไฟโบรสแกน (FIBROSCAN หรือ Vibration Controlled Transient Elastograply)
เครื่องตรวจวัดค่าไขมันตับและตรวจวัดค่าตับแข็ง ซึ่งใช้หลักการเดียวกับโซนาร์และอัลตร้าซาวด์ โดยการปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูงไปที่เนื้อตับ และตรวจวัดคลื่นที่สะท้อนกลับในหน่วยเดซิเบล/เมตร (dB/m) ซึ่งในเนื้อตับที่มีไขมันสะสมอยู่มากกว่าจะมีความเร็วเสียงสะท้อนกลับที่มากกว่าเนื้อตับที่มีไขมันน้อย การวัดค่าตับแข็งก็เช่นกัน ถ้าตับแข็งคลื่นเสียงจะผ่านได้เร็วขึ้น ดังเช่นที่เสียงผ่านของแข็งได้ดีกว่าน้ำ และผ่านน้ำได้ดีกว่าอากาศ
การตรวจไฟโบรสแกน (FIBROSCAN) เหมาะกับใครบ้าง?
จริงๆ แล้วการตรวจตับด้วยไฟโบรสแกนมีประโยชน์สำหรับทุกคน โดยข้อมูลประเทศจีนและฮ่องกงพบว่า ผู้ที่ไม่มีรูปร่างอ้วนและไม่มีอาการใดๆ กลับพบว่ามีไขมันเกาะตับสูงถึงร้อยละ 18 ในขณะเดียวกันผู้ที่รูปร่างท้วม หรืออ้วน ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีไขมันเกาะตับสูงถึงร้อยละ 60 ซึ่งความท้วมหรือความอ้วนที่ว่านี้ จะวัดโดยใช้ดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) คำนวณโดยน้ำหนักตัวหารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง แล้วคุณล่ะอ้วนหรือเปล่า?
ผลจากตรวจไฟโบรสแกน (FIBRO SCAN)
● ค่าตับแข็ง : ทำให้สามารถตรวจพบค่าตับแข็งหรือตับใกล้แข็งในผู้ที่ไม่มีอาการได้ และนั่นย่อมดีกว่ารอจนมีอาการ อย่างตาเหลือง ตัวเหลือง ขาบวม หรืออาเจียนเป็นเลือด เพราะจะได้รีบดำเนินการหาสาเหตุที่แน่ชัดว่าเป็นจากไขมันเกาะตับ ไวรัสตับอักเสบ หรือเพราะดื่มสุรามากเกินไป และวางแผนการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
● ค่าปริมาณไขมันในตับ : ค่าการตรวจที่ได้นี้จะเป็นสัญญาณเตือนที่จะบอกว่า คุณกำลังเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าคนที่ไม่มีไขมันในตับ ทั้งยังมีข้อมูลจากในหลายประเทศที่ระบุว่า ปริมาณไขมันในตับที่สูงมีความสัมพันธ์กับโอกาสการเกิดอัมพาตในอนาคตที่มากขึ้น
ทั้งนี้การตรวจพบไขมันเกาะตับเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้คุณเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการรักษาต่างๆ เร็วขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็มีหลากหลายวิธีตั้งแต่การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย และในกรณีของผู้ที่มีความเสี่ยงสูง อาจได้รับยาเพื่อช่วยลดไขมันในตับ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 3 และ โรงพยาบาลเปาโล
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ :
https://www.pptvhd36.com/health/care/5823
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTVHD36 :
https://www.facebook.com/PPTVHD36
YouTube :
www.youtube.com/@PPTVHD36
สุขภาพ
โรค
บำรุงร่างกาย
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย