Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MarketThink
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
8 ก.ย. 2024 เวลา 14:03 • การตลาด
สรุปรวม จิตวิทยาลูกค้า การตลาดน่าสนใจ จากงาน The Secret Sauce Summit 2024
งาน The Secret Sauce Summit 2024 มีหลาย Session ที่อธิบายถึงเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยาการตลาดไว้ได้อย่างน่าสนใจ
2
MarketThink สรุปประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ให้ในโพตส์นี้
2
-เริ่มกันที่ Session ของคุณ อรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อะแด็ปเตอร์ ดิจิตอล กรุ๊ป
ได้แชร์วิธีการสื่อสารตลาดให้แบรนด์ฝังไปถึงระดับความทรงจำของลูกค้า ผ่านหลักการที่เรียกว่า “MEMORY ATTENTION” ที่ประกอบด้วย
1. Repetition (การทำซ้ำ) - คอนเซปต์ก็คือ ถ้าเราเสนอ Message หรือข้อความเดิมซ้ำ ๆ ถี่ ๆ สมองของลูกค้าจะจำแบรนด์เราได้เอง
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากให้ลูกค้าจำได้ว่าสินค้าของเราเด่นเรื่องอะไร ดีกว่าคู่แข่งตรงไหน
ก็สื่อสารสิ่งนั้นซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เช่น การใช้สโลแกนเดิมซ้ำ ๆ ในทุกแคมเปญ แล้วลูกค้าจะจำได้เอง
โดยคุณอรรถวุฒิบอกว่าอันนี้เป็นท่าไม้ตายที่นักการตลาดยุคนี้ชอบใช้กันอยู่แล้ว
เป็นท่าที่เรียบง่ายแต่ได้ผลดี
2. Association (การเชื่อมโยง) - การสื่อสารเพื่อกระตุ้นให้ข้อมูลใหม่ ไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่ผู้บริโภครู้อยู่แล้ว จะทำให้ Message ของเรา สามารถเข้าไปอยู่ในความทรงจำของลูกค้าง่ายขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น การใช้อินไซต์ในชีวิตประจำวันของลูกค้ามาทำเป็นแคมเปญการตลาด
เช่น ถ้าเรามี Product ที่ช่วยเรื่องควบคุมน้ำหนัก เราอาจจะเลือกทำสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับของที่มีภาพจำว่ากินแล้วอ้วน อย่างเช่นของหวาน ของทอด และยิ่งเป็นของที่คนกลุ่มแมสคุ้นเคย ก็ยิ่งสร้างการเชื่อมโยงร่วมได้มาก
1
3. Novelty (ความแปลกใหม่) - ประสบการณ์ที่ไม่เคยเจอมาก่อน จะดึงดูดความสนใจและทำให้จดจำได้นานกว่า
เหมือนกับเวลาที่คนเราไปเที่ยวสถานที่ใหม่ ๆ เราจะจำสถานที่นั้นได้นาน ต่างจากที่เที่ยวที่เราไปมาหลายรอบแล้ว
โดยตรงนี้สามารถทำโดยการสื่อสารด้วยแนวทางที่แปลกใหม่ ที่คนอื่นในตลาดไม่ค่อยทำ
เช่น ออกแพ็กเกจจิงใหม่ ๆ ที่สะดุดตา หรือออกโปรโมชันแปลก ๆ
แต่จะเป็นท่าที่มีความท้าทายสูง เพราะของใหม่ที่คนจะประทับใจ ก็ต้องเป็นอะไรที่ดี แตกต่าง และน่าจดจำจริง ๆ
4. Emotional Resonance (อารมณ์) - อารมณ์ที่รุนแรง จะช่วยให้เราจดจำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น
เพราะคนเราจะสามารถจดจำช่วงเวลาที่ มีอารมณ์ที่รุนแรงได้ดีเสมอ เหมือนกับตอนเราอกหักครั้งแรก หรือถูกหวยครั้งแรก
ดังนั้นการสื่อสารโดยการใช้เพลง หรือหนังโฆษณาแนวดรามา ต่าง ๆ ที่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
ก็เป็นอีกท่าที่หลายแบรนด์นิยมใช้ช่วยให้ลูกค้าจำแบรนด์เรานานขึ้นได้เหมือนกัน..
-อีก Session ที่น่าสนใจเกี่ยวกับจิตวิทยาผู้บริโภคคือ “จิตวิทยาผู้บริโภคในปี 2025”
โดยคุณมัณฑิตา จินดา เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก Digital Tips Academy
2
คุณมัณฑิตา บอกว่า ก่อนคนเราจะตัดสินใจซื้ออะไรสักอย่างจะใช้สมองทั้งหมด 2 ส่วน
คือ “สมองส่วนสัญชาตญาณ” และ “สมองส่วนเหตุผล”
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมนุษย์จะใช้สมองส่วนสัญชาตญาณในชีวิตประจำวัน
มากกว่าเพราะใช้พลังงานน้อยกว่า เป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
สำหรับตัวอย่างการใช้สมองส่วนสัญชาตญาณ ก็เช่น
“ฉนัไม่อายกจะเชอื่เลยว่า ฉนัเข้าใจสงิ่ที่ฉนักำลงัอาน่อู่ยนี้
มนัเปน็ปฎกราากรณ์ของคาวมคดิของม์ษุยน”
จะเห็นได้ว่าแม้ข้อความข้างบนจะเขียนผิด แต่เราก็ยังพออ่านออกและเข้าใจความหมายได้อยู่
นี่คือตัวอย่าง ว่าเรากำลังใช้สมองส่วนสัญชาตญาณอยู่
สำหรับตัวอย่างการใช้สมองส่วนเหตุผล ก็เช่น การถามว่า “575 * 97 = ?”
โดยการคำนวน หรือ การแปลภาษา จะทำให้เราใช้สมองส่วนนี้เยอะกว่า
1
พอรู้แบบนี้แล้ว ในเรื่องของการตลาด ถ้าอยากจะขายดี โจทย์ก็คือทำยังไงก็ได้ให้ลูกค้า
ใช้สมอง “ส่วนสัญชาตญาณ” ให้ได้มากที่สุด
ยกตัวอย่างเช่น
-ถ้าทำโปรโมชัน ก็อย่าตั้งเงื่อนไขที่มันยากเกินไป ลูกค้าจะไม่อยากเล่น
-ถ้าทำ Media หรือ Artwork ก็ควรอ่านง่าย ๆ ตัวหนังสือไม่เล็ก จนลูกค้าต้องเพ่งเพื่ออ่าน
3
โดยคุณ มัณฑิตา ได้ยกเคสของ การกระตุ้นให้ลูกค้าใช้สมองส่วนสัญชาตญาณด้วยเคสของ โฆษณาจากแบรนด์นาฬิกาหลาย ๆ แบรนด์บนโลก ที่จะชอบมีการตั้งเข็มเวลาไว้ที่ 10:10 น.
เพราะ เข็มชั่วโมง และ เข็มนาที จะมีลักษณะเหมือน “รอยยิ้ม” ช่วยให้สมองของลูกค้าเข้าใจแบบไว ๆ ว่า แบรนด์เป็นมิตร และเข้าถึงง่าย มากกว่าการตั้งเวลาอื่น ๆ ..
1
#จิตวิทยาผู้บริโภค
#การตลาด 2025
#TheSecretSauceSummit2024
ธุรกิจ
การตลาด
159 บันทึก
93
1
165
159
93
1
165
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย