13 ก.ย. 2024 เวลา 14:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ยอมรับว่า ครั้งแรกที่ดูจากรูป มันเหมือนยานอวกาศที่แปลงแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อน

แต่มันดันเจ๋งกว่านั้นเยอะเลย
NASA ประสบความสำเร็จในการนำ ระบบใบเรือสุริยะคอมโพสิตขั้นสูง (Advanced Composite Solar Sail System หรือ ACS3) ขึ้นสู่วงโคจร แล้วกางใบเรือสำเร็จเป็นครั้งแรก ใบเรือนี้จะพายานอวกาศโคจรรอบโลกโดยใช้เพียงโฟตอนจากดวงอาทิตย์เพื่อเร่งความเร็ว
หลักการนี้คล้าย ๆ กับเรือใบในทะเลที่ใช้ลมเป็นแรงผลักให้เรือไปข้างหน้า ซึ่งใบเรือขนาดใหญ่ของ ACS3 จะสะท้อนโฟตอนจากดวงอาทิตย์ เมื่อโฟตอนกระทบใบเรือ มันจะถ่ายโอนโมเมนตัมให้กับใบเรือ ทำให้เกิดแรงผลักเล็ก ๆ ที่สามารถสะสมและเร่งความเร็วของยานอวกาศได้ในที่สุด ACS3 จึงเป็นเหมือน "เรือใบ" ที่แล่นในอวกาศโดยใช้ "ลมสุริยะ" หรือโฟตอนจากดวงอาทิตย์
ยานอวกาศขนาดเล็กนี้ ใช้โครงสร้างที่ทำจากพอลิเมอร์และคาร์บอนไฟเบอร์ที่ยืดหยุ่นได้เพื่อกางใบเรือของยาน เมื่อกางออก ใบเรือมีขนาดประมาณ 80 ตารางเมตร ซึ่งมีขนาดเท่ากับอพาร์ตเมนต์ขนาดเล็กเลยทีเดียว
สำหรับ ACS3 มีเป้าหมายในการเก็บข้อมูล สำหรับระบบเรือใบสุริยะของ NASA โดยยานนี้จะโคจรรอบโลกที่ระดับความสูงประมาณ 1,000 กิโลเมตร เหนือพื้นโลก และน่าจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในวันที่ท้องฟ้าสดใส เนื่องจากใบเรือมีการสะท้อนแสง และ NASA จะใช้ข้อมูลการบินที่ได้รับ อกแบบระบบใบเรือสุริยะคอมโพสิตในอนาคตสำหรับดาวเทียมเตือนภัยสภาพอวกาศ การเฝ้าระวัง และภารกิจสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์
#TechhubUpdate #NASA #ACS3
⭐️ ติดตามอัปเดตข่าวไอที How To , Tips เทคนิคใหม่ ๆ ได้ทุกวัน
ค้นหาข่าวที่อยู่ในความสนใจได้ที่ >> www.techhub.in.th
มีข้อสงสัยทัก LINE Techhub : https://lin.ee/Sietmnt
โฆษณา