Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Sawakami Asset Management (Thailand)
•
ติดตาม
9 ก.ย. เวลา 03:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เช็กลิสต์ 5 พฤติกรรมเสี่ยงเป็นหนี้! คุณเป็นแบบนี้อยู่หรือเปล่า?
ชวนเช็กให้ชัวร์ พฤติกรรมเสี่ยงสร้างหนี้ ทั้ง 5 ข้อนี้ คุณกำลังทำอยู่หรือเปล่า? ในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะด้วยค่าครองชีพที่สูงขึ้น และยังรวมถึงการเข้าถึงการช้อปปิ้ง จับจ่ายใช้สอยนั้นง่ายมากๆ บางทีเราก็เผลอใช้ชีวิตแบบไม่ทันคิดซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นหนี้ได้ บลจ.ซาวาคามิ (ประเทศไทย) จึงขอชวนทุกคนเช็กแต่ละข้อไปพร้อมกัน ว่าข้อไหนตรงกับคุณ รวมถึงจะแก้ไขพฤติกรรมเหล่านี้อย่างไร
●
ไม่มีเป้าหมายการใช้เงิน
รู้หรือไม่ว่า ตัวการก่อหนี้ให้คุณโดยไม่รู้ตัว นั่นก็คือการ “ไม่มีเป้าหมายการใช้เงิน” นั่นคือการไม่เคยวางแผน แบ่งสัดส่วนการใช้เงิน ไม่มีสัดส่วนเงินออมที่ชัดเจน ทำให้เมื่อรายได้เข้ามาเท่าไหร่ ก็ใช้ไปตามที่มี จนสุดท้ายก็ไม่มีเงินเหลือเก็บ รวมถึงกระตุ้นให้เราพร้อมจ่าย พร้อมเป็นหนี้เพื่อซื้อสิ่งที่ต้องการด้วยเช่นกัน
วิธีแก้ไข
- หาแรงบันดาลใจ ตั้งเป้าหมายการออม
- แบ่งสัดส่วนการใช้เงินให้ชัดเจน เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เงินออม เงินลงทุน เป็นต้น
●
ไม่รู้ว่าตัวเองมีหนี้เท่าไหร่
หากไม่เคยสนใจเลยว่าในแต่ละเดือน มีภาระหนี้ที่ต้องชำระเท่าไหร่ มียอดหนี้รวมทั้งหมดเท่าไหร่ สุดท้ายก็จะไม่เกิดความตระหนักว่าต้องวางแผนปิดหนี้ยังไง นำไปสู่การเสียดอกเบี้ยทบต้น จนอาจจะไม่สามารถรับมือได้อีกต่อไป
วิธีแก้ไข
- ทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย เพื่อให้เห็นยอดเงินที่เข้ามาและรายจ่ายที่ออกไปในแต่ละเดือน เพื่อปรับแผนการใช้เงินให้เหมาะสม
- พยายามจ่ายหนี้ให้ตรงเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระดอกเบี้ยผิดนัด และไม่สร้างหนี้เพิ่มเติม
●
ไม่มีเงินเก็บสำรองฉุกเฉิน
ในวันที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น เช่น อุบัติเหตุ การเจ็บป่วยของตัวเองหรือครอบครัว แต่ไม่มีเงินสำรองไว้ ในกรณีนี้ ก็อาจนำไปสู่การกู้หนี้ยืมสินเพื่อมาใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินนั่นเอง
วิธีแก้ไข
- แบ่งสัดส่วนเงินเก็บสำรองฉุกเฉินทุกครั้งที่ได้รับจากรายได้
- ทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพเพื่อแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการรักษา
●
ยอดหนี้แตะ 45% ของรายได้
ลองรวมหนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือนทั้งหมด แล้วคำนวณโดยใช้สูตรการตรวจสุขภาพทางการเงิน Debt Service Ratio (DSR) ดูว่า มากเกิน 45% ของรายได้หรือเปล่า หากใช่ นั่นแปลว่าสภาพคล่องการเงินอาจมีปัญหา เพราะเงินเดือนเกือบครึ่งหนึ่งถูกจ่ายไปกับหนี้เก่า ซึ่งถ้าต้องคำนวณการเสียภาษี ค่าประกันสังคม หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ในแต่ละเดือนแล้ว อาจเหลือเงินใช้ในชีวิตเพียงน้อยนิด และอาจนำไปสู่การกู้หนี้ยืมสินมาหมุนเวียนในชีวิตได้
วิธีแก้ไข
- พิจารณาจัดการหนี้ด้วยการรวมหนี้กับธนาคาร
- หารายได้เพิ่มเพื่อมาเสริมสภาพคล่อง
●
กู้หนี้ใหม่ มาจ่ายหนี้เก่า
ถ้าคุณเริ่มหาเงินกู้จากแหล่งใหม่มาจ่ายแหล่งเก่า นั่นแปลว่าสถานการณ์ทางการเงินมาถึงขั้นวิกฤติแล้ว และการหมุนเงินในลักษณะนี้มีแต่จะทำให้การจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ และอาจหมดหนทางจนต้องไปกู้เงินนอกระบบที่เจอกับดอกเบี้ยสูงขึ้นไปอีก
วิธีแก้ไข
- ปรึกษาหรือเจรจาขอประนอมหนี้ กับเจ้าหนี้ต่างๆ เช่น ธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน เพื่อขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระ ขอประนอมหนี้ ขอลดดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นต้น
การเป็นหนี้ เป็นการนำเงินอนาคตมาใช้ล่วงหน้า และต้องเสียเงินเพิ่มในรูปแบบของอัตราดอกเบี้ย ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตไม่มากก็น้อย และนอกจากเช็กลิสต์ รวมทั้งวิธีแก้ไขที่กล่าวมานี้ คุณก็จำเป็นต้องจัดการในอีกหลายๆ ด้านเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ และหลีกเลี่ยงไม่ให้ก่อปัญหาเดิมซ้ำ
จัดการแก้ปัญหาหนี้ยังไงให้อยู่หมัด
✓
ปรับ Mindset
การบริหารจัดการเงิน มีเป้าหมายในการใช้เงินที่ชัดเจน มีการแบ่งเงินออมและลงทุนเพื่อความมั่นคงในอนาคต
✓
ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
การซื้อความสุขให้ตัวเองเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่หากบ่อยเกินไป ก็จะทำให้ติดนิสัยใช้จ่ายฟุ่มเฟือยได้ อาจจะต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนว่า คุณจะใช้จ่ายเพื่อความสุขเท่าไหร่ต่อเดือน และห้ามใช้เกินจากนั้น
✓
หารายได้หลายช่องทาง
การมีรายได้มากกว่า 1 ช่องทาง จะช่วยเสริมสภาพคล่องการเงิน ให้มีเงินหมุนเวียน เงินเก็บมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเป็นหนี้
จัดลำดับการจ่ายหนี้
✓
เริ่มจากหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงสุดก่อน แล้วไล่ระดับลงมา
สุดท้ายนี้ คุณควรสำรวจและประเมินสถานการณ์การเงินอยู่เสมอ เพราะชีวิตในวันข้างหน้าอาจต้องเผชิญความไม่แน่นอนในหลายด้าน การหมั่นตรวจสอบสุขภาพทางการเงิน ก็เพื่อให้รู้ว่าควรปรับแผนการบริหารเงินอย่างไรให้เหมาะกับสถานการณ์นั้นๆ และคิดหาทางออกเมื่อเจอปัญหา โดยไม่นำไปสู่การเป็น “หนี้”
อ้างอิง:
https://www.tisco.co.th/th/advisory/financial-literacy-jun24.html
https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1577
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/tips-for-you/7-signals-debt.html
วางแผนการเงิน
หนี้
หนี้ครัวเรือน
3 บันทึก
3
3
3
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย