9 ก.ย. เวลา 05:45 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เปิดเหตุทำไม คนไทยติดหรูสวนทางรายได้และเงินในกระเป๋า

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการตลาดในหัวข้อ “Unstoppable Luxumer” สะท้อนพฤติกรรมคนไทย ชีวิตติดแกรม อยากหรูแม้ไม่มีเงินในกระเป๋า
ผศ.ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร ผู้ช่วยคณบดีงานวิชาการ หัวหน้าสาขาการตลาด และอาจารย์ที่ปรึกษางานสัมมนาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ปรากฏการณ์การบริโภคแบบ “ติดหรู ดู luxurious” เกิดเป็นเทรนด์ทางการตลาดที่น่าสนใจ แม้ในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีนัก ผู้คนก็ยังจะพยายามหารางวัลให้กับชีวิต สิ่งที่ดูว่าหรูหราอาจเป็นเพียงเครื่องดื่ม ขนม ของเล่นสะสม ราคาไม่ได้สูงมากนัก แต่ดูดี ตอบโจทย์ชีวิตของใครหลายคน
ปรากฏการณ์การบริโภคแบบ “ติดหรู ดู luxurious”
โดยปัจจุบันความหรูหราไม่ได้มีอยู่แต่ในสินค้าหมวดหมู่สินค้าแบรนด์เนมเท่านั้น แต่ยังแฝงอยู่ในสินค้าหมวดหมู่อื่นๆ ในชีวิตประจำ วันอีกด้วยจะเห็นได้ว่ากลุ่มตลาดอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทยเองก็มีแบรนด์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยมาพร้อมกับภาพลักษณ์พรีเมียมและราคาที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าในหมวดหมู่เดียวกัน และไม่ได้จำกัดอยู่แค่คนชั้นสูงหรือกลุ่มคนมีฐานะทางการเงินดีเลือกซื้อ กลับกลายเป็นสินค้าที่เข้าถึงได้กว้างขวางมากขึ้นในปัจจุบัน
CMMU และ Wisesight ได้เผยผลการวิเคราะห์ ข้อมูลบน Social Media ซึ่งได้มีการจัดทำร่วมกันจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 1,018 คน และพบว่าผู้ชายติดหรูุมากกว่าผู้หญิง โดยผู้ชายมีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าราคาสูงและสินค้าหรู ในกลุ่มสินค้าประเภทอุปกรณ์เทคโนโลยีมากที่สุดโดยเฉพาะ Apple รองลงมาเป็นกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องแต่งกายและแฟชั่น มาแรงคือ Louis Vuitton และกลุ่มสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม อย่าง Starbucks ตามลำดับ
ในส่วนของผู้หญิงนั้นมีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าราคาสูงและสินค้าหรูในกลุ่มประเภทสินค้าซึ่งแตกต่างจากเพศชาย โดยผู้หญิงให้ความสำคัญกับกลุ่มสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มมากที่สุด โดยเฉพาะ Starbucks รองลงมาเป็นกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องสำอาง น้ำหอม สกินแคร์ อย่าง Dior และกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องแต่งกายและแฟชั่น คือ Dior ตามลำดับ
ขณะเดียวกัน พบว่า เจน X ชอบบริโภคและใช้สินค้าหรูมากที่สุด รองลงมาคือ เจน Z เจน Y และ Baby Boomer ตามลำดับ
มาดูที่รายได้กันบ้าง ผลสำรวจพบว่า โดยพบว่ากลุ่มคนที่มีรายได้น้อย จะมีความติดลักซ์ในกลุ่มสินค้าประเภทอาหาร
และเครื่องดื่มเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นการบริโภคสินค้าหรูในราคาที่สามารถเอื้อมถึงได้(Affordable Luxury) ซึ่งมักจะเป็นการบริโภคเพื่อให้รางวัลกับตัวเอง หรืออยากลองสัมผัสประสบการณ์หรูหราสักครั้งในชีวิต
สำหรับกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางไปจนถึงสูงส่วนมากจะมีความติดลักซ์ในกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องสำ อาง สกินแคร์ น้ำ หอม และเครืื่องแต่งกาย รวมถึงสินค้าแฟชั่น เช่น เสื้อผ้ากระเป๋าแบรนด์เนมที่มีมูลค่าหลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนซึ่งมักจะเป็นการซื้อเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์และความมั่นใจให้แก่ตนเอง
และเกินครึ่งมีรายได้ไม่เกิน 50,000 บาท และยอมควัก 10-30% ของเงินเดือนซื้อสินค้าหรู และมีถึง 50% ที่มีเงินออม ซึ่งเป็นเงินสำรองยามฉุกเฉินต่ำ กว่า 6 เดือน ซึ่งอาจสะท้อนถึงพฤติกรรมที่พวกเขาเลือกใช้เงินเพื่อสร้างความพึงพอใจในระยะสั้น มากกว่าการสะสมทรัพย์สินในระยะยาว และมีนิสัยการใช้จ่ายแบบไม่ค่อยยั้งคิด
ซึ่งแรงจูงใจของคนกลุ่มนี้ อันดับ 1 คือ อยากให้คนอื่นยอมรับ และอยากแสดงสถานะทางสังคมโดยผู้บริโภคในกลุ่มนี้มักเลือกใช้สินค้าหรูหราเพื่อแสดงถึงสถานะและความสำเร็จในสังคมพวกเขาจะมีความรู้สึกว่า การได้ใช้สินค้าหรูหรือการมีไลฟ์สไตล์ที่ราคาสูงจะทำ ให้ตนเองได้รับการยอมรับและยกย่องจากผู้อื่น และผู้ชาย อยากได้รับการยอมรับและชอบความโดดเด่นมากกว่าผู้หญิง
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : https://www.pptvhd36.com/wealth/trick-trend/232220
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
โฆษณา