10 ก.ย. เวลา 04:00 • ข่าวรอบโลก

“อเมริกา” กับ “จีน” สามารถหลีกเลี่ยงการปะทะกันทางการทหารได้หรือไม่

และผลกระทบที่ตามมาหากเกิดขึ้นจริง
2
สถาบันคลังสมองแห่งหนึ่งของออสเตรเลีย (Lowy Institute) กล่าวถึงการเยือนจีนเมื่อไม่นานนี้ของ “เจค ซัลลิแวน” ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ว่าน่าจับตามองด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
เป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปีที่ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ เดินทางไปเยือนปักกิ่ง และเขาได้พบกับรองประธานคณะกรรมาธิการทางการทหารส่วนกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน “พลเอกจาง โหยวเซีย” หลังจากห่างหายจากการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ทางการทหารของสหรัฐฯ และจีนไปกว่า 2 ปี นอกจากนี้เขายังได้พบกับ “หวัง อี้” รัฐมนตรีการต่างประเทศของจีนด้วยเช่นกัน
เครดิตภาพ: Reuters, AP
เหตุผลของกิจกรรมทางการทูตของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ดูชัดเจน ตามที่คลังสมองดังกล่าวได้เขียนไว้ว่า “ผลที่ตามมาของความขัดแย้งโดยตรงระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไต้หวัน ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ (ฟิลิปปินส์) หรือการเดินนโยบายที่ผิดพลาดต่อกัน ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา”
โดยอ้างถึงผลกระทบของสงครามเพียงหนึ่งครั้งหากเกิดขึ้นในปี 2024 ว่าหากเกิดการปะทะโดยตรงระหว่างสหรัฐฯ และจีน “ทหารสหรัฐฯ หลายหมื่นนาย ยังไม่รวมถึงเรือรบหลายสิบลำและเครื่องบินหลายร้อยลำ ที่ต้องได้ความเดือดร้อนและเสียหาย” และ จีดีพีของโลกจะสูญเสียมากถึง 10%
เครดิตภาพ: International Economics Today: Global Economic Challenges Pandemic Crisis War And Sustainability Issue
ทาง Lowy ได้ระบุว่าแม้ซัลลิแวนจะเดินทางไปจีนในครั้งนี้ แต่ความสัมพันธ์ในระดับประเทศระหว่างสหรัฐฯ และจีนก็จะไม่ดีขึ้นมากนัก “สหรัฐฯ และจีนอาจจะต้องเผชิญหน้ากัน (ทางการทหาร) ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า เนื่องมาจากการวางท่าทีเข้าหากันของทั้งสองประเทศมหาอำนาจบนโลก”
ตามที่สถาบันนี้สรุปปัญหาสำคัญคือ “สหรัฐฯ พยายามที่จะรักษาความโดดเด่นและเป็นผู้นำในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้ได้มากที่สุด ในขณะที่จีน (เช่นเดียวกับมหาอำนาจอื่นๆ ที่ต้องการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจขับเคี่ยวกับอเมริกา) ตั้งใจที่จะเปลี่ยนความมั่งคั่งและศักยภาพทางทหารของตนให้เป็นมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่กว่าในระบบโลก”
เครดิตภาพ: China Briefing
  • บทสรุปส่งท้าย:
อย่างที่เราเห็นข่าวกันอยู่ประจำ เป็นไปได้ยากที่สหรัฐฯ และจีน จะผสานความสัมพันธ์และลงรอยกันด้วยดี การประนีประนอมจะปรากฏขึ้นได้ก็ต่อเมื่ออเมริกายอมละทิ้งนโยบายส่งเสริมการประกาศแยกตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปของไต้หวันและสร้างฐานทัพทหารบนเกาะแห่งนี้จ่อเข้าหาจีน สำหรับจีนถือว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนพวกเขา นโยบายดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้โดยพื้นฐานสำหรับจีน
จีนคัดค้านแนวคิดของอเมริกาที่ระบุว่า “อเมริกาและจีนสามารถเป็นคู่แข่งและหุ้นส่วนได้ในเวลาเดียวกัน” ในความเป็นจริงจีนหรือไม่ว่าชาติไหนย่อมที่จะต้องปกป้องผลประโยชน์ของตน ไม่ปล่อยโอกาสให้คนนอกดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อกัดกินประเทศตัวเองโดยอยู่นิ่งเฉยโดยอ้างว่าเป็นหุ้นส่วน (อย่างปลอมๆ) ระหว่างกัน การหาจุดตรงกลางซึ่งกันมันยาก
1
การให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงมาเยือนจีนของอเมริกาถือเป็นวิธีการในการลดความตึงเครียดระหว่างกันเท่านั้น อย่างไรก็ตามสถาบัน Lowy ได้ระบุในบทความอีกด้วยว่า ฝ่ายเหยี่ยวในวอชิงตันยังคงคัดค้านการส่งซัลลิแวนไปจีนดังกล่าว โดยมองว่าการพบปะดังกล่าวไร้ประโยชน์ พวกเขามองว่าเกมการทูตกับจีนเป็นการเสียเวลา ซึ่งตอกย้ำความไม่สอดคล้องกันของจุดยืนของสหรัฐฯ และจีนอีกครั้ง
บทความต้นเรื่องอ้างอิงได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right Style
10th Sep 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: David Parkins/The Globe and Mail>
โฆษณา