10 ก.ย. เวลา 04:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วันนี้ตื่นมาเจอคลิปใหม่ของอาจารย์ Aswath Damodaran ที่เล่าถึงบริษัทที่มองว่ากำลังอยู่ในช่วงถดถอย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Starbuck
ฟังแล้วน่าสนใจดี ขอสรุปไว้เผื่อใครถือหุ้น Starbuck หรือบริษัทไหนก็ตามที่อยู่ในลักษณะใกล้เคียงกันนะครับ
ถ้าย้อนอดีตดูผลงานของ Starbuck ก็คงบอกได้คำเดียวว่าสุดยอดครับ สร้างการเติบโตได้เรื่อยๆ แม้ช่วงหลังๆเริ่มช้าลง และทำกำไรได้สูงระดับ 15% แล้ว
การเติบโตของสาขาก็เติบโตได้ดีสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นเลย
แต่ช่วงปีให้หลังมานี้มีหลายปัญหาที่ทำให้มุมมองต่อหุ้น Starbuck เริ่มเปลี่ยนไป
อะไรที่เปลี่ยนมุมมองของหุ้น Starbuck
1. จากเดิมที่เคยโตมากๆ ตอนนี้หยุดฉงักลง ความคาดหวังตอนนี้คือจีน และอินเดีย ที่ต้องโตได้มากๆ แต่อย่างที่เราเห็นกันว่าคู่แข่งในจีนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
2. Story เปลี่ยน เดิม Starbuck ขายเรื่องราวการเติบโตของกาแฟ คนจะกินกาแฟมากขึ้น และต้องนึกถึง Starbuck แต่ตอนนี้เริ่มไม่มั่นใจแล้ว....
3. เงินเฟ้อทำให้ราคากาแฟสูงขึ้นมาก จนคนเริ่มลดค่าใช้จ่ายลง และมีทางเลือกอื่นให้เลือกมากขึ้น
จึงทำให้อาจารย์มองว่า Starbuck อาจอยู่ในช่วง Decline หรือถดถอย โตได้ยาก
ถ้ากำลังเข้าสู่ช่วงถดถอยจริง บริษัทจะเลือกทำอะไรได้บ้าง ส่วนนี้น่าสนใจครับ ฟังแล้วลองปรับมุมมองกับหุ้นที่เราถืออยู่หรืออาจจะเฟ้ามองอยู่ได้ดีเลย
Destructive
1. Denial : โทษปัจจัยอื่นไปเรื่อยๆเช่น เศรษฐกิจไม่ดี ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง บอกว่าเป็นปัจจัยภายนอก และบริษัทยังคงบริหารเหมือนเดิม จ่ายปันผลเหมือนเดิม เนียนๆไปเรื่อยๆ คิดว่าทุกอย่างจะโอเคเอง
2. Desperation : รู้ว่าเป็นขาลง และทำอะไรไม่ได้แล้ว บริษัทจะเริ่ม Big Bet เช่นไปซื้อบริษัทอื่นๆที่อาจจะเป็นอุตสาหกรรมอื่นเข้ามา เพื่อหวังว่าธุรกิจใหม่จะเป็น Driver ต่อไป
3. Survival at any cost : รู้ว่าขาลงแหละ แต่ก็ดำเนินการต่อไปเรื่อยๆให้อยู่รอด แต่ไม่โต -> (Zombie Company) ถดถอยลงเรื่อยๆ แต่ก็พออยู่ได้
It depends
1. รู้ว่าถดถอย แต่เห็นบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันยังเติบโตดี
ลองทำแบบเขาดูบ้างดีกว่า เช่น Intel เห็น Nvidia AMD TSMC ยังโตดี ก็จะไปผลิตชิพตามบ้าง
อาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้ แต่หลายเคสอาจจะเข้ามาช้าเกินไป มีคนที่ทำเก่งกว่าไปแล้ว
Constructive
1. ยอมรับว่าจะถดถอย -> ลดขนาดบริษัทลงให้ทำกำไรได้ดีอยู่ ไม่ดันทุลัง
2. Revamp -> พยายามหา Product หรือบริการใหม่ๆขึ้นมา หวังว่าจะเป็นตัวเติบโตต่อไป แต่ก็เหมือนเริ่มนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง
3. Reincarnation -> ใช้ Cashflow ที่ได้จากธุรกิจเดิมมาลงทุนต่อยอกหาทางใหม่ให้กับบริษัท โดยมองว่าเป็นจุดที่เราเก่งอยู่แล้ว เพื่อโตต่อ ไม่เหมือนกับการนับหนึ่งใหม่เช่น Microsoft หรือ Amazon ที่หันมาทำ Cloud
สุดท้ายเรายังบอกไม่ได้หรอกว่า Starbuck จะเลือกทางไหน(ความเห็นส่วนตัวเท่าที่ฟัง CEO คนก่อนพูดจะโทษเศรษฐกิจไว้ก่อนนะครับ😅) แต่พึ่งเปลี่ยน CEO มาก็ต้องรอดูว่าจะสามารถเปลี่ยนเรื่องราว สร้างStoryใหม่ให้กับ Starbuck ได้ไหม
อาจารย์ใช้คำว่า Visionary CEO นะครับ แปลไทยน่าจะประมาณว่า เป็น CEO ที่มี วิสัยทัศน์แค่ไหน สำหรับ Brian Niccol ที่เคยประสบความสำเร็จกับ Chipotle มาแล้วครั้งนึง เขาก็อาจจะเป็น Visionary CEO ก็ได้
แต่มันยังดูไม่น่าเชื่อเท่าไหร่กับการที่ CEO ทำงานอยู่ต่างเมืองจากสำนักงานใหญ่ และต้องนั่งเครื่องบิน Jets ไปทำงานบ้างเป็น Part time ดูไม่ค่อยจริงจังเท่าไหร่สำหรับ Starbuck
ส่วน Valuation ที่อาจารย์ทำมา สรุปสั้นเลยนะครับ
ถ้าบริษัทกลับมาโตได้ระดับ 16% และทำ Margin 15% ได้ ไม่ลดลงเลย มูลค่าบริษัทควรอยู่ที่ 96$ ซึ่งก็ไม่ต่างจากตอนนี้เท่าไหร่แล้ว
แต่ถ้าทำได้ต่ำกว่านี้ สำหรับความเห็นอาจารย์คือที่ราคา 90$ กว่าๆสำหรับ Starbuck วันนี้ ที่ยังดูไม่มี Story การเติบโตใหม่ที่ชัดเจน ยังไม่น่าสนใจเท่าไหร่
เรื่อง Vauation ค่อนข้างมีหลายปัจจัยนะครับ ลองเข้าไปดู Model ของอาจารย์ได้เลย เปิดให้ดูฟรี ในคำอธิบายใต้คลิปเลยครับ
ผมสรุปมาเร็วๆ อาจจะเพี้ยนๆบ้าง ไปดูคลิปเต็มด้วยจะเข้าใจมากขึ้นนะครับ
โฆษณา