ส่องบทเรียนการสร้าง 4 เขื่อนใหญ่ ที่นำมาสู่การรื้อถอนครั้งประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ

แม่น้ำคลาแมธเป็นอิสระจากเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งสี่เป็นครั้งแรกในรอบหลายช่วงอายุคน แต่สำหรับชนเผ่ายูร็อก (Yurok) มันคือจุดเริ่มต้นการฟื้นฟูแม่น้ำ ซึ่งเริ่มจากเมล็ดพันธุ์พืชจำนวน 18 พันล้านเมล็ด
การต่อสู้ที่ยาวนานเป็นทศวรรษ
1
เขื่อนทั้ง 4 เป็นประเด็นขัดแย้งอันยาวนานสำหรับชนเผ่า ซึ่งพวกเขารณรงค์ให้รื้อถอนเขื่อนทั้งหมดมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 เนื่องจากถือว่าแม่น้ำคือสายเลือดของชาวยูร็อก และปลาแซลมอนเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของครอบครัวของพวกเขา
“การตายของแซลมอนกำลังสื่อให้เห็นว่าชะตาชีวิตของพวกเราก็จะมีจุดจบไม่ต่างกัน” ทอมป์สัน กล่าว “ทุกสิ่งเชื่อมต่อกัน การรื้อเขื่อนเหล่านี้เป็นสถานการณ์ที่ส่งผลต่อความเป็นความตายของพวกเรา”
ในที่สุด ปลายเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา เขื่อนสุดท้ายก็ถูกทำลายลงและเปิดทางให้แม่น้ำระยะกว่า 644 กิโลเมตร หลังการเจรจาต่อรองอันยาวนานหลายปีและการเคลื่อนไหวเรียกร้องนานนับทศวรรษ นี่จึงนับว่าเป็นการรื้อเขื่อนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ
“การรื้อเขื่อนคือชัยชนะหนึ่ง” คาร์ลสัน กล่าว แม้เขายังไม่ได้เฉลิมฉลองอย่างเต็มที่ในตอนนี้ “เรายังคงต้องจับตาดูต่อไป เพราะทรัพยากรของพวกเรายังคงถูกคุกคาม”
น้ำที่ไหลลงแม่น้ำในตอนแรกนั้นสกปรกและมีกลิ่นเหม็น รวมถึงเศษซากที่กองอยู่หลังเขื่อนมานานหลายทศวรรษก็ทะลักออกมาสู่แม่น้ำ แต่ในช่วงไม่กี่เดือนนับตั้งแต่เขื่อนแห่งแรกถูกรื้อถอน พวกเขาก็สังเกตเห็นความแตกต่าง
“อีก 2-3 ปีข้างหน้า เมื่อแม่น้ำสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ เราจะเริ่มเห็นปลาที่มีสุขภาพดีมากขึ้น” ออสการ์ เจนซอว์ สมาชิกเผ่ายูร็อกและชาวประมง กล่าว
“คุณสามารถเห็นได้ชัดว่าแม่น้ำเริ่มทำงานด้วยตัวมันเองแล้ว นั่นหมายความว่า การปล่อยให้แม่น้ำเป็นไปตามธรรมชาติ คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเรา เพราะมันรู้อยู่แล้วว่า ต้องเยียวยาตัวเองอย่างไร”
ภายในปี 2061 คาดว่า ประชากรของปลาแซลมอนชินุคจะฟื้นคืนกลับมาได้ราว 81%
การฟื้นฟูผืนดิน
แต่สิ่งที่ต้องการให้มนุษย์เอื้อมมือเข้ามาช่วยเหลือคือ การฟื้นฟูผืนดินขนาด 8.9 ตารางกิโลเมตรที่อยู่เหนือจากพื้นราบขึ้นไป นี่ถือเป็นครั้งแรกในรอบศตวรรษหลังมีการระบายน้ำจากเขื่อนทั้ง 4 แห่ง
“การรื้อถอนเขื่อนก็เรื่องหนึ่ง แต่การฟื้นฟูที่ดินเป็นอีกเรื่องหนึ่งเลย” ทอมป์สัน กล่าวในฐานะวิศวกรโยธาและเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานโครงการฟื้นฟูซึ่งจัดการโดย Resource Environmental Solutions บริษัทด้านการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ
การวางแผนเบื้องต้นเริ่มต้นขึ้นในปี 2011 และในปี 2020 จนออกมาเป็นแผนการจัดการอ่างเก็บน้ำจำนวน 260 หน้า ซึ่งตีพิมพ์โดย Klamath River Renewal Corporation หน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดการการรื้อถอนเขื่อนทั้งหมด
“เรามีเมล็ดพันธุ์ไม่เพียงพอจนกระทั่งปีนี้ที่เขื่อนสุดท้ายถูกรื้อถอนออกไป”
เชโนเวธกล่าวเสริมว่า การรวบรวมเมล็ดพันธุ์จากต้นไม้และพุ่มไม้ต่าง ๆ ถือเป็นงานที่มีความท้าทายอย่างมากในช่วงปี 2021-2022 เนื่องจากมันเป็นปีที่ร้อนและแห้งแล้งซึ่งส่งผลให้ไฟป่ามีความรุนแรงขึ้น
“การรวบรวมเป็นงานที่ยากลำบากสำหรับทีมงานด้วย จากความร้อนและควันไฟ”
แต่ในที่สุด ทีมงานก็สามารถรวบรวมเมล็ดพันธุ์ได้ในจำนวนที่พวกเขาต้องการ ก่อนที่เขื่อนจะถูกรื้อถอนทั้งหมด รวมถึงลูกโอ๊กราว 680 กิโลกรัม
ส่วนสำคัญที่สุดในกระบวนการฟื้นฟูคือการรับประกันว่า จะเกิดความหลากหลายทางชีวภาพที่สูงมากขึ้น หลังการปลูกเสร็จสิ้น
พื้นที่จะได้รับการตรวจสอบและบำรุงรักษาเป็นเวลา 5 ปี โดย Resource Environmental Solutions โดยจะถือว่าโครงการประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อเป็นไปตาม 4 ข้อกำหนด คือ มีความอุดมสมบูรณ์ของสายพันธุ์ การครอบคลุมของพืชพรรณ การขาดแคลนของสายพันธุ์รุกราน และจำนวนไม้ต้นที่ถือว่าเป็นพื้นที่ป่าได้
#วันมอร์ลิงค์ #onemorelink #บริการรับกำจัดกากอุตสาหกรรม #กากอุตสาหกรรม #สิ่งแวดล้อม #ข่าววันนี้ #ความรู้ทั่วไป #CEORAPATSORN #ประเทศไทย #เทรนด์โลก #โลกร้อน #ขึ้นหน้าฟีด
โฆษณา