11 ก.ย. เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

How to จัดพอร์ตลงทุนตามช่วงวัย ทำยังไงมาดูกัน

ในแต่ละช่วงวัย ก็จะมีปัจจัยทางการเงิน รวมถึงเป้าหมายทางการเงินที่มักจะแตกต่างกันไป การจัดพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับช่วงวัยเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินในระยะยาว ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัยเริ่มต้นทำงาน วัยสร้างครอบครัว วัยมั่นคง หรือวัยเกษียณ การปรับพอร์ตตามช่วงอายุและสถานการณ์ชีวิตเป็นสิ่งที่ช่วยให้การลงทุนของคุณมีความมั่นคงและเติบโตอย่างยั่งยืน บลจ.ซาวาคามิ(ประเทศไทย) จึงขอพาทุกคนมาดูกันว่าแต่ละช่วงวัยควรจัดพอร์ตการลงทุนอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่กำลังเริ่มต้น
2
*แนวทางการจัดพอร์ตลงทุนนี้ เป็นเพียงหนึ่งในคำแนะนำเท่านั้น นักลงทุนต้องมีการพิจารณาและศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุนที่ตัวเองคาดหวัง
2
การจัดพอร์ตลงทุนในแต่ละช่วงวัย
2
การลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยนั้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับความเสี่ยงและเป้าหมายทางการเงินในแต่ละช่วงชีวิต การจัดพอร์ตการลงทุนควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ รายได้ สถานภาพครอบครัว และภาระหนี้สิน
  • วัยเริ่มต้นทำงาน (อายุ 22 - 30 ปี)
วัยนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเริ่มต้นลงทุน การลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อยช่วยให้คุณมีเวลาในการสร้างความมั่งคั่งและเติบโตของพอร์ตการลงทุนในระยะยาว ในช่วงวัยนี้คุณสามารถรับความเสี่ยงได้มากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ ดังนั้นการลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูงจึงเป็นทางเลือกที่ดี
- การกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุน
ในช่วงนี้ควรกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย โดยให้ความสำคัญกับหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูง และอีกส่วนคือเงินฝากและตราสารหนี้
- ตัวอย่าง: หุ้น 90% เงินฝากและตราสารหนี้ 10%
  • วัยสร้างครอบครัว (อายุ 31 - 40 ปี)
เมื่อเข้าสู่วัยสร้างครอบครัว เป้าหมายการลงทุนอาจเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากมีความรับผิดชอบทางการเงินเพิ่มขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร และการผ่อนบ้าน ดังนั้นการปรับพอร์ตการลงทุนเพื่อความมั่นคงเป็นสิ่งที่จำเป็น
- ปรับพอร์ตเพื่อความมั่นคง
ควรเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่มีเสถียรภาพและลดความเสี่ยงโดยการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ (*กองทุนรวมมีตั้งแต่ความเสี่ยง 1-8) เช่น กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำ (ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือตราสารหนี้) และควรมีการบริหารจัดการหนี้สินอย่างเหมาะสมควบคู่กับการลงทุน
- ตัวอย่าง: หุ้น 50% เงินฝากและตราสารหนี้ 50%
  • วัยมั่นคง (อายุ 41 - 55 ปี)
ในช่วงวัยนี้ การวางแผนเพื่อการเกษียณเป็นสิ่งสำคัญ การปรับพอร์ตให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ลดลงจะช่วยให้พอร์ตการลงทุนมีความมั่นคงและปลอดภัยมากขึ้น
- การลงทุนเพื่อการเกษียณอย่างมั่นคง
ควรพิจารณาลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ และเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดอย่างสม่ำเสมอ เช่น ตราสารหนี้ หรือกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ควรมีการประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอเพื่อปรับแผนการลงทุนตามความเหมาะสม
- ตัวอย่าง: หุ้น 30% เงินฝากและตราสารหนี้ 70%
  • วัยเกษียณ (อายุ 55 ปีขึ้นไป)
เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ เป็นช่วงวัยสำคัญที่ช่วงเวลาในการหารายได้อาจจะเหลือไม่มาก มีค่าใช้จ่ายบางอย่างลดลง แต่ก็มีค่าใช้จ่ายบางอย่างเพิ่มขึ้น เช่นค่ารักษาพยาบาล หรือ ค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลด้านสุขภาพ การลงทุนอาจจะต้องเน้นไปที่การสร้างความมั่นคงและลดความเสี่ยงจากการลงทุนลงไปด้วย นอกจากนี้อาจเป็นช่วงที่การสร้าง Passive Income เข้ามามีบทบาทสำคัญด้วยเช่นกัน
- การลงทุนที่เน้นความปลอดภัย
ในช่วงวัยนี้ควรลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นและหันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ หรือกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อรักษาความมั่นคงของพอร์ต นอกจากนี้ยังควรวางแผนทรัพย์สินเพื่อส่งต่อไปยังคนที่เราอยากให้และห่วงใยอย่างราบรื่น
- ตัวอย่าง: หุ้น 10% เงินฝากและตราสารหนี้ 90%
สรุป แต่ละช่วงวัยควรจัดพอร์ตการลงทุนแบบไหน
การจัดพอร์ตการลงทุนตามช่วงวัยเป็นกระบวนการที่ต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของชีวิตและเป้าหมายทางการเงิน การทำความเข้าใจและวางแผนการลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยจะช่วยให้คุณมีความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวและสามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สนใจศึกษาข้อมูลกองทุนได้ที่ https://www.sawakami.co.th/fund/5
ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมและหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ. ซาวาคามิ (ประเทศไทย)
เว็บไซต์ www.sawakami.co.th
หรือ Customer Service โทร 02-081-0525 ถึง 26
หรือ Line Official : https://lin.ee/FG0nBHZ หรือ @‌sawakamith
Facebook Official : Sawakami Asset Management Thailand https://www.facebook.com/sawakami.th
*คำเตือน กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนฯ ในกองทุนรวม SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนตามที่กรมสรรพากรกำหนด
อ้างอิง:
โฆษณา