12 ก.ย. เวลา 03:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

วางแผนการเงินตามช่วงวัย เพื่อโอกาสสร้างอนาคตที่มั่นคง

การวางแผนการเงินเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรให้ความสนใจ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใด การเตรียมตัวเพื่ออนาคตที่มั่นคงนั้นจะช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างไม่ต้องกังวล บทความนี้จะแนะนำวิธีการวางแผนการเงินสำหรับทุกช่วงวัย เพื่อให้คุณสามารถสร้างฐานะทางการเงินที่แข็งแรงได้ตลอดชีวิต
  • วัยแห่งการเรียนรู้ (0 – 21 ปี)
ช่วงวัยนี้เป็นช่วงเริ่มต้นที่สำคัญในการเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารทางการเงิน เด็กๆ ควรได้รับการปลูกฝังเรื่องการออมเงินและการจัดการค่าใช้จ่ายตั้งแต่อายุยังน้อยจากครอบครัว สังคมรอบข้าง และโรงเรียน
สิ่งที่ควรทำ
  • เรียนรู้การบริหารเงินและความสำคัญของการออม: พ่อแม่ควรสอนให้ลูกเข้าใจถึงความสำคัญของการออมเงิน รวมถึงการตั้งเป้าหมายในการใช้จ่าย
  • เริ่มสร้างนิสัยการออมตั้งแต่อายุยังน้อย: การให้เด็กได้มีบัญชีเงินฝากและสนับสนุนให้พวกเขาออมเงินจากค่าขนมจะช่วยสร้างนิสัยให้รู้จักอดออม
  • ปลูกฝังการทำงานพิเศษเพื่อสร้างรายได้: สนับสนุนให้เด็กทำงานพิเศษในช่วงปิดเทอมเพื่อเรียนรู้การบริหารเงินที่ได้มาจากการทำงาน
  • วัยเริ่มทำงาน สร้างรายได้ (22 – 30 ปี)
ด้วยวัยนี้ที่เริ่มมีรายได้ มีภาระค่าใช้จ่าย แต่ภาระหนี้สินอาจจะยังไม่สูงมาก การวางแผนการเงินจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะช่วงนี้จะกลายเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินอนาคตทางการเงินได้เลย
สิ่งที่ควรทำ
  • กำหนดบันทึกรายรับ-รายจ่าย: การจัดทำบันทึกเป็นรายเดือน จะช่วยให้คุณรู้ว่าเงินที่หามาได้นั้นถูกใช้ไปกับสิ่งใดบ้าง
  • เริ่มต้นวางแผนการออมเงินและการลงทุน: วัยนี้เป็นช่วงที่ควรเริ่มต้นออมเงินอย่างจริงจังเพื่ออนาคต และการลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าเงิน รวมถึงอาจมีการยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้มากกว่าช่วงวัยอื่น เพราะยังไม่มีภาระด้านอื่นๆ มาก
  • ทำประกันสุขภาพและประกันชีวิต: การมีประกันสุขภาพและประกันชีวิตเป็นการป้องกันความเสี่ยงทางการเงินในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
  • เลี่ยงภาระหนี้สินที่ไม่จำเป็น: ควรหลีกเลี่ยงการก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น เช่น หนี้จากการซื้อของฟุ่มเฟือย แต่ควรนำเงินไปสร้างมูลค่าเพิ่มแทน
  • วัยสร้างครอบครัว (31 – 40 ปี)
ช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่หลายคนเริ่มต้นสร้างครอบครัว และมีค่าใช้จ่ายในชีวิตที่มากขึ้น การวางแผนการเงินที่ดีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้ครอบครัวมีความมั่นคงทางการเงิน
สิ่งที่ควรทำ
  • วางแผนค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัวและบุตร: การวางแผนการเงินสำหรับค่าใช้จ่ายของครอบครัวจะช่วยลดภาระและความเสี่ยงทางการเงินในอนาคต
  • เร่งจัดการภาระหนี้สิน: เพราะหลังจากช่วงวัยนี้ อาจจะพบว่าความสามารถในการหารายได้ลดลง เนื่องจากสุขภาพและร่างกายอาจไม่เหมือนช่วงเริ่มทำงาน จึงจำเป็นต้องรีบปิดหนี้ให้ไวที่สุด
  • การสร้างเงินทุนเพื่อการศึกษา: เริ่มต้นออมเงินเพื่อการศึกษาของบุตรตั้งแต่แรกเกิดเพื่อให้มีเงินเพียงพอในอนาคต
  • คำนึงถึงการลงทุนในระยะยาว: การลงทุนในระยะยาว เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุน จะช่วยเพิ่มโอกาสความมั่นคงทางการเงินในอนาคต
  • วัยก้าวหน้า (41 – 55 ปี)
ในช่วงวัยนี้ หลายคนอาจมีอาชีพที่มั่นคงและเริ่มมีความสามารถในการจัดการเงินมากขึ้น การทบทวนแผนการเงินเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการปรับแผนการบริหารเงินให้เข้ากับช่วงวัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
สิ่งที่ควรทำ
  • ทบทวนและปรับแผนการเงินตามสถานการณ์ปัจจุบัน: ควรทบทวนแผนการเงินที่เคยวางไว้และปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
  • การเตรียมตัวเพื่อการเกษียณอายุ: เริ่มวางแผนการเกษียณอายุ เช่น การออมเงินสำหรับการเกษียณ
  • เริ่มต้นวางแผนมรดก : การเตรียมแผนการส่งต่อทรัพย์สินให้กับทายาท เช่น รวบรวมทรัพย์สิน ศึกษากฏหมายและภาษีมรดก และวิธีดำเนินการต่างๆ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผนให้นำไปสู่การส่งต่อที่ตรงตามความต้องการ ก็เป็นสิ่งที่ควรทำในช่วงวัยนี้
  • วัยเกษียณ (55 ปีขึ้นไป)
เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ การวางแผนการเงินที่ดีจะช่วยให้คุณสามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างสบายและไม่มีความกังวล โดยเน้นที่การสร้าง Passive Income และการวางแผนทางการเงินเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่
สิ่งที่ควรทำ
  • จัดการและรักษาเงินออมเพื่อการเกษียณ: ควรมีการจัดการเงินออมที่มีอยู่ให้เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในวัยเกษียณ หรือเริ่มลงทุนในสินทรัพย์ที่สามารถให้ผลตอบแทนหรือรายได้ในวัยเกษียณ หลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง
  • คำนึงถึงการดูแลสุขภาพและประกันสุขภาพในวัยสูงอายุ: ประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่ควรพิจารณา เพื่อมาช่วยคลายความกังวลเมื่อต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพที่ไม่คาดคิด
  • การจัดการมรดกและการสืบทอดทรัพย์สิน: การวางแผนการจัดการมรดกจะช่วยให้ทายาทได้รับทรัพย์สินอย่างถูกต้องตามความต้องการ
  • วางแผนการใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข: วางแผนชีวิตหลังเกษียณให้มีความสุข เช่น ไปเที่ยวรอบโลก ออกกำลังกาย ใช้ชีวิตมีความสุขกับลูกหลานหรืออื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับการวางแผนของแต่ละบุคคล
การวางแผนการเงินทุกช่วงวัยเป็นการเตรียมตัวเพื่ออนาคตที่มั่นคง ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงวัยใด การมีแผนการเงินที่ดีจะช่วยให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบายและไม่มีความกังวลเรื่องการเงินในอนาคต
สนใจศึกษาข้อมูลกองทุนได้ที่ https://www.sawakami.co.th/fund/5
ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมและหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ. ซาวาคามิ (ประเทศไทย)
เว็บไซต์ www.sawakami.co.th
หรือ Customer Service โทร 02-081-0525 ถึง 26
หรือ Line Official : https://lin.ee/FG0nBHZ หรือ @‌sawakamith
Facebook Official : Sawakami Asset Management Thailand https://www.facebook.com/sawakami.th
*คำเตือนกองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนฯ ในกองทุนรวม SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนตามที่กรมสรรพากรกำหนด
อ้างอิง:
โฆษณา