คำว่าสัตว์ มี๒ความหมาย หนึ่งคือสัตว์(ภาษาไทย) และ๒คือสัตว์(บาลี) ยังไง? มาฟังกัน

สัตว์ มีรากศัพท์มาจากภาษามคธ ถูกใช้ในภาษาบาลี ว่าสัตตา และถูกใช้ในภาษาสันสกฤตว่า สตฺวฺ(สัตวะ) แปลว่า ภาวะปรุงแต่งให้ข้องอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น ใช้เรียกสิ่งมีชีวิต(ไม่รวมพืช) ในทุกภพภูมิ ไม่ว่าจะเป็น เปรต สัตว์นรก อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เทวดา พรหมและมนุษย์
#สัตตานํ #สัตว์ #สรรพสัตว์
แต่ภาษาไทยลักยืมเอามาใช้เรียกสัตว์เดรัจฉานอย่างเดียว ส่วนคำว่าสัตว์ประเสริฐก็ไม่ค่อยมีใครใช้กันเท่าไร ที่จริงแล้ว สภาวะสัตว์นั้น เดิมไม่ได้มีความหมายตรงๆว่าสิ่งมีชีวิต แต่หมายถึงภาวะหนึ่งที่มีความยึดติด สภาวะของสัตตา หรือสัตตานังสภาวะ(สัตวัสสภาวะ-สันสกฤต) นี่เอง ที่เป็นตัวยึดในนามกับรูป หรือ ยึดในขันธ์๕ ทำให้ขันธ์๕รวมตัวเกาะกลุ่มกันได้ เปรียบเสมือนอุ้งมือที่กอบเอาเมล็ดงาไว้สี่เมล็ด(นาม) และ เมล็ดถั่วไว้อีกหนึ่งเมล็ด (รูป) นั่นเอง
ผู้ที่ไม่เข้าใจสภาวะของสัตว์ หรือ สัตตานังสภาวะ สัตตนังสภาพ อาจเข้าใจผิดเพี้ยนไปจากสัทธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ได้ และเมื่อถ่ายทอดไปผิดๆ บุคคลนั้นจะกลายเป็นอสัปปุรุษ ผู้หาความน่าเสวนาด้วยมิได้ เป็นบุคคลที่จะทำให้ผู้อื่นไขว้เขว และถ่ายทอดอรรถและเผยธรรมะที่ผิดเพี้ยนแผกแผลง ข้อนี้ต้องพึงระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะไปทำให้การปฏิบัติภาวนาของผู้อื่นล้มเหลวเอาได้ เป็นการก่อกรรมโดยไม่รู้ตัวครับ สำหรับท่านใดที่อยากรู้สภาวะของสัตว์ ให้โหลดแอพฯพุทธวจน มาศึกษาเรื่องสัตว์ และแอพฯ E-tipitakaมาดูFocusPointได้ครับ
แอดมินอันตราปรินิพพายี แห่งเพจเฟซบุ๊ค "ธรรมะแฟนตาซี"
โฆษณา