12 ก.ย. เวลา 23:09 • หนังสือ

EP.2 ฝึกลูกอย่างไร ให้รักเงิน

"เจน เงินในกระปุกออมสินหนู ที่เรา 2 คนทุบกระปุกกัน"
"วันนี้น จำได้ไหม อยู่ที่ไหนละคะลูก"
ฉันไอรี่ถามลูก
"อยู่ในห้องหนูค่ะ แม่จะทำไม"
น้ำเสียงของเจน เป็นกังวล
"ออ ดีแล้วลูก เก็บไว้เองแล้วใช่ไหม"
ระหว่างที่ฉันถาม เจนไม่สบตาฉัน
ฉันพยายามถามลูกสาวคนโต แบบนิ่งๆ
ฉันมองเห็นอาการปิดบังของลูกสาว
เค้าจะชอบให้ถามตรงๆ และบอกตรงๆ
ฉันเลยตัดสินใจถาม ลูกสาว
"และหนูเอามาใช้บ้างหรือป่าว"
"ใช้ค่ะ" น้ำเสียงสดใส และมั่นใจ
"ใช้ทำอะไรลูก" น้ำเสียงฉันแปลกใจมาก
"ก็ใช้กินที่โรงเรียน" ลูกสาวตอบ
"อ๋อ งั้นแสดงว่า ที่แม่ให้ไปมันไม่พอหรอ" ฉันพูดไปหยิบกระดาษมาเขียน
"จะว่าพอก็พอนะแม่ แค่เครป ก็ 30 แล้วอะ" ลูกสาวตอบแบบไร้เดียงสา
"โอ้ว แค่ขนมอย่างเดียวก็เกินครึ่งไปแล้ว หนูนึกออกไหม"
ฉันพยายามทำให้เป็นเรื่องตลก
แต่จริงๆ ฉันแอบกังวล พฤติกรรมการเงินของลูก
ฉันก็เริ่มเขียน และถามลูกสาว
"รายได้หนูต่อวันเท่าไหรคะลููก"
"50 บาทค่ะ" เจนตอบ
ฉันโล่งใจ นี้คือ จุดเริ่มต้น ที่ต้องรู้ตัวเองก่อน
"อะ 50 บาท และหักค่าเครปไป 30 บาท"
"เหลือ 20 บาท ค่าข้าวก็ไม่พอดิ"
ฉันเขียนไปพูดไป ให้เห็นภาพ
"นี้ยังไม่รวมค่าเครื่องดื่มนะ"
"งั้นแบบนี้หนูจึง เอาเงินกองนี้ไปโรงเรียนด้วย?"
ฉันเริ่มคุยให้เค้าเห็นภาพ
ลูกสาวเริ่มนั่งฟัง อย่างตั้งใจ
เจนเริ่มเห็นภาพแล้วว่า เขาใช้เงินเกินตัว
ฉันเลยตั้งคำถามปลายเปิด ให้เขามีส่วนร่วม
ให้เขาคิดแก้ปัญหา รับฟังความคิดเห็นเขา
"เจนจะทำยังไงดีลูก?"
"เงินก้อนนี้ที่หนูเก็บไว้ หนูเก็บไว้กับหนูอะดีแล้ว"
ฉันภูมิใจในตัวลูกสาว พูดไปยิ้มไป
ฉันนึกขึ้นมาได้ว่า เขาเคยพูดว่า
"เงินของหนู หนูใช้ได้"
คำพูดนี้ ฉันได้ยิน แล้ว รู้สึก สะดุ้งขึ้นมา
ใช่เลย ฉันเคยสอนเขา ให้เขามีสิทธิในเงินของตัวเอง
ฉันเลยชวนคุยเพิ่ม
"จริงแหละ เงินของหนู หนูมีสิทธิ์ใช้"
"ตอนนี้หนูรู้ไหมว่า บ้านเราเงินไม่พอใช้"
ฉันถามความคิดเห็นของเขา
"รู้ค่ะ" "แต่หนูก็อยากจะใช้แบบไม่ต้องผ่านบัญชีแม่"
"ซื้อเกมส์ ซื้อนิยาย อะไรพวกนี้อะ"
ฉันฟังแล้วตาลูกสาว น้ำเสียงและสายตา
จะบอกแม่ว่า "หนูโตแล้ว คนอื่นยังจ่ายเองได้เลย"
ความรู้สึกฉัน ฉันว่ามันไม่แปลกที่ลูกจะคิดแบบนี้
ฉันต้องปรับใหม่
"อะ ในมุมของแม่นะ แม่เข้าใจนะว่า"
"การซื้ออะไรพวกนี้อะ ซื้อได้ แต่ไม่ใช่ เอะอะซื้อ"
"แม่ก็สนับสนุนงานพวกนี้นะ แม่โอเคเลยละ"
"หนูอยากซื้อแค่บอกแม่ แม่จะให้เงินรายอาทิตย์หนูเพิ่ม"
ฉันกำลังมองในในมุม มนุษย์เงินเดือน ที่ต้องมีเงินเดือนเพิ่มขึ้น
ซึ่งเงินเดือนจะขึ้น ในอัตราที่ค่อยๆขึ้น นอกจากว่า
ไตรมาสนั้น ทำยอดขายเพิ่มขึ้น และกำไรมากขึ้น
"แม่ให้หนูเพิ่มวันละ 10 บาท อาทิตย์ละ 50 บาท"
"เหมือนจะน้อย แต่ไม่น้อยนะ อาทิตย์ละ 50 บาท"
"ให้หนูแยกเงินออก แบบนี้ หนูคิดว่าไง"
"แบบไหนคะแม่" สีหน้าของลูกสาวสนใจฟัง
"เดิมใช้ที่โรงเรียน วันละ 50บาท*5วัน=250บาท"
"และแม่ให้ลูกเพิ่ม 50 บาทเพื่มหยอดกระปุกใหญ่"
"รวม 300 บาท วันไหนเรียนพิเศษให้ใช้ได้ช่วงเย็น 20 บาท"
"เรียนพิเศษ 2 วัน*20บาท=40บาท"
"รวม 340บาท และให้เพิ่มอาทิตย์ละ 50บาท"
"รายได้ของหนูรอบใหม่นี้จะ เริ่มอาทิตย์หน้า"
"รวมเป็น 390 บาท ซึ่งให้เพิ่ม 50 บาท นี้"
"หนูสามารถใช้ได้ เต็มที่เลย ให้แบ่งเก็บเอาเอง"
"หรือจะกินเต็มที่เลยก็ได้"
"ให้แม่แนะนำ หนูควรปรับวิธีการกินของหนูใหม่"
"อยากกินเครป ให้ปรับลดลงมา ให้ได้ 20 บาทก็ได้ไหม"
"เงินจะได้เหลือบ้าง เอาไว้ซื้อของที่อยากซื้อ"
"ส่วนเงินก้อนนั้น เป็นเงินอนาคตลูก"
"ถ้าหนูหยิบเงินก้อนนั้นมาใช้เรื่อยๆ เท่ากับว่า
"หนูเป็นหนี้ เงินก้อนนั้นเหมือนบัตรเครดิต"
"มองง่ายๆ กว่านั้น คือ หนูใช้เงินก้อนนั้นเพราะอะไร"
ฉันร่ายยาวเลย และตั้งคำถามปลายเปิดให้เขาคิด
"เพราะรายได้ไม่พอ" ลูกสาวตอบแบบรู้สึกผิด
ฉันเห็นสีหน้าเขา รู้สึกเห็นใจ
แต่ฉันก็พอใจในคำตอบของลูกสาว
"ใช่เลยลูก เราควรแก้ปัญหาให้ถูกจุด"
"ในตอนนี้หนูยังหารายได้เองไม่ได้"
"แม่เลยเพิ่มให้หนู ถ้าหนูบริหารการกินของหนูใหม่"
"หนูจะมีเงินเพิ่ม หรืออีกทาง หากต้องการเเงินเพิ่ม"
"หนูก็หาเองได้นะ"
ฉันแอบคิดในใจ จะถามต่อไหมนะ
"ยังไง หายังไง" ลูกสาวสบตาฉันทันที
ฉันรีบเสริม น้ำเสียงฉันสนับสนุนเต็มที่
"ก็ทำจากสิ่งที่หนูชอบไง"
"นิยายที่หนูชอบโดเนท เกมส์ที่หนูชอบเติม"
"เอามาทำเรื่องราว ในแบบของหนู"
"แรกๆก็เขียนไปเหอะ อันนี้หนูรู้ดีว่าหนูต้องทำยังไง"
"ลองดูนะ"
ฉันรู้ว่า ตอนนี้เขายังไม่สนใจหรอก
เพราะเขายังไม่เดือดร้อนจริงๆ
ประสบการณ์จะสอนเขาเอง
ฉันได้ยื่นมือเข้าไปแล้ว อยากทำ เขาจะถามเราเอง
ในความคิดเห็นส่วนตัวของฉัน
จะรักเงินได้ ต้องมาจากน้ำพักน้ำแรง
แก้ปัญหาการเงินด้วยตัวเอง
เงินจะอยู่กับเขา และทำงานให้เขาได้นานที่สุด
ขอให้ทุกคนเข้าใจไว้ว่า
เงินเป็นของนอกกาย อย่าให้มันสำคัญไปกว่าลูก
สิ่งที่ใดที่เขาผิดพลาดเรื่องการเงิน ก็บอกเขาใหม่
บางทีก็ต้องกล้าให้เขาได้เจอปัญหาด้วย
รักลูกมากไป ลูกจะอ่อนแอนะ
ผู้เขียน เขียนจากประสบการณ์ตรง
หยิบมาเล่าให้อ่าน เพื่อเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา