12 ก.ย. เวลา 11:27 • สิ่งแวดล้อม

ทำไมปลาถึงอาศัยอยู่ในน้ำลึกได้

ตามที่หัวข้อได้กล่าวมาว่า ทำไมปลาทะเลน้ำลึกถึงได้มีชีวิตอยู่ในน้ำลึกที่มีแรงดันมหาศาลได้ ทั้งที่สภาพแวดล้อมแบบนั้น เป็นสถานที่ทรหด สุดโต่ง ทั้งแรงดันมหาศาล ความเย็นของน้ำ แม้กระทั่ง ความมืดมิด ที่แสงส่องลงไปไม่ถึง แต่ทำไม ปลาหรือสิ่งมีชีวิตบางชนิด ถึงอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนั้นได้ วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน
ร่องลึกมาเรียน่าเป็นจุดที่ลึกที่สุดในมหาสมุทร โดยจุดที่ลึกที่สุดคือ "แชลเลนเจอร์ดีป" ซึ่งมีความลึกประมาณ 10,994 เมตร (36,070 ฟุต) ใต้ระดับน้ำทะเล ในจุดนี้แรงดันน้ำสูงถึง 1,100 บาร์ ซึ่งมากกว่าแรงดันที่ผิวน้ำกว่า 1,000 เท่า อุณหภูมิน้ำต่ำมากอยู่ระหว่าง 1-4°C และไม่มีแสงส่องถึง
ถึงแม้จะเป็นสถานที่ทรหดยังไง แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ เช่น แอมฟิพอด ไอโซพอด ปลิงทะเล (ซีคิวคัมเบอร์) จุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียและอาร์เคีย รวมถึงปลาน้ำลึกหลายสายพันธุ์ที่สามารถปรับตัวให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ทรหดเช่นนี้ได้.
ซึ่ง ปลาที่อยู่ในน้ำลึกที่สุดเท่าที่ได้บันทึกมาได้แก่ ปลาหอยทาก (Snailfish) ที่ได้ค้นพบในปี 2023 ในระดับความลึกมากถึง 8,336 เมตร เป็นสถิติลึกที่สุดเท่าที่เคยได้บันทึกมา พวกมันมีร่างกายที่อ่อนนุ่มและยืดหยุ่น ช่วยให้สามารถทนต่อแรงดันน้ำมหาศาลได้
มาถึงช่วงตรงคำถามที่ว่า พวกมัน อยู่ได้อย่างไรใน สภาวะแบบนั้น ?
# คำตอบที่ได้คือจะเป็นที่ ปลาทะเลน้ำลึกสามารถอยู่ในน้ำลึกได้โดยการอาศัยปัจจัยใหนหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
การปรับตัวของโครงสร้างร่างกาย
ปลาน้ำลึกสามารถทนต่อแรงดันได้มากกว่าปลาทั่วไป เนื่องจากโครงสร้างร่างกายที่ปรับตัวให้เข้ากับแรงดัน โดยมีเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นและไขมันที่ช่วยสร้างสมดุลในร่างกาย และการปรับตัวทางโครงสร้างของปลาน้ำลึกได้แก่
กล้ามเนื้อและกระดูก โดยปลาน้ำลึกมีเนื้อเยื่อที่มีลักษณะคล้ายวุ้นและกระดูกที่บางเบา ซึ่งช่วยลดน้ำหนักของร่างกาย ทำให้พวกมันสามารถลอยตัวในน้ำได้โดยใช้พลังงานน้อย นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงจากแรงดันน้ำที่สูง
การมองเห็น ปลาน้ำลึกบางชนิดมีดวงตาใหญ่เพื่อช่วยในการมองเห็นในความมืด บางชนิดมีตาเล็กที่ใช้งานไม่มาก หรือบางชนิดไม่มีตาเลย แต่พึ่งพาความสามารถอื่นแทน เช่น การรับรู้แรงดันน้ำ การดมกลิ่น หรือใช้การเรืองแสงในการหาเหยื่อและป้องกันตัวจากนักล่า
การเรืองแสง จากการสำรวจพบว่า 65% ของสิ่งมีชีวิตในทะเลลึกสามารถเรืองแสงได้ โดยแสงนี้เกิดจากกระบวนการทางเคมีหรือแบคทีเรียในร่างกาย ปลาที่เรืองแสงใช้แสงเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ เช่น ล่อเหยื่อ ป้องกันตัว หรือหาคู่ผสมพันธุ์ ขึ้นอยู่กับชนิดและสภาพแวดล้อมของพวกมัน
ถุงลม ปลาน้ำลึกไม่มีถุงลมเหมือนปลาน้ำตื้น เนื่องจากแรงดันน้ำในระดับลึกสามารถทำให้ถุงลมแตกหรือรั่วได้ง่าย
การหายใจ เนื่องจากน้ำลึกมีออกซิเจนต่ำ ปลาน้ำลึกจึงปรับตัวโดยลดการใช้พลังงาน มีเหงือกที่รับออกซิเจนได้ดีขึ้น และบางชนิดมีเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ใหญ่ขึ้นพร้อมฮีโมโกลบินเข้มข้น ทำให้สามารถดึงออกซิเจนได้มากขึ้นเพื่ออยู่รอดในสภาพที่ขาดออกซิเจน
ระบบทางเดินอาหาร ปลาทะเลลึกส่วนมากมีปากและกระเพาะขนาดใหญ่ เนื่องจากในทะเลลึกขาดแคลนอาหาร ยิ่งลึกก็ยิ่งหาเหยื่อยาก ปลาจึงต้องจับทุกอย่างที่พบ แม้ว่าเหยื่อจะมีขนาดใหญ่ เพื่อประหยัดพลังงานในการหาเหยื่อใหม่
ในระดับเซลล์ หนึ่งในกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ปลาน้ำลึกทนต่อแรงดันมหาศาลได้ คือโมเลกุลที่เรียกว่า "ไพโซไลตส์" ซึ่งช่วยปกป้องเซลล์จากแรงดัน อีกทั้งยังทำงานร่วมกับสาร TMAO เพื่อให้เซลล์ของปลามีความแข็งแรงและทนทานในสภาพแวดล้อมที่แรงดันสูง
การหาอาหารและการล่าเหยื่อของปลาทะเลลึก ปลาน้ำลึกมีรูปแบบการกินอาหารที่หลากหลาย ตั้งแต่การกินซากสิ่งมีชีวิตหรือเศษอินทรีย์ที่จมลงมาจากน้ำตื้น กินสิ่งมีชีวิตที่ใช้กระบวนการสังเคราะห์เคมี หรือแพลงก์ตอนและสัตว์เล็กๆ
สำหรับการล่าเหยื่อ ปลาน้ำลึกบางชนิดใช้แสงเรืองชีวภาพล่อเหยื่อ เช่น ปลาตกเบ็ดที่มีอวัยวะเรืองแสงบนหัว บางชนิดซุ่มโจมตีเหยื่อ หรือมีปากใหญ่ที่สามารถจับเหยื่อที่ตัวใหญ่ นอกจากนี้ยังใช้การรับรู้แรงสั่นสะเทือนและแรงดันน้ำเพื่อหาเหยื่อในความมืด ทำให้ปลาน้ำลึกสามารถอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่อาหารหายาก
ส่วนจะเป็นยังไงเมื่อปลาน้ำลึกออกมาจากน้ำลึก??
##คำตอบก็คือ เมื่อนำปลาน้ำลึกออกจากน้ำลึก พวกมันจะเผชิญกับแรงดันที่ลดลง อวัยวะอาจแตกหรือระเบิด ระบบหายใจล้มเหลว และเกิดความเครียดจากอุณหภูมิและแสง ทำให้ปลาน้ำลึกไม่สามารถปรับตัวและมักจะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ปลาน้ำลึกควรจะอยู่ในที่ของมันดีกว่า
และนี่คือ ความอัศจรรย์ ของปลารวมถึงสิ่งมีชีวิตในทะเลน้ำลึก ที่ปรับตัวเพื่ออยู่รอดในสภาวะสุดโต่งแบบนี้ และเราพึ่งจะสำรวจสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลน้ำลึกได้แค่ 10% เท่านั้น และรูจักปลาน้ำลึกได้แค่ 2% เท่านั้น ทะเลอันกว้างใหญ่ยังมีสิ่งอัศจรรย์อีกมากมาย ที่ยังรอการค้นพบ
คลิปวิดีโอของปลาทอยทาก ( Snailfish )
References.
โฆษณา