Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTVHD36
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
14 ก.ย. เวลา 05:45 • สุขภาพ
“ตำลึง” สมุนไพรฤทธิ์เย็น โภชนาการสูง แหล่งสารฟลาโวนอยด์ช่วยต้านมะเร็ง
ตำลึง ผักริวรั้วสมุนไพรฤทธิ์เย็น โภชนาการและแคลเซียมสูง ป้องกันความเสื่อมความเซลล์ เผยสรรพคุณ ประโยชน์ และข้อห้ามควรระวังก่อนกิน
แกงจืดตำลึงหมูสับ เมนูที่เป็นหนึ่งในดวงใจของใครหลายคน เพราะปรุงง่ายไม่ยุ่งยาก แถมมีรสชาติอร่อย เพราะตำลึงเป็นผักที่ไม่ขม หาซื้อและกินง่าย เป็นผักริมรั้วที่หลายบ้านมีไม่ต้องหาซื้อ มีคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลายเหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัย ในบทความนี้จะขอพูดถึงประโยชน์ของตำลึง ที่นอกจากแกงจืดยังเป็นส่วนหนึ่งของเมนู ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง หรือ ใบกินเป็นผักสด ลวกกินแนมกับน้ำพริกก็ได้เช่นกัน
แกงจืดตำลึงหมูสับ
ตำลึงเป็นสมุนไพรฤทธิ์เป็นยาเย็น ที่เหมาะมากสำหรับคนที่เริ่มกินผัก เพราะไม่ขมกินได้บ่อย มีคุณค่าทางอาหารสูง มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยใบและยอดอ่อนของตำลึง 100 กรัม จะให้พลังงานกับร่างกาย 35 กิโลแคลอรีโปรตีน ใยอาหาร 1 กรัม เบตาแคโรทีน วิตามินเอ แคลเซียมสูง อีกทั้งยังมีฟอสฟอรัสและ ธาตุเหล็กด้วย
สรรพคุณของตำลึง
-ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสื่อมความเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
-ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อในร่างกาย
-ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
นอกจากนี้มีงานวิจัยที่พบว่า ตำลึง เป็นแหล่งของสารฟลาโวนอยด์ที่ดีแล้วก็สามารถช่วยในการป้องกันโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน หรือว่าโรคมะเร็งได้ สามารถช่วยลดน้ำตาล และสถาบันโภชนาการเอง ก็ศึกษาพบว่า ตำลึงมีแคลเซียมค่อนข้างสูง และแคลเซียมที่อยู่ในตำลึง ร่างกายสามารถดูดซึมเอาไปใช้ได้เทียบเท่ากับแคลเซียมที่อยู่ในนม เพราะฉะนั้นในผู้ที่ไม่สามารถดื่มนมได้ เนื่องจากแพ้นม หรือดื่มนมแล้วท้องเสีย ก็หันมารับประทานตำลึงให้มากขึ้นได้เช่นกัน
คำเตือนก่อนกินตำลึง
-ตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เมื่อทาน้ำตำลึงที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็นแปลว่าไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที การทาน้ำตำลึงไม่ควรถูแรงจนเกินไปในบริเวณที่เป็นผิวบอบบาง เพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น
-ตำลึงที่ใช้เป็นผักนิยมใช้ชนิดตัวเมีย ส่วนชนิดตัวผู้นั้นจะใช้เป็นสมุนไพรเท่านั้น
-มีการศึกษาวิจัยพบว่าใบและยอดของตำลึงมีฤทธิ์ช่วยการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ดังนั้นในการนำมาบริโภคเพื่อเป็นอาหาร หรือ ใช้เป็นสมุนไพรไม่ควรรับประทานมากจนเกินไปเพราะอาจทำให้ท้องเสียได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : disthai,medthai
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ :
https://www.pptvhd36.com/health/food/5854
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTVHD36 :
https://www.facebook.com/PPTVHD36
YouTube :
www.youtube.com/@PPTVHD36
สุขภาพ
ผัก
สมุนไพร
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย