13 ก.ย. 2024 เวลา 05:00 • ข่าว

โอกาสชนะภาวะโลกร้อน! โรงงานดักจับคาร์บอน แต่ไม่ย้อนมาทำร้ายโลกจริงหรือ?

การดักจับคาร์บอนจากต้นไม้ได้ปีละ 15 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนที่สามารถดักจับได้ปีละพันตัน การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกอาจทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรง เช่น การตายของแนวปะการัง การละลายของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก และภัยพิบัติธรรมชาติอื่นๆ ดังนั้นจึงได้เกิดแนวทางในการลดคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศสุดล้ำ อย่างการใช้เทคโนโลยี CCUS ที่มีต้นทุนสูง แต่เป็นวิธีการสำคัญในการลดการปล่อย CO2 และบรรเทาผลกระทบนี้
🌱ดักจับคาร์บอนจากไหน?
การดักจับคาร์บอนสำคัญมากสำหรับการลดมลพิษจากภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น การผลิตเชื้อเพลิง ปูนซีเมนต์ และเหล็กกล้า โดยเครื่องดักจับคาร์บอนจึงถูกติดตั้งเพื่อแยกและลดมลพิษเหล่านี้ รวมถึงการใช้เทคโนโลยี Direct Capture Air ที่ดักจับคาร์บอนจากอากาศโดยตรง 🌱💨
🔄 แล้วคาร์บอนไปอยู่ไหน?
เมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกดักจับและมีความเข้มข้นสูงแล้ว จะถูกให้ความร้อนเพื่อแยกคาร์บอนบริสุทธิ์ออกมา จากนั้นจะผสมกับน้ำและสารต่างๆ ก่อนจะอัดแรงดันและเก็บไว้ในชั้นหินลึกใต้ดินหรือใต้ทะเล 🌍🔋
💸 ทำรายได้จากไหน?
เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอนไม่เพียงช่วยลดมลพิษ แต่ยังสร้างรายได้ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์สามารถนำไปใช้ในการเพิ่มผลผลิตน้ำมัน และขายคาร์บอนเครดิตที่มีมูลค่าสูงถึงแสนล้านบาทต่อปี 🌱💵
🔥 จะชนะโลกร้อน ต้องมีอีกกี่โรงงาน?
ปัจจุบันเครื่องดักจับทั้งหมดทำได้เพียง 40,000 ตันต่อปี ขณะที่ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศมีถึง 36,000 ล้านตันต่อปี จำเป็นต้องมีเครื่องดักจับถึง 900,000 เครื่องถึงจะเพียงพอ 🚀💸
🌍 ทำอย่างไรให้ดักจับคาร์บอนได้เยอะขึ้น?
เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอนมีต้นทุนสูงและผลตอบแทนจำกัด แต่บริษัทต่าง ๆ ตั้งเป้าพัฒนาประสิทธิภาพให้ดักจับได้ปีละ 70 ล้านตัน และลดต้นทุนจาก 30,000-50,000 บาทต่อการลดคาร์บอน 1 ตัน ลงเหลือ 10,000 บาท 🔄🌱
cr.agenda
#เทคโนโลยีคาร์บอน #ลดคาร์บอน #คาร์บอนเครดิต #ลดมลพิษ #เทคโนโลยีสีเขียว #อนาคตสีเขียว
โฆษณา