13 ก.ย. 2024 เวลา 07:19 • ปรัชญา

‘Stoic’ เป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดีที่สุด

บังเอิญได้ฟัง Podcast🎧 ของ THE STANDARD ช่อง Shortcut ปรัชญา ที่ชวนคุยเรื่องราวที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน โดยเชื่อมโยงกับเนื้อหาความรู้ด้านปรัชญาการใช้ชีวิตนิดหน่อย ฟังเพลินๆ แต่ได้มุมมองแนวคิดใหม่ๆเพียบเลย👍🏻
ในบทความนี้เลยอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับปรัชญากรีกโบราณเรื่องนึงที่พูดถึงแนวความคิดแบบ 'ช่างแม่ง' โดยปรัชญาที่จะพูดถึงต่อจากนี้มีชื่อว่า Stoicism
โดยจะขอสรุปแนวความคิดแบบ Stoicism จาก Podcast ฉบับสั้นๆ ใน 11 ข้อ
1. ปรัชญาสโตอิก (Stoicism) เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2,500 ปีที่แล้ว เป็น 'ปรัชญาที่สอนให้เราละวางสิ่งที่ควบคุมไม่ได้และสนใจสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้'
ตามความหมายของ Stoicism สิ่งที่ควบคุมได้ หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจและการกระทำของตัวเราเอง ได้แก่
[1] ความเห็นของเราต่อสิ่งต่างๆ
[2] ความมุ่งหมายอยากได้บางสิ่ง
[3] ความปรารถนาและไม่ปรารถนาสิ่งใดๆ
[4] สิ่งที่เราตัดสินใจทำและไม่ทำได้เอง
และสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ได้แก่
[1] ร่างกาย
[2] สมบัติ
[3] ชื่อเสียง
[4] ตำแหน่ง หน้าที่การงาน
2. 'ช่างแม่ง' ในความหมายของ Stoicism คือ การทำตัวเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ปล่อยวางเรื่องที่ตัวเราไม่สามารถควบคุมได้ และต้องไม่ทำให้ใครเดือดร้อน
3. Stoicism มี 3 เสาหลักที่สำคัญ ได้แก่
[1] สนใจสิ่งที่ควบคุมได้
[2] รับผิดชอบต่อตัวเอง
[3] พยายามเป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดีที่สุดตลอดเวลา
4. Stoicism ในโลกยุคปัจจุบันคล้ายกับเรื่องการเงิน การลงทุน💸 ที่เราต้องสนใจในสิ่งที่เราควบคุมได้ (เช่น การดูกราฟ การเลือกซื้อหุ้น ฯลฯ) และรับผิดชอบต่อการกระทำ + การตัดสินใจของตัวเอง
5. ในหนังสือเรื่อง The Algebra of Wealth: A Simple Formula for Financial Security ของ Scott Galloway ที่กล่าวถึงสมการของความมั่งคั่ง ประกอบไปด้วย
Wealth = Focus + (Time x Diversification x Stoicism)
Scott Galloway
1
Stoicism ในความหมายของ Scott Galloway คือ การที่ต้องรู้จักควบคุมสิ่งที่ควบคุมได้
การสร้างรายได้ไม่ได้นำมาซึ่งความมั่งคั่ง⁠
ความมั่งคั่งมาเมื่อคุณควบคุมรายจ่าย
Scott Galloway
เมื่อไหร่ที่เราสามารถควบคุมความคิดของเราได้ เมื่อนั้นความมั่งคั่งก็จะเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอน👍🏻
6. คนมักเปรียบนัก Stoicism ว่าคล้ายกับนักธนูที่มีเป้าหมายเอาไว้พุ่งชน ซึ่งเป้าหมายของ Stoicism คือ การเป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุดและเป็นประโยชน์ให้แก่สังคม
7. การเป็นนักยิงธนูที่เก่ง ต้องอาศัยการเรียนรู้และฝึกฝนตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพราะบททดสอบที่เราพบเจอในแต่ละวันนั้นแตกต่างกัน
8. แม้ว่าสิ่งที่เราได้ตัดสินใจทำ/ไม่ทำไปแล้ว ‘อย่าเสียใจ’ ถ้าผลลัพธ์ที่ได้ไม่ได้ออกมาตามที่หวังเอาไว้ เพราะตัวเราเองทำดีที่สุดแล้ว
9. ในประเทศไทย คนที่สนใจ Stoicism จะสนใจแต่เรื่องของตัวเอง เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีพลังและอำนาจมากพอที่จะทำให้สังคมที่อยู่นั้นเปลี่ยนแปลงได้
10. บางเรื่องที่คิดว่าเราควบคุมไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าเราจะควบคุมไม่ได้ทั้งหมด ถ้า...
[1] การรวมตัวกันเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง เช่น การเกิดเป็นสหภาพแรงงาน สมาคมต่างๆ ฯลฯ
[2] การทำตัวเองให้เป็นแบบอย่างในการเปลี่ยนแปลง
[3] การสำรวจตัวเองว่า 'เราอยู่ในจุดไหน' มีอำนาจมากพอที่จะสามารถช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
11. สำหรับชาว Stoicism 'ไม่มีอะไรน่าละอายใจไปกว่า ผู้ที่มีความสามารถที่จะควบคุมบางสิ่งได้มาก แต่กลับไม่มีความรับผิดชอบ'
📚สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ :
#stoicism #Podcast #Shortcut ปรัชญา #THE STANDARD
โฆษณา